แท้ที่จริงแล้ว หากวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เงินรูเปียห์อ่อนค่าจะพบว่ามีปัจจัยหลายด้าน กลไกปรับปรุงด้วยตลาดยังคงมีบทบาทอยู่ ขณะที่การเข้ามาแทรกแซงของธนาคารกลางของอินโดนีเซียในขณะนี้ จะทำให้สามารถควบคุมความเสี่ยงได้
หากมองจากสถิติ การลดค่าเงินรูเปียห์ครั้งนี้ มีความแตกต่างจากช่วงที่เกิดวิกฤตการเงิน 20 ปีที่แล้วอย่างมาก หากเริ่มพิจารณาจากต้นปีนี้ อัตราการอ่อนค่ามีเพียง 9% ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เป็นการอ่อนค่าแบบค่อยเป็นค่อยไป
หากพิจารณาจากปัจจัยการอ่อนค่า นโยบายรวบรัดเงินตราของธนาคารกลางสหรัฐฯ เช่น การเพิ่มดอกเบี้ย มีผลกระทบทั้งทำลายการหมุนเวียนเงินตราของโลก และทำให้ตลาดอินโดนีเซียเกิดความกังวล
หากพิจารณาจากกลไกการตลาด นักวิเคราะห์ทางการเงินบางคนเห็นว่า การอ่อนค่าของเงินรูเปียห์เป็นการปรับตัวตามความต้องการในการรับมือกับนโยบายเงินตราของธนาคารกลางสหรัฐฯ
หากมองจากมุมของอาเซียน ค่าเงินรูเปียห์ที่ร่วงลงในระยะสั้น อาจทำให้ตลาดทุนในประเทศรอบข้างเกิดความกังวล แต่ก็มิอาจลุกลามอย่างรวดเร็วไปในประเทศอาเซียนได้ทันที
Tim/Ping/Cai