ถ้ำหินอานยั่วที่เมืองจือหยาง มณฑลเสฉวนเริ่มขุดในปีคริสต์ศักราช 521 สมัยราชวงค์หนานเหลียง แล้วผ่านสมัยราชวงศ์ถัง ซ่ง หมิงและชิงจนถึงปัจจุบัน รูปสลักในถ้ำหินเป็นรูปเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นหลัก มีรูปศาสนาเต๋าส่วนหนึ่ง เดือนกลางธันวาคมนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวเมืองจือหยางมณฑลเสฉวนได้ยื่นขอเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม สำนักงานโบราณวัตถุอำเภออานยั่วเผยว่า ต้นปี 2017 ทางสำนักงานและทีมงานถ้ำหินอานยั่วที่ยื่นขอให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยจะพยายามให้ถ้ำหินอานยั่วเข้าอยู่ในรายชื่อที่จะเสนอให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของจีนก่อนสิ้นปี 2017
นายอู๋ จงฟู่ เจ้าหน้าที่ดูแลโบราณวัตถุวัย 67 ปีทราบข่าวนี้ด้วยความดีใจแต่ก็กังวล เพราะคัมภีร์แกะสลักที่พบเมื่อปี 1982 มีกว่า 400,000 ตัวอักษร แต่การเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากดินฟ้าอากาศทำให้ตัวอักษรที่มองเห็นได้ในปัจจุบันเหลือเพียง 300,000 ตัว
คัมภีร์แกะสลักที่นายอู๋ จงฟู่กล่าวถึงนี้กำลังเผชิญกับอุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการอนุรักษ์ที่ทั่วโลกเผชิญอยู่
นายถัง เฉิงยี่ วัย 81 ปี เป็นหัวหน้าสำนักงานดูแลโบราณวัตถุที่หนึ่งอำเภออานยั่ว เขาวิจัยการแกะสลักหินตั้งแต่เมื่อปี 1982 ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ เขาแนะนำว่า เมื่อปี 1982 คัมภีร์พุทธศาสนาที่แกะสลักมีพื้นที่กว่า 150 ตารางเมตร คัมภีร์ในนั้นล้วนเป็นคัมภีร์ที่พบเห็นได้น้อย ซึ่งมีที่เห็นได้ชัดกว่า 400,000 ตัว แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้คัมภีร์แกะสลักเหล่านี้มีเพียง 300,000 ตัวที่มองเห็นได้ชัด ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ
(In/zheng)