สำหรับคนต่างชาติ การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นเพียงข่าวสำคัญชิ้นหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเป็น "พ่อ" เป็น "ฟ้า" เป็นกระดูกสันหลัง
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชสวรรคตไปนั้น ทำให้บรรดาชาวไทยทั้งชาติโศกสลด เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงมีบุณคุญแก่ประชาชนทั่วประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศมีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ในพระนามดังกล่าว "จักรี" แปลว่าพระราชา "ภูมิ" หมายความว่า "แผ่นดิน" และ "พล" หมายความว่า "พลัง" รวมกันแล้วหมายถึง "พลังแห่งแผ่นดิน" "อดุลย" หมายความว่า "ไม่อาจเทียบได้" และ "เดช" หมายความว่า "อำนาจ" รวมกันแล้วหมายถึง "อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้" ส่วนชาวบ้านทั่วไปเรียกพระนามย่อว่า ในหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ทรงเสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2476 ระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลซานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาลได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ วันที่ 5 พฤษภาคมพ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศสิริพระชนมพรรษา 89 พรรษา ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศไม่เคยเปลี่ยนแนวคิดการปกครองประเทศในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเคยมีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถว่า ชาวบ้านทั่วไปจำนวนหนึ่งยากจนจริงๆ แต่พวกเราไม่ควรให้เงินกับพวกเขาโดยตรง หากควรสอนให้พวกเขาศึกษาเทคนิกและความรู้ในการดำรงชีวิต จะได้มีความสามารถที่แสวงหารายได้ด้วยตนเอง ผู้คนเหล่านี้จึงจะได้ชีวิตสุขสบายที่ยั่งยืน
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้ทรงพัฒนาชนบทโดยผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่างๆในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการใช้เทคโนโลยีใหม่
อาทิ ในเขตเขาของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ยากจน ชาวท้องถิ่นขาดอาหารการกินอย่างหนัก เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงทราบ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปสำรวจด้วยพระองค์เอง ต่อมาได้พระราชทานเทคนิกการปลูกลูกพลับเข้าไป ซึ่งสร้างรายได้แก่เขตดังกล่าวอย่างมาก ถึงทศวรรษที่ 1990 ยอดผลผลิตของลูกพลับเกินอุปสงค์ในตลาด มีพระราชดำรัสให้สร้างโรงงานแปรรูปลูกพลับอบแห้งในท้องถิ่น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาลูกพลับล้นตลาดได้เป็นอย่างดี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศยังทรงทำแปลงนาสาธิต ฟาร์มโคนม และสำนักงานวิจัยเทคโนโลยีการเกษตรในพระราชอุทยานของพระองค์ เพื่อปรับเทคโนโลยีการเกษตร ยังทรงวิจัยและประดิษฐ์เทคโนโลยีฝนเทียมด้วยพระองค์เอง ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรในยุโรป จนถึงปัจจุบัน ประเทศจำนวนหนึ่งยังต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรแก่ประเทศไทยอยู่ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประดิษฐ์เทคโนโลยีชลประทานประการหนึ่ง ซึ่งได้รับรางวัลระดับโลก
ในรัชสมัยที่ทรงครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศไม่บ่อยครั้ง แต่ได้เสด็จพระราชดำเนินยังท้องที่ต่างๆทั่วประเทศเกือบทุกที่ ในพระบรมฉายาลักษณ์ภาพหนึ่ง ทรงถือแผนที่ฉบับหนึ่งและกล้องถ่ายภาพ ชาวไทยบอกว่า แผนที่ที่พระองค์ถือไว้เป็นแผนที่ที่มีข้อมูลละเอียดที่สุดของไทย กล้องนั้นก็ทรงใช้มาหลายสิบปีแล้ว ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินทั่วถึงทุกที่ของไทยด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ทั่วประเทศ ทำให้ชาวไทยมีความรักเทิดทูนพระองค์เป็นอย่างยิ่ง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงเจริญพระชนมพรรษาขึ้นมาก ยังให้พระบรมวงศานุวงค์ไปทรงงานในพื้นที่ต่างๆแทนพระองค์ เพื่อรับทราบทุกข์สุขของประชาชนอย่างทันกาล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญจากชาวไทยว่า เป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอุทิศทุกลมหายใจของพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์โดยแท้
ทรงเป็นผู้คุ้มครอง และผู้ชี้ทาง
พระนามเต็มของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ มีส่วนหนึ่งหมายความว่า "ผู้คุ้มครองที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนสยาม"
(ภาพถ่ายเมื่อพ.ศ. 2558)
ขณะทรงขึ้นครองราชย์ เป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง สถานการณ์การเมืองภายในประเทศไทยตึงเครียดมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยต้องอยู่ข้างเดียวกับญี่ปุ่น ภายหลังเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรอีก ระหว่างนี้ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศแยกเป็นหลายฝ่าย ทหารมีอำนาจสูงขึ้น โดยในช่วงกว่าสิบปีนับจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงขึ้นครองราชย์ ทหารได้ก่อรัฐประหาร เพื่อหวังล้มล้างสถาบันกษัตริย์ และสร้างระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้น
ขณะนั้น การนับถือในหลวงของประชาชนได้รับผลกระทบจากการเมืองโดยทหารและความเสื่อมถอยของเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจและสงครามโลก
เพื่อฟื้นฟูอำนาจและพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงทุ่มเทปฏิบัติพระราชกรณียกิจ โดยเสด็จไปในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล เพื่อทรงทราบความเป็นอยู่ของประชาชน และขจัดความไม่สมดุลและระบอบชนชั้นที่ร้ายแรงภายในประเทศผ่านการพัฒนาการเกษตร จึงทรงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น
พระองค์ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นเวลาหลายปี จึงได้รับการยกย่องเทิดทูนขึ้นเรื่อยๆ ทรงกลายเป็นหลักชัยในการส่งเสริมความมั่นคงของสังคมไทย และทรงเป็นกำลังใจในช่วงที่เกิดความวุ่นวายด้วย
(ภาพถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังไกลกังวลอำเภอหัวหิน หลังจากเสด็จประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลเป็นเวลาเกือบ 7 เดือน)
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมพ.ศ. 2535 รัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่ครองอำนาจจากการรัฐประหารนั้น ใช้กำลังทหารเพื่อปราบปรามการชุมนุมที่นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง วันต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมพรรษา 65 พรรษา มีพระบรมราชโองการเรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้า และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดสดการนี้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ทรงขอให้คู่กรณียุติความรุนแรง และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ณ จุดสูงสุดของวิกฤตการณ์ ปรากฏภาพคู่กรณีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยหมอบกราบ ที่สุดก็นำไปสู่การลาออกของพลเอกสุจินดา คราประยูรและการเลือกตั้งทั่วไป ประเทศไทยจึงเข้าสู่ช่วงทองที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว และน่าภูมิใจอย่างยิ่ง
ในสายตาของชาวไทยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเป็นเรื่องค่อนข้างปกติ ภายใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เป็นแรงกระตุ้นที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ด้วยพระองค์ทรงชี้ทาง
(ผู้เขียน - คุณหลิง ซั่ว ผู้เชี่ยวชาญปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักข่าวซินหวา ผู้สื่อข่าวประจำกรุงเทพฯ ระหว่างพ.ศ. 2548-2551)