แม่น้ำฉางเจียงหรือแม่น้ำแยงซี มีสมญาว่า เป็นแม่น้ำแห่งความเป็นแม่ของประชาชาติจีน แต่ไหนแต่ไรมีนักประพันธ์แต่งบทกวีและบทความเพื่อสรรเสริญความยิ่งใหญ่และความสวยงามของแม่น้ำฉางเจียง
วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะผู้สื่อข่าวที่รับผิดชอบการรายงานเกี่ยวกับแถบเศรษฐกิจแม่น้ำฉางเจียงได้เดินทางถึงเมืองเยวี่ยหยาง มณฑลหูหนาน และขึ้นไปชมหอเยวี่ยหยาง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฉางเจียง นับเป็นโบราณสถานที่มีชื่อเสียงที่เหล่าบรรดานักประพันธ์วรรณกรรมในประวัติศาสตร์ของจีนนิยมสร้างผลงานจำนวนมากที่นี่
นางซิน เสี่ยวจวน อาจารย์จากสถาบันจีนศึกษา มหาวิทยาลัยประชาชนจีน ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ ที่หอเยวี่ยหยาง วิเคราะห์ว่า การที่แม่น้ำฉางเจียงเป็นที่นิยมของบรรดานักประพันธ์จีนในยุคสมัยต่าง ๆ เป็นเพราะในแต่ละช่วงของแม่น้ำฉางเจียงล้วนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ถือเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ตอนต้นของแม่น้ำฉางเจียง มีช่องแคบซานเสีย ซึ่งขึ้นชื่อด้วยความสูงชัน ตอนกลางของแม่น้ำฉางเจียง โดดเด่นที่ความกว้างเวิ้งว้าง ส่วนตอนปลายของแม่น้ำฉางเจียง เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจีนตั้งแต่สมัยโบราณ จึงพัฒนาและมั่งคั่งกว่าเขตอื่น ๆ ของจีน ด้วยเหตุนี้ ผลงานวรรณคดีที่เกี่ยวกับแม่น้ำฉางเจียงจึงมีความหลากหลายเป็นอย่างยิ่ง
(Tim/Zhou/Zhou)