ต่อจากนั้น ในการประชุมระดับผู้นำเอเชียยุโรปที่จัดเป็นเวลา 2 วันและสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ผู้นำของ 51 ประเทศเอเชีย ยุโรป ตลอดจนสหภาพยุโรปและอาเซียนประกาศแถลงการณ์ โดยมีคำมั่นสัญญาที่จะทุ่มกำลังผลักดันการค้าเสรีและการเปิดสู่ภายนอก คัดค้านลัทธิกีดกันทุกรูปแบบ ทั้งยังแสดงความประสงค์ที่จะสนับสนุนข้อตกลงเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เพราะเหตุใดกันประเทศเอเชียกับยุโรปจึงเกิดความสามัคคีและขยับเข้าใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นได้นั้น ก่อนอื่น การกระทำแบบลัทธิกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ที่นับวันรุนแรงยิ่งขึ้น สร้างการท้าทายใหญ่หลวงต่อทั่วโลก สหรัฐฯ มิเพียงแต่เก็บภาษีศุลกากรเพิ่มต่อสินค้าที่นำเข้าจากจีนจำนวนมาก แต่ยังประณามสหภาพยุโรปที่ดำเนินการอย่างเชื่องช้าในด้านการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการเปิดตลาด
ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ไม่ยอมรับและปฏิเสธแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ขององค์การการค้าโลกหลายครั้ง ทำให้กลไกแก้ไขข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกตกอยู่ในสภาพที่ชะงักงันไม่สามารถดำเนินงานได้ และหลังจากประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงว่าด้วยความสัมพันธ์หุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก( TPP) สหรัฐฯ ยังประกาศถอนตัวออกจากองค์การยูเนสโกและคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติด้วย ซึ่งล้วนเป็นองค์การสำคัญระหว่างประเทศ และเมื่อเร็วๆ นี้ ยังประกาศว่าจะเตรียมถอนตัวจากสหภาพไปรษณีย์สากลหรือยูพียู (UPU)อีก
ตามคำพูดของนายโดนัลล์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯ ถอนออกจากองค์การระหว่างประเทศหลายองค์การอย่างต่อเนื่องมีเพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือ สหรัฐฯ ประสบกับความเสียเปรียบอย่างมาก การกระทำและนโยบายที่ว่า "อเมริกาต้องมาก่อน"ของกรุงวอชิงตัน กำลังสร้างภัยคุกคามมากยิ่งขึ้นต่อความมั่นคงและการทำงานตามแนวคิดระบบการค้าพหุภาคีในทั่วโลก
ฉะนั้น ประเทศเอเชียและยุโรปที่ถูกผลกระทบจากสหรัฐฯ อย่างหนัก จำเป็นต้องร่วมมือกันรับมือกับการท้าทายเช่นนี้ ประเทศยุโรปซึ่งเป็นฝ่ายจัดการประชุมดังกล่าวได้เสนอหัวข้อการประชุม "เอเชียกับยุโรป หุ้นส่วนรับมือกับการท้าทายทั่วโลก" นับเป็นคำชี้แจงได้อย่างชัดเจน
และนอกจากการคัดค้านลัทธิกีดกันทางการค้าที่มีลักษณะทำลายประเทศอื่นของสหรัฐฯ แล้ว ประเทศเอเชียและยุโรปยังได้ร่วมกันหารือเรื่อง "การเชื่อมโยงกันในด้านต่างๆ" โดยก่อนเปิดการประชุม สหภาพยุโรปได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงกันระหว่างยุโรปกับเอเชียฉบับใหม่ ซึ่งเทียบเท่ากับข้อริเริ่ม " 1 แถบ 1 เส้นทาง"ของจีน แผนการเหล่านี้ เป็นโอกาสใหม่สำหรับความร่วมมือระหว่างจีนกับยุโรป และย่อมจะมีบทบาทส่งเสริมการร่วมมือระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียด้วย
นอกจากนี้ ประเทศเอเชียและยุโรปยังมีความเห็นและนโยบายที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันด้วย ในปัญหาสำคัญด้านสถานการณ์โลกปัจจุบัน รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน เป็นต้น โดยเอเชียกับยุโรปล้วนสนับสนุนข้อตกลงปารีส ต่างเห็นว่า ประเทศต่างๆในโลกควรร่วมกันสร้างคุณูปการ เพื่อรักษาโลกใบนี้ และคุ้มครองอนาคตของมวลมนุษย์
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ การมีข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นกฎเกณฑ์พื้นฐาน ระบบการค้าพหุภาคีที่มีองค์การการค้าโลกเป็นศูนย์กลาง และประชาคมโลกที่มีความรับผิดชอบต่อปัจจุบันและอนาคตของมนุษยชาตินั้น สอดคล้องกับความคาดหวังของเอเชียและยุโรป สอดคล้องกับผลประโยชน์ของทั่วโลก ซึ่ง 51 ประเทศเอเชียกับยุโรปนี้ เป็นตัวแทนประชากร 60% จีดีพี 65% และยอดการค้า 55% ของทั้งโลก
(Yim/Lin/zhou)