นายจอห์น เมดินา (John Medina) นักวิทยาศาสตร์ด้านเส้นประสาทสมองที่มีชื่อเสียงของโลกประกาศผลวิจัยว่า ทักษะความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองต้องสูญพันธุ์และเมื่อมนุษย์เรารู้สึกมีความปลอดภัยเพียงพอสมองจึงจะเปิดรับที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้
พูดง่ายๆ ก็คือ เด็กที่มีรู้สึกมีความปลอดภัยพอเพียง จะยิ่งชอบเรียนหนังสือ ดังนั้น จะยิ่งฉลาด
อับราฮัม มาสโลว์นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมก็เห็นว่า ผู้ที่ขาดความรู้สึกปลอดภัยมักจะรู้สึกว่าถูกผู้อื่นดูแคลน ถูกทอดทิ้ง รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่ไว้วางใจ ต่อต้านผู้อื่น รู้สึกว่ามีปมด้อย และอาจคิดมากถึงขั้นฆ่าตัวตายได้
ดังนั้น เด็กที่ขาดความรู้สึกความปลอดภัย ก็มักจะมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ขาดความละเอียดอ่อน ปมด้อยและความหวาดกลัวสังคม เป็นต้น และมักจะมีปฏิกิริยาดังต่อไปนี้แสดงออกให้เห็นในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่
1. ขณะมีคนอื่นดูแล อย่างเช่น ปู่ย่าตายาย เป็นต้น เด็กก็จะไม่เกเร แต่เมื่ออยู่กับแม่ก็จะติดแม่ และถ้าหากไม่เห็นก็จะร้องไห้งอแง
2. เวลาไปโรงเรียนอนุบาลแม้ไม่ใช่วันแรกและไปเรียนนานแล้ว แต่ยังร้องไห้มากขณะออกบ้าน
3. มีนิสัยเก็บตัว ไม่อยากสื่อสารและกลัวที่จะคุยกับคนอื่น
4. ไม่มีความคิดตัวเอง และเห็นด้วยกับคนอื่นโดยไม่มีเงื่อนไข
5. แสดงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ บางอย่าง เช่น ชอบกัดเล็บหรือดูดนิ้ว