เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา พลตรีจิ่ง ไห่เผิง และพันเอกเฉินตง นั่งยานอวกาศเสินโจว 11 ขึ้นสู่อวกาศ ภาระหน้าที่ของยานอวกาศเสินโจวคืออะไร ทำไมยานอวกาศเสินโจว 11 จึงมีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากรุ่นก่อน เหตุใดจีนจึงส่งนักบินอวกาศแค่ 2 คน พวกเขาจะทำงานและใช้ชีวิตอย่างไรในอวกาศ บทความนี้จะค่อยๆ อธิบายให้ทราบกัน
คำถามที่ 3 เหตุใดยานอวกาศเสินโจว 11 จึงขนส่งนักบินอวกาศแค่ 2 คนเท่านั้น
นายจาง โป๋หนัน อธิบายว่า เนื่องจากยานอวกาศเสินโจว 11 มีภาระหน้าที่สำคัญเพื่อทดลองระบบประกันการใช้ชีวิตในอวกาศ จึงวางแผนให้นักบินอวกาศอยู่ในยานนานขึ้น แต่เนื่องจากระบบประกันชีวิตของยานอวกาศเสินโจว 11 มีข้อจำกัดคือไม่ได้ใช้ระบบทรัพยากรหมุนเวียน ดังนั้น เพื่อให้นักบินอวกาศสามารถอยู่ได้นานพอ จึงจำเป็นต้องลดจำนวนนักบินอวกาศ อย่างไรก็ตาม สถานีอวกาศของจีนจะสร้างระบบทรัพยากรหมุนเวียนเพื่อประกันชีวิตความเป็นอยู่ของนักบินอวกาศ
ก่อนหน้านี้ นักบินอวกาศจีนโดยสารยานอวกาศเสินโจว 10 และใช้เวลาอยู่ในอวกาศนานสุดเป็นเวลาทั้งหมด 15 วัน ซึ่งในระหว่างนี้ได้ใช้ชีวิตปฏิบัติหน้าที่อยู่ในห้องทดลองเทียนกง 1 เป็นเวลา 12 วัน แต่คราวนี้ นักบินอวกาศจีนทั้งสองที่ไปกับยานเสินโจว 11 จะต้องอยู่ในอวกาศเป็นเวลาทั้งหมดถึง 33 วัน
คำถามที่ 4 นักบินอวกาศสองคนนี้จะปฏิบัติหน้าที่อะไรบ้าง
สำนักงานกิจการการบินอวกาศขนส่งมนุษย์แห่งประเทศจีนเผยว่า พลตรีจิ่ง ไห่เผิง และพันเอกเฉิน ตง จะทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และ 8 ชั่วโมงต่อวัน พร้อมนอนและตื่นตามเวลาบนโลก
ในระหว่าง 30 วันนี้ พวกเขาจะทำการทดลองหลายอย่าง เช่น การทดลองความจุของยาน การเปลี่ยนวัตถุดิบทดลองในอวกาศ การทดลองเพาะเมล็ดพันธุ์พืชในอวกาศ และการซ่อมแซมในอวกาศรวมถึงการทดลองด้านแพทยศาสตร์ โดยจะมีการดูแลติดตามผลเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและปอดของนักบินทั้งคู่ตลอดเวลาด้วย ตลอดจนการตรวจอัลตร้าโซนิก เป็นต้น
นอกจากนี้ นักบินอวกาศสองคนนี้ยังได้นำโครงการ 3 โครงการที่ได้รางวัลจากการประกวดออกแบบวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้านอวกาศระดับนักเรียนมัธยมฮ่องกงขึ้นสู่อวกาศด้วย เพื่อดำเนินการทดลองในอวกาศ เพื่อช่วยให้นักเรียนประถมและมัธยมเข้าใจความแตกต่างของผลการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงน้อย
Yim/Ldan