ข่าวเด่นที่สุดของการประชุมสองสภาจีนปี 2018 ข่าวหนึ่งคือ มีสมาชิกสภาผู้แทนฯ เสนอให้ประกาศใช้นโยบาย "ลูก 3 คน"
จีนเริ่มใช้นโยบายลูก 2 คนเมื่อปี 2015 ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวที่ใช้มาแล้วกว่า 30 ปี ทำให้ครอบครัวจำนวนมากตื่นเต้นและวางแผนครอบครัวใหม่ แต่ครอบครัวส่วนมากยังลังเลอยู่ว่า จะมีลูกคนที่ 2 หรือไม่ เพราะมีลูก 2 คนหมายถึงจะต้องมีบ้านที่ใหญ่ขึ้น ต้องมีรายได้มากขึ้น ดังนั้นการมีลูก 3 คนย่อมจะมีแรงกดดันมากขึ้นอย่างแน่นอน
จีนประกาศและใช้นโยบาย "ลูก 2 คน" กว่า 2 ปีแล้ว ก่อนนั้นผู้เชี่ยวชาญเคยคาดว่า หลังการใช้นโยบายลูก 2 คนแล้ว ประชากรของจีนจะมีการเติบโตแบบระเบิด" คำถามคือเป็นไปตามความคาดหมายไหม? ตัวเลขต่อไปจะให้คำตอบอย่างชัดเจน
1. เมื่อปี 2016 ประชากรที่เกิดใหม่ของจีนมี 17.86 ล้านคน เพิ่มขึ้นเพียงกว่า 1.3 ล้านคนเมื่อเทียบกับปี 2015 แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะมีประชากรเกิดใหม่กว่า 20 ล้านคน
2. ปี 2017 ประชากรที่เกิดใหม่ของจีนมี 17.23 ล้านคน ลดลงกว่าปี 2016จำนวน 630.000 คน ทั้งจำนวนทารกแรกเกิดและอัตราการเกิดลดลงหมด
อัตราการเติบโตของประชากรในมณฑลต่างๆ ของจีนส่วนใหญ่อยู่ที่ 3-9% โดยเฉพาะ 3 มณฑลใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงขนาดติดลบ
เว็บไซต์เทนเซ็นต์ทำการสำรวจ "ความปรารถนาอยากมีลูก 2 คน"ของชาวจีนที่อยู่ในช่วงวัยที่พร้อมจะมีลูกได้ เช่นกลุ่มคนอายุ 40-49 ปี ครอบครัวส่วนใหญ่ตอบว่า ถ้าไม่ตระหนักถึงสภาพความเป็นจริง อยากมีลูก 3 คน แต่ความจริงคือ มีประมาณ 70% ไม่มีแผนจะมีลูกคนที่สองแล้ว // ส่วนในกลุ่มผู้หญิงอายุ 20-39 ส่วนใหญ่ไม่อยากมีลูกคนที่ 2 และยิ่งไม่อยากมี 3 อย่างแน่นอน // โดยรวมแล้ว 28% มีแผนจะมีลูกคนที่ 2 // 42% ไม่มีแผน // และอีก 30% อยู่ในช่วงตัดสินใจ// ในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 1 ล้านหยวนหรือ 5 ล้านบาทนั้น มี กว่า 25% อยากมีลูกคนที่ 3
สาเหตุที่ทำให้ชาวจีนไม่อยากมีลูก 2 คนหรือ 3 คนนั้น มีดังนี้
1.ราคาบ้านแพงเกินไป
สำหรับสามีภรรยาวัยหนุ่มสาว ถ้าอยากมีลูกในเมืองใหญ่ หรือเมืองระดับหนึ่ง เงื่อนไขเบื้องต้นคือต้องมีบ้านอยู่อาศัย แต่ค่าบ้านในเมืองใหญ่แพงเกินไป เงินเดือนกับค่าบ้านต่างกันหลายสิบเท่า จึงต้องอาศัยครอบครัวของทั้งสองฝ่าย ซึ่งพ่อแม่ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายออกเงินที่เก็บมาหลายสิบปีร่วมกัน จ่ายค่าบ้านงวดแรก และสองคนช่วยกันออกค่าผ่อนบ้านทุกเดือน ทำให้กลุ่มคนที่มีอายุ 20-39 ต้องเผชิญกับแรงกดดันหนัก จนไม่กล้ามีลูก และบางคนซื้อบ้านของตนเองแล้วมีลูกคนแรก แต่ถ้าอยากมีลูก 2 คน หรือ 3 คน บ้านเดิมจะไม่พอใช้ จะต้องซื้อบ้านใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเพิ่มภาระหนักด้วย จึงไม่อยากมีลูกอีกแล้ว
