หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจรายวันรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารโลกประกาศรายงานเศรษฐกิจประจำไตรมาสของอินโดนีเซียระบุว่า เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียประสบการ8;หน้าที่เห็นได้ชัดในการรับมือกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากภายนอก ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และกระตุ้นการลงทุนของธุรกิจภาคเอกชน จนทำให้ราคาสินค้าภายในประเทศคงตัว การปฏิรูปทางเศรษฐกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ธนาคารโลกคาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปี 2017จะเป็น 5.3% และในปี 2018 จะสูงเป็น 5.5% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
การใช้จ่ายทางสาธารณะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย
นายโรดริโก ผู้แทนสำนักงานใหญ่อินโดนีเซียประจำธนาคารโลกระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซียประสบการก้าวหน้าในการปรับปรุงความน่าเชื่อถือด้านนโยบายการคลัง และคงรักษาการใช้นโยบายหนี้สินต่างประเทศต่ำ ได้สร้างเงื่อนไขที่ดีต่อการใช้นโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ปี 2017 ได้กำหนดงบประมาณที่เหมาะสม โครงสร้างการใช้จ่ายทางสาธารณะมีคุณภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินทุนกำลังไหลจากขอบข่ายด้านพลังงานสู่การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน สาธารณะสุข การช่วยเหลือทางสังคมเป็นต้น ซึ่งขยายบทบาทสำคัญต่อการรักษาแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและรับมือกับความเสี่ยงทางการเงินของโลก ธนาคารโลกยังเสนอข้อเสนอว่า ปี 2017 อินโดนีเซียยังจะพยายามต่อไปเพื่อปรับปรุงโครงสร้างการใช้จ่ายทางสาธารณะและเสริมคุณภาพให้สูงขึ้นต่อไป ประการแรกคือ ยืนหยัดใช้นโยบายการขจัดความยากจนและคงรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน สาธารณสุขและการช่วยเหลือทางสังคมเป็นต้น สอง เสริมประสิทธิภาพให้สูงขึ้นขณะใช้จ่ายด้านการเกษตร และการศึกษาเป็นต้น
แต่ขณะเดียวกัน นางศรี มุลยานี อินทราวตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซียยังเตือนให้ฝ่ายต่างๆระมัดระวัง เธอระบุว่า ความเสี่ยงจากภายนอกยังจะส่งผลต่อสู่เศรษฐกิจอินโดนีเซียโดยผ่านการค้าต่างประเทศและการลงทุน แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกกำลังกระเตื้องขึ้นก็ตาม แต่สำหรับอินโดนีเซีย ปริมาณการส่งออกและราคาสินค้ายังอยู่สภาพชะงักงัน การส่งออกผลิตภัณฑ์ขั้นต้นและการนำเข้าสินค้าทุนยังอยู่สภาพหดตัว ซึ่งแสดงว่า ยังต้องปฏิรูปโครงสร้างการค้าและโครงสร้างทางเศรษฐกิจต่อไป
Yim/LJ