เดือนพฤษภาคมปี 1981 (พ.ศ. 2524) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยือนจีนเป็นครั้งแรก นับเป็นพระบรมวงศ์ศานุวงศ์พระองค์แรกที่เสด็จฯ เยือนจีน หลังจากนั้น ได้เสด็จฯเยือนจีนอีกกว่า 30 ครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสนพระราชหฤทัยต่อวัฒนธรรมจีน เคยทรงศึกษาเล่าเรียนภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนกับอาจารย์จีน 9 คนที่คัดเลือกโดยสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ทำให้เมืองไทยเกิดกระแสวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารียังทรงพระพระราชนิพนธ์แนะนำประเทศจีนให้ประชาชนชาวไทยรู้จัก ทรงสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงในการกระชับมิตรภาพและเพิ่มพูนความรับรู้เข้าใจระหว่างประชาชนสองประเทศ ทรงเป็นทูตมิตรภาพจีน-ไทย
จากการที่ทรงสนพระหฤทัยในวัฒนธรรมจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระหว่างสองประเทศอย่างมาก พระองค์ทรงพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักศึษาไทยไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ทำให้นักศึกษาไทยที่ศึกษาในมหาวทิยาลัยปักกิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี อีกด้านหนึ่ง พระองค์ทรงสนับสนุนให้สร้างกลไกความร่วมมือขยายวงการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา เมื่อปี 2006 มหาวิทยาลัยปักกิ่งกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันก่อตั้งสถาบันขงจื่อ และตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้จัดการอบรมภาษาจีน แก่เจ้าหน้าที่ในสำนักพระราชวัง และเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้ว 3 รุ่นจำนวนกว่า 50 คน
หลังการเสด็จพระราชดำเนินเยือนจีนทุกครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจะทรงบันทึกประสบการณ์และความรู้สึกต่อประเทศจีน และทรงพระอักษรเป็นหนังสือกลับสู่เมืองไทย พระองค์มีพระราชดำรัสว่า "ครั้งแรกที่เดินทางย่ำแดนมังกรนั้น ก็มีความประทับต่อวัฒนธรรมอันลึกซึ้งและภูเขาแม่น้ำที่สวยงามของจีน อยากรู้อดีตและอนาคตของจีน จึงตั้งใจจะเดินทางไปทั่วประเทศจีน หลังเสด็จฯ กลับประเทศไทยไม่นาน ก็ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "ย่ำแดนมังกร"
วันที่ 11-16 เมษายนปี 1990 (พ.ศ.2533) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลกานซู่ ตามรอยเส้นทางสายไหมโบราณในภาคตะวันตกของจีน และพระราชทานพระราชวโรกาสให้นายเจี่ย จื้อเจี๋ย ผู้ว่าการมณฑลเข้าเฝ้าฯ ในการนี้ทรงทอดพระเนตรด่านเจีย ยวี่ กวน สวนสาธารณะจิ่วฉวน และถ้ำหินโม่เกาในตุนหวง ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "มุ่งไกลในรอยทราย" และมีการถ่ายทำสารคดีเรื่อง "เสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนมังกรอีกครั้ง" นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์อื่นๆ อีกเช่น "เกล็ดหิมะในสายหมอก" "ใต้เมฆที่เมฆใต้" "เย็นสบายชายน้ำ" "คืนถิ่นจีนใหญ่" และ "เจียงหนานแสนงาม" เป็นต้น ทำให้ผู้อ่านชาวไทยจำนวนมากเริ่มสนใจจีน ทรงแสดงบทบาทสำคัญยิ่งในการช่วยให้ชาวไทยรู้จักจีน เข้าใจจีน และส่งเสริมมิตรภาพระหว่างประชาชนสองประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระปรีชาสามารถทางด้านภาษา ทรงมีพระราชดำรัชภาษาจีนที่ชัดและคล่องแคล่ว นอกจากนี้ ยังทรงชำนาญภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต พระองค์ยังโปรดกวีจีน โดยเฉพาะกวีราชวงศ์ถังและกวีราชวงศ์ซ่ง ทรงพระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีนและนวนิยายจีนมากกว่า 100 บท อาทิพระราชนิพนธ์แปล "หยกใส ร่ายคำ" และ"เมฆเหิน น้ำไหล" ทำให้ชาวไทยเริ่มสนใจและเรียนภาษาจีนมากขึ้น