2.จ่ายค่าการศึกษาสูงเกินไป
ปัจจุบัน ในจีน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เด็กทุกคนนอกจากเข้าเรียนโรงเรียนปกติแล้ว ยังต้องเรียนพิเศษต่างๆ นานา หลังเลิกเรียน เช่นดนตรี เล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เปียโน ไวโอลิน หรือขลุ่ย ฝึกเขียนพู่กันจีน วาดภาพ เต้นรำ เช่นบัลเลต์ ลาติน หรือระบำพื้นบ้าน งิ้วปักกิ่ง กังฟู ว่ายน้ำ แบดมินตัน บาสเก็ตบอล สกี สเกตและเทกวนโด เป็นต้น นอกจากนั้น ยังต้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และคณิตศาสตร์ด้วย แต่ละรายการจะต้องเสียเงินหลายพันถึงหมื่นต่อปี บางคนบอกว่า แม่เลี้ยงลูกคนเดียวยังลำบาก ถ้ามี 2 คน 3 คนจะไม่ไหวอย่างแน่นอน
3. ไม่มีเวลาและกำลัง
การทำงานมีแรงกดดันและการใช้ชีวิต เมื่อเลิกงานกลับบ้านแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยจนไม่อยากไปไหน ไม่อยากทำอะไรแล้ว จะไม่มีเวลาและกำลังในการดูแลลูกและพาลูกไปเรียน ไปเที่ยว และบางทีก็มีอารมณ์ไม่ดีใส่ลูก บางคนว่า แม่เลี้ยงตนเองไม่ดีเท่าไหร่ ยิ่งไม่มีความมั่นใจที่จะเลี้ยงลูกให้ดีได้เลย ผู้หญิงส่วนหนึ่งมีลูกแล้วก็ลาออก เลี้ยงลูกที่บ้านอย่างเดียว แต่ไม่มีเวลาให้กับตนเอง ก็รู้สึกไม่สบายใจ ยังไงก็ไม่อยากมีลูกอีกแล้ว
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาอีกหลายประการ เช่นโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมและมัธยมชั้นดีไม่พอเพียง ทรัพยากรการศึกษาไม่สมดุล และขาดคนดูแล ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งแล้ว หากกลายเป็นปัญหาสังคมจีนในปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อถูกถามว่า อยากมีลูก 3 คนไหม? มักจะได้คำตอบว่า "ไม่อยากเด็ดขาด" เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นเหตุให้ดัชนีการเลี้ยงลูกของจีนอาจอยู่ในอันดับสูงสุดของโลก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการคลอดบุตรในเมืองใหญ่ของจีนต่ำกว่าระดับต่ำสุดของโลก
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอให้รัฐบาลจัดงบประมาณชดเชยครอบครัวที่มีลูก 2 คน ปรับอายุการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ถึง 16 ปี เพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษาเร็ว แต่งงานเร็วและมีบุตรเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือลดแรงกดดันด้านบ้านที่อยู่อาศัย การศึกษา การรักษาพยาบาลและการทำงาน ประชาชนถึงจะมีความสนใจเพิ่มสมาชิกครอบครัวได้