สนธิสัญญาขั้วโลกใต้ลงนามเมื่อปี 1959 โดยได้กำหนดโครงสร้างกฎหมายขั้นพื้นฐานในการรักษาขั้วโลกใต้ และถือเป็นการเปิดสมัยใหม่ที่มนุษย์ทั่วโลกร่วมมือและปรึกษากันในกิจการขั้วโลกใต้ ต่อมา กลไกการปรึกษาระหว่างรัฐบาลที่เข้าร่วมในสนธิสัญญา กลายเป็นกลไกตัดสินนโยบายการรักษาขั้วโลกใต้ที่สำคัญที่สุด และการประชุมที่กรุงปักกิ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จีนเป็นเจ้าภาพตั้งแต่เข้าร่วมสนธิสัญญาเมื่อปี 1983 และเข้าร่วมปรึกษาสนธิสัญญาในปี 1985
ในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน กล่าวสุนทรพจน์ว่า ขั้วโลกใต้ที่มีสันติภาพ ความมั่นคง สีเขียวและพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับประโยชน์ร่วมกันของมนุษย์ จึงเสนอให้ใช้ประโยชน์ขั้วโลกใต้ด้วยวิธีสันติ พยายามส่งเสริมให้มนุษย์ทั่วโลกร่วมทุกข์ร่วมสุข ยืนหยัดในระบบสนธิสัญญาขั้วโลกใต้ ปรับปรุงรูปแบบการรักษาขั้วโลกใต้ตามสนธิสัญญา ยืนหยัดในการปรึกษาหารืออย่างเสมอภาค อำนวยประโยชน์เพื่อประสบผลสำเร็จร่วมกัน สร้างขั้วโลกใต้ให้เป็นดินแดนแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งใหม่ ยืนหยัดในอิสรภาพการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมพื้นฐานวิทยาศาสตร์การป้องกันและการใช้ประโยชน์ ยืนยันการรักษาสภาพแวดล้อมธรรมชาติของขั้วโลกใต้ ป้องกันความสมดุลระบบนิเวศให้ขั้วโลกใต้พัฒนาอย่างยั่งยืน
การประชุมครั้งนี้จะเสร็จสิ้นลงในวันที่ 1 มิถุนายน ระหว่างการนี้ จะจัดการประชุมคณะกรรมการรักษาสภาพแวดล้อมขั้วโลกใต้ ครั้งที่ 20 การแลกเปลี่ยนทางการวาดภาพระหว่างเยาวชนทั่วโลกในประเด็น "ขั้วโลกใต้ในใจของข้าพเจ้า" และกิจกรรมอื่นๆ
Yim/Chu