สาเหตุของการจัดตั้งกลไกความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายลุ่มแม่น้ำโขงนั้น มาจากเหตุการณ์ "5 ตุลา" ในปี 2011 เมื่อเรือสินค้าจีน "หวาผิง" และเรือน้ำมันพม่า "อี้ว์ซิง" ถูกปล้นในลุ่มน้ำโขง ลูกเรือชาวจีนจำนวน 13 รายถูกยิงเสียชีวิตและโยนทิ้งลงน้ำ การเดินเรือระหว่างประเทศตามลุ่มน้ำโขงจึงต้องหยุดชะงักลงหลังจากนั้น
หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จีน-ลาว-พม่า-ไทย 4 ประเทศจึงมีมติเห็นชอบโครงการปฏิบัติการลาดตระเวนร่วมลุ่มแม่น้ำโขงในเดือนธันวาคมปี 2011
จากนั้นในวันที่ 10 ธันวาคมปีเดียวกัน เรือสินค้าจำนวน 10 ลำพร้อมเรือปฏิบัติการลาดตระเวนร่วมได้ออกเดินเรือพร้อมกัน แสดงให้เห็นว่า การเดินเรือระหว่างประเทศตามลุ่มน้ำโขงได้ดำเนินการตามปกติทุกด้าน พร้อมกันนี้ จีน-ลาว-พม่า-ไทยยังดำเนินการสืบสวนคดี "5 ตุลา" อย่างเต็มกำลัง โดยได้จับกุมตัว "น่อคัง" หัวโจกผู้ต้องสงสัยในคดีดังกล่าวที่ประเทศลาวในวันที่ 25 เมษายนปี 2012 และดำเนินการตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม
จากนั้น ภายใต้ข้อริเริ่มของจีน จีน-ลาว-พม่า-ไทยได้เริ่มโครงการปราบปรามยาเสพติดร่วม "เส้นทางเดินเรือที่สันติสุข" ครั้งแรกในเดือนเมษายนปี 2013 ซึ่งถึงเวลานี้ได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง ประเทศที่มีส่วนร่วมก็ขยายจาก จีน-ลาว-พม่า-ไทย 4 ประเทศ มาเป็น จีน-ลาว-พม่า-ไทย-เวียดนาม-กัมพูชา 6 ประเทศ
ช่วงกว่า 3 ปีนี้ โครงการปราบปรามยาเสพติดร่วม "เส้นทางเดินเรือสันติสุข" ได้คลี่คลายคดียาเสพติดตามลุ่มน้ำโขง 19,000 คดี จับกุมตัวผู้ต้องสงสัย 24,000 ราย ยึดของกลางยาเสพติดประเภทต่างๆ 52.4 ตัน และสารเคมีที่จะนำไปใช้ในการผลิตยาเสพติด 370 ตัน สร้างความหวาดกลัวแก่ทำให้กลุ่มค้ายาเสพติดตามลุ่มน้ำโขง และได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของโครงการความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดในภูมิภาค
(TOON/LING)