เว็บไซต์จงกั๋วหว่างหรือ china.com.cn รายงานว่า การประชุมผู้นำของกลุ่มเศรษฐกิจบริคส์ครั้งที่ 8 กำลังจัดขึ้นที่รัฐกัวของอินเดีย ผู้นำ 5 ประเทศจากจีน อินเดีย แอฟริกาใต้ บราซิลและรัสเซียได้ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นลึกซึ้งภายใต้ประเด็นที่ว่า "วางแผนการแก้ไขที่มีประสิทธิผล เอื้ออารีและร่วมมือกัน" รวมทั้งการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศบริคส์ รวมทั้งปัญหาระหว่างประเทศและของภูมิภาคที่ต่างก็สนใจและบรรลุความเห็นร่วมกันอย่างกว้างขวาง นายสี จิ้นผิงระบุว่า 10 ปีมานี้ ประเทศบริคส์ได้ดำเนินความร่วมมือที่มั่นคง และสร้างกลไกระหว่างประเทศที่มีผลกระทบสำคัญในทั่วโลก และประสบความสำเร็จมากมาย
นับตั้งแต่จัดการประชุมผู้นำบริคส์ที่รัสเซียเมื่อปี 2009 เป็นต้นมา กลไกความร่วมมือในกลุ่มเศรษฐกิจบริคส์มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ซึ่งแสดงสัญลักษณ์สำคัญดังนี้
หนึ่ง มีกลไกความร่วมมือลึ้กซึ้งยิ่งขึ้นทุกที และมีผลกระทบขยายกว้างขึ้นไม่ขาดสาย ศัพท์คำว่า บริคส์ ซึ่งเริ่มขึ้นโดยบริษัทโกลด์แมนแซคส์ของสหรัฐเมื่อปี 2001 หมายความถึง จีน รัสเซีย อินเดียและบราซิล 4 ประเทศ ซึ่งหลังเกิดวิกฤติการเงินโลกเมื่อปี 2008 สี่ประเทศดังกล่าวได้ขยายบทบาทการขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนปี 2010 แอฟริกาใต้ได้กลายเป็นประเทศที่ 5 ในกลไกความร่วมมือบริคส์ เดือนเมษายนปี 2011 ด้วยความพยายามจากจีน แอฟริการใต้ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของกลุ่มเศรษฐกิจบริคส์ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่เมืองซานย่าของจีนเป็นครั้ง แรก ประเด็นหลักของการประชุมให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่แอฟริกาให้เข้าร่วมกลไกนี้เป็นต้นมา กลไกบริคส์ได้ค่อยๆมีอิธิพลในวงกว้างมากขึ้น และเริ่มให้ความสนใจด้านการเมืองและความมั่นคงมากขึ้น เมื่อปี 2015 การประชุมสุดยอดบริคส์จัดขึ้นที่เมืองอุฟาสของรัสเซีย และจัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับการจัดประชุมสุดยอดขององค์การความร่วมมือเซียงไฮ้ ที่ประชุม นอกจากได้ปรึกษาหารือด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังปรึกษาหารือด้านการเมืองและความมั่นคง ซึ่งเป็นที่สนใจทั่วโลกด้วย
สองคือ เสริมและขยายบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเศรษฐกิจเติบโตใหม่ สถิติระบุว่า นับตั้งแต่จัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจบริคส์เป็นต้นมา สัดส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มบริคส์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 22% ของยอดเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกัน หลังจัดตั้งธนาคารบุกเบิกพัฒนาของ บริคส์เป็นต้นมา ได้แสดงถึงความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของกลุ่มบริคส์เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงในระบบการปกครองทั่วโลก พร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศกลุ่มบริคส์กำลังกลายเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาใหม่ และกลไกของกลุ่มเศรษฐกิจบริคส์ได้กลายเป็นเวทีสำคัญของกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา
สาม จีนมีอิทธิพลสำคัญมากยิ่งขึ้น จีนเป็นประเทศผู้ริเริ่มของกลุ่มเศรษฐกิจบริคส์ และเป็นกลุ่มเศรษฐกิจเติบโตใหม่ใหญ่ที่สุดในโลก และขยายบทบาทที่มิอาจจะทดแทนได้ในกลไกความร่วมมือบริคส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่เติบโตใหม่ได้ประสบความยากลำบาก บทบาทของจีนได้มีลักษณะโดดเด่นยิ่งขึ้น พร้อมๆกับจีนยังดำเนินนโนบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ตลอดจนการจัดตั้งธนาคารบุกเบิกพัฒนาใหม่ของบริคส์และธนาคาร AIIB จีนย่อมจะขยายบทบาทมากยิ่งขึ้น
Yim/lj