ปีหลังๆ นี้ นักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว มีแรงกดดันหางานทำมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้ของนักศึกษาก็เป็นที่สนใจของสังคม เมื่อปี 2017 เงินเดือนโดยเฉลี่ยของนักศึกษาที่จบการศึกษาทั่วประเทศเป็นเพียงประมาณ 4,000 หยวน นักศึกษาที่จบปริญญาโทและปริญญาเอกจะมีเงินเดือนมากกว่า แต่กล่าวโดยทั่วแล้ว ถ้ามีรายได้ 1-2 แสนหยวนต่อปี จะถือว่าเป็นงานที่ดีพอแล้ว
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ปริญญาเอกที่มีอายุเฉลี่ยไม่ถึง 30 ปี ได้รับ offer ฉบับแรกในชีวิต ต่างมีรายได้ 5 ล้านหยวนขึ้นไปต่อปี ถือว่าเป็นรายได้ต่อปีที่สูงมากที่ไม่เคยมีมาก่อน
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีนี้ กลุ่มไห้เลี่ยง วิสาหกิจภาคเอกชนที่มีทรัพย์สินแสนล้านของมณฑลเจ้อเจียงเริ่มปฏิบัติตามยุทธศาสตร์บุคลากร "ซิงชิงเหนียน"หรือแปลว่า "สตาร์รุ่นใหม่" วางแผนว่า ภายใน 2 ปีข้างหน้า จะว่าจ้างบุคลากรดีเด่นในขอบเขตทั่วโลกประมาณ 5,000 คน รวมถึงบุคลากรบริหารระดับสูง 5 คน บุคลากรบริการระดับกลาง 100 คน อธิการบดี(รองอธิการบดี) ของสถาบันการศึกษา 100 คน ในจำนวน ผู้บริหารระดับสูง 5 คนจะมีรายได้ 5 ล้านหยวนขึ้นไปต่อปี
ต่อจากการเริ่มแผนการดังกล่าวแล้วครึ่งปี ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยชิงหวา 3 คนได้รับ offer อย่างราบรื่น ปัจจุบันได้จดทะเบียนเข้าทำงานเรียบร้อยแล้ว
นายจาง บิน CHRO (Chief Human Officer) ผู้บริหารทรัพยากรบุคคลของกลุ่มไห่เลี่ยงแนะนำว่า การคัดเลือกครั้งนี้เข้มงวดมาก ต้องผ่านการสอบ 3 รอบ เมื่อยุทธศาสตร์ "ซิงชิงเหนียน" ประกาศแล้ว ได้ดึงดูดบุคลากรทั้งจีนและต่างประเทศกว่า 20,000 คนสมัคร ในจำนวนนี้ กว่า 1,800 คนจบการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงของจีนและต่างประเทศ เช่นอ๊อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ Imperial College London ของอังกฤษ และฮาเวอร์ด MIT( Massachusetts Institute of Technology) ของสหรัฐฯ ส่วนภายในประเทศ มีมหาวิทยาลัยชิงหวา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยฟู่ต้าน มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง เป็นต้น หรือบางคนกำลังทำงานในวิสาหกิจใหญ่ที่มีชื่อเสียงอยู่
การประเมินและสอบรอบแรก กลุ่มไห่เลี่ยงอำนวยที่พักและอาหารการกิน และยังจ่ายค่างเดินทางให้กับผู้สมัครทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า กลุ่มไห่เลี่ยงมีความจริงใจและตั้งใจที่จะได้ได้รับบุคคลากรดีเด่น
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้บริหารรุ่นใหม่ 38 คนได้เข้าสู่การสอบรอบที่ 2 โดยการสอบรอบนี้ ใช้รูปแบบจัดการประชุมพาณิชย์ทำนอง และให้รายงานผลทางการประกอบกิจการ เพื่อประเมินขีดความสามารถในด้านการประสานงาน การนวัตกรรม ความไวต่อความรู้สึกทางพาณิชย์ การเป็นผู้นำ การวางแผนทางยุทธศาสตร์ การบริหารการประกอบกิจการและความกระตือรือร้นในการทำงาน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญและฝ่ายบริหารของบริษัทออกผลประเมินทางอเนกประสงค์ ได้ตัดเลือก 10 คนเข้ารอบที่ 3
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มไห่เลี่ยงประเมินผลที่ผ่านมา และอ้างอิงข้อมูลเบื้องหลัง ในที่สุดได้ตัดสินให้ 3 คนที่ได้คะแนนสูงสุดรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ส่วนคนอื่น ก็จะรับตำแหน่งการบริหารระดับกลางตามความเชี่ยวชาญและความได้เปรียบของแต่ละคน
