ซีอาร์ไอ---ตั้งแต่สหรัฐอเมริกากับเกาหลีใต้ตัดสินใจติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธทาดที่เกาหลีใต้เป็นต้นมา จีน รัสเซียและอีกหลายประเทศพากันแสดงความคัดค้าน นายพาเวล คาเมนนอฟ ผู้เชี่ยวชาญรัสเซียเห็นว่า ระบบทาดจะทำลายความสมดุลทางยุทธศาสตร์ของโลก และเป็นภัยคุกคามความปลอดภัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ของจีนกับรัสเซีย
นายพาเวล คาเมนนอฟเป็นนักวิชาการของศูนย์วิจัยตะวันออกกลางของรัสเซีย เขาศึกษาปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานาน เขากล่าวว่า ขอบเขตวิถีป้องกันขีปนาวุธของระบบทาดใหญ่กว่าพื้นที่คาบสมุทรเกาหลีหลายเท่า สรุปได้ว่า เป้าหมายการติดตั้งมีความเฉพาะเจาะจงจีนกับรัสเซียโดยตรง
เขาอธิบายว่า การติดตั้งระบบทาดไม่ใช่เพียงแค่รับมือกับภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เพราะพื้นที่ครอบคลุมขั้นพื้นฐานของระบบทาดไม่ต่ำกว่า 900 กิโลเมตร และสามารถสกัดกั้นขีปนาวุธที่ถูกส่งออกนอกชั้นบรรยากาศ ดัชนีทางเทคโนโลยีของระบบทาดเกินกว่าความต้องการด้านการป้องกันประเทศของเกาหลีใต้อีกเยอะ ดังนั้น คำพูดของสหรัฐอเมริกาที่ว่าใช้ป้องกันภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือจึงเป็นเพียงข้ออ้าง เป้าหมายหลักที่ตั้งขึ้นเฉพาะเจาะจงต่อจีนกับรัสเซีย
นายพาเวล คาเมนนอฟกล่าวต่อว่า เมื่อปี 1972 สหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียดร่วมลงนาม "สัญญาว่าด้วยการจำกัดระบบป้องกันขีปนาวุธนำวิถี" แต่เมื่อปี 2002 สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากสัญญาฉบับนี้ ซึ่งค่อยๆ มีอิทธิพลทางลบมากขึ้นต่อปัญหาความมั่นคงระหว่างประเทศ การที่สหรัฐฯ ติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธทั้งในทวีปยุโรปและเอเชียนั้น ได้นำภัยคุกคามสู่ความมั่นคงของโลก บรรดาประเทศขนาดใหญ่ต้องให้ความสำคัญระดับสูง และฟื้นฟูการเจรจาใหม่
เขาชี้ว่า การประกาศถอนตัวจาก "สัญญาว่าด้วยการจำกัดระบบป้องกันขีปนาวุธนำวิถี" ทำให้สหรัฐฯ สามารถติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ "อย่างชอบธรรม" แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงภายในภูมิภาค ตลอดจนของโลก ถ้าสหรัฐฯ ติดตั้งระบบทาดสำเร็จ นอกจากขยายพื้นที่ป้องกันให้ครอบคลุมสู่เป้าหมายการทหารของจีนและรัสเซียแล้ว ในกรณีที่จำเป็น สหรัฐฯ เปลี่ยนหัวขีปนาวุธจากการป้องกันเป็นการโจมตีได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องตั้งข้อจำกัดต่อการติดตั้งระบบทาดของสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้ บรรดาประเทศขนาดใหญ่ต้องให้ความสำคัญเพียงพอ และพยายามฟื้นฟูการเจรจาเพื่อจำกัดระบบป้องกันขีปนาวุธนำวิถีใหม่โดยเร็ว
YF