ในพิธีมอบรางวัลที่จัดขึ้นที่มหาศาลาประชาชนจีนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นางเฉิน จื้อลี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีนทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลมิตรภาพแห่งภาษาและวัฒนธรรมจีนเหรียญแรก และใบรับรองเกียรติยศ และทรงมีพระราชดำรัสในพิธีด้วยความปรื้มปิติ นางเฉิน จื้อลี่กล่าวในงานว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นมิตรประเสริฐของประชาชนจีน ทรงได้รับความเคารพรักและศรัทรธาอย่างลึกซึ้งจากประชาชนทั้งจีนและไทย ทรงเป็นนักจีนศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาและวัฒนธรรมจีน ทรงสร้างคุณูปการอันโดดเด่นในการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ
ประชาชนและรัฐบาลจีนรู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นทูตมิตรภาพแห่งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-จีน สมกับที่ทรงเป็นมิตรต่างชาติคนแรกที่ได้รับเหรียญรางวัลมิตรภาพแห่งภาษาและวัฒนธรรมจีนเหรียญแรก
เดือนกุมภาพันธ์ค.ศ. 2001 (พ.ศ.2544) สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มศึกษาอักษรศิลป์โดยมีศาสตราจารย์จาง เจิ้นกั๋วจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นักอักษรศิลป์ที่มีชื่อเสียงของจีนเป็นครูผู้สอน ในสายตาของศาสตราจารย์จาง เจิ้นกั๋ว สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระปรีชาสามารถยิ่ง พระองค์ทรงจดจำคำแนะนำการซ้อมเขียนพู่กันจีนได้ทุกข้อ ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการศึกษาอยู่เสมอ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ "เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก" ทรงเล่าถึงประสบการณ์การศึกษาอักษรจีนกับศาตราจารย์จาง เจิ้นกั๋ว และทรงแสดงความเคารพและขอบคุณที่มีความสามารถและความเมตตากรุณา เดือนมีนาคมค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2554) ท่ามกลางเสียงปรบมืออย่างอบอุ่น สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฉลองพระองค์นักศึกษาระดับปริญญาเอก พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจาร์หวัง ปิ่งเต๋อ ประธานคณะกรรมาธิการมหาวิทยาลัยปักกิ่งทูลเกล้าฯ ถวายในประกาศนียบัตร มีผู้แทนนักศึกษาติดตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยปกกิ่ง ทูลเกล้าฯ ถวายช่อดอกไม้ พระองค์มีพระราชดำรัสในหัวข้อ "วัฒนธรรมจีนในศิลปะไทย"
บ่ายวันที่ 24 ค.ศ. 2001 (พ.ศ.2554) มูลนิธิวรรณกรรมประชาชาติจีน สมาคมนักประพันธ์แห่งประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดพีธีมอบ รางวัลวรรณกรรมระหว่างประเทศสาขาความเข้าใจและมิตรภาพมหาศาลาประชาชนจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นายหว่าน ลี่ ประธานกิติมศักดิ์มูลนิธิวรรณกรรมประชาชาติจีน นายปู้ เฮ่อ รองประธานสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน และนายซุน ฝูหลิง รองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล พร้อมหนังสือเรื่องฉวนซื่อฉางซู บทกวีราชวงศ์ซ่ง, บทกวีราชวงศ์ถาง และบทละครราชวงศ์หยวน
ค่ำวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) สมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีนจัดพิธีทูลเกล้าฯ ถวายตำแหน่ง "ทูตมิตรภาพของประชาชน" แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงถือหนังสือรับรองและตราสัญลักษณ์แสดงต่อทุกคนในฐานะ "ทูตมิตรภาพประชาชน"
เช้าวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2011 (พ.ศ.2554) ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้นายอู๋ จื้ออู่ รักษาการเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยเข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์แผ่นดินไหวในอำเภอเจาโทง มณฑลหยุนหนานของจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200,000 หยวนแก่เขตประสบภัยเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย นายอู๋ จื้ออู่ ในนามประชาชนผู้ประสบภัยรับพระราชทานเงินบริจาค และรู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม