นโยบายดั่งเช่น "หลุมดำ" และ "การต่อต้าน" การเติบโตของเศรษฐกิจโลกนี้ อาจมีความชัดเจนมากขึ้นหลังวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งสหรัฐจะฟื้นการคว่ำบาตรอิหร่านระยะที่ 2 โดยครอบคลุมอุตสาหกรรมพลังงาน การซื้อขายน้ำมันดิบ และด้านการเงินของอิหร่าน
ส่วนสงครามการค้าที่วอชิงตันก่อขึ้นนั้น นับเป็น "หลุมดำ" ของสหรัฐอีกแห่งหนึ่งที่มีแนวโน้มสกัดกั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก นักวิเคราะห์ระบุว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกับการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มภาษีศุลกากรจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการค้าและความเชื่อมั่นทางการค้าของโลก ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและภาวะเงินเฟ้อในระดับสูง กระทั่งอาจจะฉุดเศรษฐกิจโลกให้ซบเซา
ไม่ว่าจะเป็นการถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน การก่อสงครามการค้า หรือว่า การถอนตัวออกจาก "ความตกลงปารีส" และองค์การยูเนสโก นโยบายต่างๆ ที่วอชิงตันกำลังดำเนินอยู่ ล้วนพิสูจน์ให้เห็นถึงเอกลักษณ์สำคัญที่สุดของนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐชุดปัจจุบัน นั่นก็คือ "ความไม่แน่นอน" อย่างไรก็ตาม ในฐานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 และมหาอำนาจที่มีอิทธิพลมากที่สุดของโลก รัฐบาลสหรัฐเป็นหนี้ "ความแน่นอน" กับโลก ขณะที่โลกไม่ต้องการ "หลุมดำ" ของสหรัฐ เนื่องจากหลุมดำนี้จะขัดขวางแสงสว่างที่มีความงดงามและความเจริญในฉับพลัน
(TIM/LING/CAI)