เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2014 นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เสนอสร้างกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงในที่ประชุมผู้นำจีน-อาเซียน ครั้งที่ 17 และเป็นที่เห็นพ้องกันของประเทศตามแม่น้ำโขง หนึ่งปีผ่านมา จีน กัมพูชา ลาว พม่า ไทยและเวียดนาม ร่วมกันประกาศเอกสารว่าด้วยความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ถือเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการใหม่ของกลไก โดยเมื่อเดือนมีนาคมปี 2016 การประชุมผู้นำความร่วมมือล้านช้าง-โขงถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้กลไกความร่วมมือได้รับการยกระดับสูงขึ้น ได้รับความสนใจจากทั้งในและนอกภูมิภาค
ตั้งแต่การสร้างกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นต้นมา จีนกับประเทศตามแม่น้ำโขงยืนหยัดในหลักการปรึกษาร่วมกัน ก่อสร้างร่วมกัน แบ่งปันร่วมกัน ผลักดันความร่วมมือในแวดวงเศรษฐกิจและการค้าอย่างจริงจังภายใต้กรอบความร่วมมือ 3+5 โดยประสบผลสำเร็จที่ชัดเจน
การค้าในภูมิภาคล้านช้าง-โขงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจุดเด่นใหม่ในความร่วมมือจีน-อาเซียน ปัจจุบัน จีนกลายเป็นหุ้นส่วนทางการค้าสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของกัมพูชา พม่า ไทยและเวียดนาม และเป็นหุ้นส่วนสำคัญอันดับสองของลาว โดยเวียดนามก็กลายเป็นหุ้นส่วนทางการค้าอันดับหนึ่งของจีนในอาเซียน
การลงทุนของจีนขยายวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแรงขับเคลื่อนในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตามแม่น้ำล้านช้างและแม่น้ำโขง ปัจจุบัน จีนลงทุนในประเทศตามลุ่มน้ำโขงยังไม่มาก แต่เติบโตอย่างรวดเร็วในหลายปีมานี้ โดยเฉพาะหลังจากการสร้างกลไกความร่วมมือล้านช้าง-โขง จีนกับประเทศตามแม่น้ำโขงพยายามผลักดันความร่วมมือทางความสามารถการผลิต ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางความสามารถการผลิต ผลักดันความร่วมมือทั้งทางกำลังไฟฟ้า เครือข่ายไฟฟ้า รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรม เป็นต้น และได้ประสบผลอย่างมาก
Yim/chu