สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า วันที่ 17 สิงหาคมนี้ นายสี จิ้นผิง ประธานิบดีจีนกล่าวขณะร่วมการประชุมสัมมนาการดำเนินยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"ที่กรุงปักกิ่งว่า การดำเนินยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ต้องเน้นปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ การประสานนโยบาย การสร้างความคล่องตัวทางการค้า การระดมเงินทุน การสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กัน การดำเนินความร่วมมือรูปแบบใหม่ การสร้างเวทีความร่วมมือที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังต้องเน้นพัฒนาเส้นทางสายไหมที่มีลักษณะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษเป็นภัย ใช้สติปัญญาในการพัฒนา และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาสันติภาพ ค่อยๆ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ "หนึ้งแถบหนึ่งเส้นทาง"ให้พัฒนาคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ยุทธศสตร์ดังกล่าวนำประโยชน์สู่ประชาชนประเทศรายทางต่างๆ
ช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2013 นายสี จิ้นผิง เดินทางเยือนประเทศเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างการเยือน เขาได้ริเริ่มร่วมพัฒนาแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษ 21กับประเทศรายทางตามสองเส้นทางดังกล่าว
"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"เป็นการออกแบบกลไกใหม่เพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจลักษณะเปิดสู่ภายนอกของจีน ยุทธศาสตร์นี้ครอบคลุมประชากรประมาณ 4,400 ล้านคนในทวีปยุโรปและเอเชีย คิดเป็น 63 %
ของประชากรทั่วโลก มียอดมูลค่าเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวสูงถึง 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 29% ของปริมาณเศรษฐกิจโลก นักวิชาการทั้งจีนและต่างปนะเทศหลายคนเห็นว่า การริเริ่มยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของจีนที่จะแบ่งปันผลประโยชน์การพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชียและยุโรป ด้วยเหตุนี้ ยุทธศาสตร์นี้จึงได้รับเสียงตอบรับจากประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก
นายสี จิ้นผิง กล่าวในการประชุมสัมมนาว่า จนถึงขณะนี้ มีกว่า 100 ประเทศเข้าร่วมในยุทธศาสตร์ดังกล่าว จีนได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ "หนึ้งแถบหนึ่งเส้นทาง" กับ 30 กว่าประเทศ ได้ดำเนินการร่วมมือด้านศักยภาพการผลิตกับ 20 กว่าประเทศ สหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรแสดงท่าทีสนับสนุน การร่วมมือด้านการเงินระหว่างจีนกับต่างประเทศเพื่อดำเนินยุทธศาสตร์นี้ก็นับวันลงลึกยิ่งขึ้น เช่น การก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank) และกองทุนเส้นทางสายไหม หลายโครงการที่มีบทบาทสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของยุทธศาสตร์นี้ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้ว สรุปได้ว่า การดำเนินยุทธศาสตร์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"เดินหน้าอย่างรวดเร็วและประสบผลคืบหน้าเกินกว่าที่คาด
นายสี จิ้นผิง ทิ้งท้ายว่า ต้องกุมโอกาสการดำเนินยุทธศาสตร์นี้ สร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการค้าและการลงทุน ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านศักยภาพการผลิต และการผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์ในการดำเนินยุทธศาสตร์"หนึ้งแถบหนึ่งเส้นทาง" ก็คือ กระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ใหม่จากการสร้างอุปทานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง
(TOON/cai)