4. หม้อไฟมองโกล
หม้อไฟมองโกลหมายถึงการลวกเนื้อแกะหรือเนื้อวัวที่หั่นเป็นแผ่นปางๆ ด้วยหม้อทองแดงที่ใส่ถ่านอยู่ตรงกลางเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเล่ากันว่า เจงกีสข่านเป็นผู้ริเริ่มในระหว่างการพาทหารสู้รบเช่นกัน เพราะมีวิธีปรุงง่ายๆ และรับประทานได้อย่างสดๆ ร้อนๆ เหมาะกับรับประทานระหว่างการเดินทางสู้รบมาก
ถ้าไปเที่ยวมองโกเลียใน และแวะไปชิมที่ร้านหม้อไฟ เสนอให้เลือกน้ำซุปต้นหอมดินทราย หรือภาษาจีนเรียกว่า "ซาชง" ซึ่งเป็นต้นหอมพันธุ์มองโกลที่ขึ้นชื่อ และมีรสชาติออกหวาน ชาวมองโกลเชื่อว่า เนื้อดีๆ ไม่ต้องลวกในน้ำซุปรสจัด เพื่อจะได้ชิมความอร่อยดั้งเดิมของเนื้ออย่างดีที่สุด
5. หม้อไฟเจงกีสข่าน
ดูจากชื่อก็สามารถทราบแล้วว่าเป็นอีกจานหนึ่งที่ริเริ่มโดยเจงกีสข่าน แต่คำว่าหม้อไฟที่นี่ ไม่ได้หมายถึงใช้หม้อไฟมาต้มลวกเนื้อสัตว์กิน หากเป็นการใช้กระทะแบนมาย่างเนื้อ ซึ่งเดิมที เจงกีสข่านสั่งให้ทหารย่างแผ่นเนื้อบนหมวกเหล็กทหารที่เผาจนร้อนจัด วิธีรับประทานเช่นนี้ยังได้แพร่หลายไปสู่เอเชียกลางและรัสเซียใต้ตามการเดินทางของกองทหารของเจงกีสข่านด้วย และพัฒนาจนเป็นเนื้อย่างกระทะหรือเทปันยากิในปัจจุบันด้วย
6. เนื้อวัวตากแห้ง
เนื้อวัวตากแห้งสูตรดั้งเดิมของชาวมองโกลมีขั้นตอนการทำหลายขั้นตอน ก่อนอื่นต้องเอาเนื้อวัวที่แข็งในอุณหภูมิตามธรรมชาติ แล้วแขวนในสถานที่ที่มีอากาศระบายเป็นเวลา 4-5 เดือน จนน้ำในเนื้อแห้งไปอย่างเต็มที่ ซึ่งน้ำมันในเนื้อก็แห้งไปด้วยเช่นกัน จึงทำให้เนื้อมีความร่วนซุยเป็นพิเศษ และมีกลิ่นเข้มข้นขึ้น ต่อมาต้องเอาเนื้อแห้งไปแช่ในน้ำจิ้มสูตรพิเศษ ให้เนื้อดึงรสชาติของเครื่องเทศต่างๆ ซึมเข้าเนื้อได้อย่างเต็มที่ ถึงจะเอาไปอบจนแห้งอีกครั้ง พอผ่านกระบวนการปรุงเช่นนี้ จากเนื้อวัวประมาณโลครึ่งจะได้เนื้อแห้งออกมาเพียงครึ่งกิโลกรัมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เนื้อวัวตากแห้งมองโกลมีลักษณะเก็บง่าย จึงเหมาะกับเป็นของว่างนำติดตัวไปทานระหว่างท่องเที่ยว และเป็นของฝากที่ดีสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวมองโกเลียในด้วย
Yim/Ldan