เลือกอย่างไรให้คุ้มกับความพยายามของตน-3
  2017-12-18 11:11:47  cri

ภาวะสับสนต่างๆ ในการเลือก

2.อย่ามองการเลือกจากผลที่ออกมา

เกี่ยวกับเรื่องการเลือกนั้น ไม่ควรมองการเลือกภายหลังผลที่ออกมา เพราะสิ่งเดียวกันภายใต้สภาพที่ไม่ได้มากับได้มาแล้ว เราจะให้การประเมินที่แตกต่างกัน และอีกด้านหนึ่ง เราไม่อาจคาดถึงผลสุดท้ายก่อนการเลือกได้

สิ่งเดียวกัน ถ้าอยู่ในสภาพที่ต่างกัน เช่น ยังไม่ได้มา กับได้มาแล้ว หรือสูญเสียไปแล้ว เราจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น หวัง เจี้ยนหลิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีนเห็นว่าการตั้งเป้าหมายได้กำไร 100 ล้านหยวนเป็นเพียงเป้าหมายเล็กๆ และหม่า หยุน(เจ็ค หม่า) บอกว่าการก่อตั้งอาลีบาบา บริษัทอีเคอร์เมิร์ชยักษ์ใหญ่ของจีนเป็นเรื่องที่ตนเสียใจที่สุดในชีวิตนี้ และสำหรับตัวเราเอง เสื้อผ้าที่เราตั้งใจซื้อไว้นั้นพอถึงมือก็ไม่อยากใส่แล้ว......

เมื่ออยู่ในสภาพที่ต่างกัน เราก็จะประเมินสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เมื่อเราเลือกทางเลือกเอแล้วไปประเมินทางเลือกบีอีกที ก็ไม่ได้เป็นภววิสัยร้อยเปอร์เซ็นต์

เราพยายามให้ตัวเราเองสามารถคาดถึงอนาคต แต่ที่น่าเสียใจคือ ที่เราชำนาญคือความเสียดาย หลายคนเคยบ่นว่า

"หากฉันซื้อบ้านเมื่อ 5 ปีก่อนก็ดี(ราคาบ้านในทุกวันนี้ในจีนเป็นหลายเท่าตัวของ 5 ปีก่อน) ตอนนั้นคุณแม่เคยบอกให้ซื้อเร็วๆ "

"หากฉันไม่ได้แต่งงานกับเขาก็ดี ก่อนแต่งฉันก็รู้สึกว่าเขาเป็นคนคบได้ยาก "

"หากฉันเปลี่ยนงานเร็วกว่านี้ก็ดี ฉันรู้สึกว่าเจ้านายคนนี้คบได้ยากตั้งแต่ตอนที่สมัครงานแล้ว"

เรามักจะสนใจกับความรู้สึกเสียดาย แต่ในชีวิตเรา ไม่มีคำว่า "หากว่า" เมื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว เราได้รู้ผลชัดเจนแล้ว ถึงรู้ว่าทางเลือกทางไหนดีกว่า

แต่ก่อนเรื่องเกิดขึ้น เราดูไม่ออกว่า ทางเลือกสองทางอันไหนจะถูกต้อง การเทียบทางเลือกสองทางนั้นต้องทำก่อนเรื่องเกิดขึ้น ไม่ใช่หลังผลเกิดมาแล้ว

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040