ก่อนหน้านี้ มอเตอร์ไซค์ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน และบริษัทตะปูมิดคอนทิเนนท์ของสหรัฐฯ ได้ย้ายการผลิตออกจากประเทศ เช่นเดียวกับฟอร์ด และแอปเปิ้ลที่ไม่ยอมย้ายฐานการผลิตกลับไปในสหรัฐฯ ภายใต้สถานการณ์การต่อสู้ทางการค้าที่รุนแรงยิ่งขึ้น ธุรกิจสหรัฐฯ ต่างพากันใช้แนวทางที่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของตลาด
ฟอร์ดเป็นบริษัทที่มีประวัติด้านการผลิตในสหรัฐฯ ขณะที่ แอปเปิ้ล เป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสหรัฐฯ การไม่ยอมย้ายฐานการผลิตกลับไปยังสหรัฐฯ ไม่ใช่เพราะบริษัทเหล่านี้ตั้งใจโต้แย้งกับรัฐบาลสหรัฐฯ หากแต่เพียงว่าภายใต้โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์มีแต่อยู่ในประเทศจีน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลการทำงานและควบคุมต้นทุนได้ นำมาสู่การเพิ่มผลกำไรและการพัฒนาที่มากยิ่งขึ้น
สำหรับธุรกิจรถยนต์ จีนเป็นตลาดจำหน่ายรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 9 ครึ่งแรกของปีนี้ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของจีนอยู่ในระดับแนวหน้าของโลกที่ 12.23 ล้านคัน ในบรรดารถยนต์ฟอร์ด รุ่น F เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีปริมาณการจำหน่าย 540,000 คัน เมื่อตลาดมีขนาดใหญ่เช่นนี้ ธุรกิจรถยนต์ใด ๆ ล้วนไม่อาจถอนตัวออกไปได้โดยง่าย
สำหรับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลค่ากิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ของจีนในระดับโลกกำลังก้าวหน้าไปทีละขั้น ในบรรดาผู้ผลิตสินค้าให้กับแอปเปิ้ล 200 อันดับแรกของโลกในปี 2018 อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง 34 ราย เพิ่มขึ้น 7 รายเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในจำนวนนี้บริษัทซัพพลายเออร์ของแอปเปิ้ล 7 รายที่อยู่ในฮ่องกง มีโรงงาน 21 แห่งอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างถูก ตลอดจนบรรยากาศการค้าที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ทั้งหมดนี้ประกอบกันเป็นสภาพแวดล้อมในการประกอบกิจการที่นับวันยิ่งมีประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำให้บริษัทแอปเปิ้ลต้องการเพิ่มผู้ผลิตสินค้าให้กับตัวเองในจีน
การตัดสินใจของฟอร์ดและแอปเปิ้ล ทำให้คนภายนอกมองเห็นอย่างชัดเจนว่า การต่อสู้ทางการค้าที่บีบให้ธุรกิจสหรัฐฯ กลับประเทศ เป็นทางออกที่ไม่ถูกต้อง หากยิ่งบีบบังคับมากขึ้น ธุรกิจที่ไม่ยอมย้ายกลับไปอาจยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
(Tim/zheng)