ผู้ที่โชคดี 3 คนนี้ อายุเฉลี่ยแล้วเพียง 29 ปีเท่านั้น 1 คนจบจากมหาวิทยาลัยชิงหวา อีก 2 คนจบจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ทั้ง 3 คนนี้มีเบื้องหลังทางสังคม ศึกษาวิชาหลายด้าน รวมถึงพาณิชย์ การเงิน วิศวกรรม วัฒนธรรมและศิลปะ นายเฝิงไห่เหลียง ประธานกรรมการของกลุ่มไห่เลี่ยงกล่าวว่า 3 คนนี้คือ นายเฉิน จินเหว่ย อายุ 27 ปี ปริญญาเอกวิชาวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นายหยางยู่ว์ อายุ 30 ปี ปริญญาเอกวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ละนายหาง เฉิงเจิ้ง อายุ 30 ปี ปริญญาเอกวิชาการบริหารของมหาวิทยาลัยชิงหวา ทั้ง 3 คนนี้ล้วนเป็นประธานสหพันธ์นักศึกษาปริญญาโท
นายเฝิงไห่เหลียงระบุว่า อายุ 30 ปีได้รายได้ 5 ล้านหยวนต่อปี บางคนเห็นว่าสูงเกินไป สูงกว่าผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ มีความไม่เข้าใจ สาเหตุที่ต้องทำอย่างนี้ ก็เพราะว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่หายากมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการพัฒนาธุรกิจ การลงทุนด้านบุคลากรเป็นการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ แม้ว่าลงทุนไม่น้อย แต่มีอนาคตที่ดีงาม ผู้บริหารดีเด่นสามารถสร้างคุณค่าเป็น 100 เท่าตั่วได้
หนุ่ม 30 ปีได้รับรายได้สูงถึง 5 ล้านหยวน สะท้อนให้เห็นว่า ในสังคมจีนปัจจุบัน บุคลากรดีเด่นมีคุณค่ามากขึ้นทุกวัน ปีหลังๆ นี้ เมืองต่างๆ ของจีนเกิด "สงคราม" แย่งชิงบุคลากร บุคลากรที่ถูกแย่งชิงอย่างรุนแรงที่สุดคือปริญญาโทและปริญญาเอก สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยและวิสาหกิจใหญ่ต่างให้รายได้มากยิ่งขึ้น
ในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย บุคลากรยอดเยี่ยมที่อยู่ในโครงการบุคลากรรุ่นใหม่พันคนแห่งชาติ หรือได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ จะได้รับงบประมาณการศึกษาวิจัยจากหลายแสนถึงหลายล้านหยวน นอกจากนี้ ยังมีเบี้ยเลี้ยงสร้างบ้านอีกก้อนหนึ่ง ส่วนใหญ่ได้รับจ้างในฐานะรองศาสตราจารย์กระทั่งศาสตราจารย์ นอกจากนี้แล้ว การเข้าเรียนของบุตร และการจัดงานให้กับสมาชิกครอบครัวก็ได้รับสิทธิพิเศษอีกด้วย
ด้านวิสาหกิจ จะให้รายได้ที่ดีงามให้กับบุคลากรยอดเยี่ยม เช่น ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา บริษัทอาลี บาบา ก็รับสมัครบุคลากรด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลก เรียกว่า "อาหลี่ชิง" หรือแปลว่า "อาลี สตาร์" ผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้จะมีรายได้สูงถึง 6 แสนหยวนขึ้นไปต่อปี และไม่มีเพดานด้วย ปีหลังๆนี้ AI ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ในจีน วิศวกร AI ผู้ออกแบบ AI และผู้เชี่ยวชาญหุ่นยนต์ โดยทั่วไปจะมีรายได้ 6 แสนถึง 1 ล้านหยวนต่อปี แม้นักศึกษาที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย ก็มีรายได้ 3-5 แสนหยวนขึ้นไป
กล่าวได้ว่า ไม่ว่าสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจันหรือวิสาหกิจ ยอมให้รายได้ที่ดียิ่งขึ้นให้แก้บุคลากรยอดเยี่ยว ทั้งนี้จะได้ดึงดูดบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสร้างคุณงามความดีให้กับสังคม และเป็นแรงกระตุ้นให้เยาวชนขยันเรียน เพื่อพัฒนาตนเองและร่วมกันพัฒนาสังคม