อ.เคยร่วมกิจกรรมกับทางวิทยุจุฬาก่อนหน้านี้ไหมคะ
ส.ครั้งนี้เป็นครั้งแรกค่ะ
อ.แปลว่ารายการสานสัมพันธ์ไทย-จีน มีแรงจูงใจมากๆ คิดอย่างไรจึงร่วมรายการครั้งนี้
ส.ประการแรกคือที่บ้านค่อนข้างมีความสนใจเกี่ยวกับประเทศจีน เพราะมีวัฒนธรรมและประวัติศาสนตร์ที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะปัจจุบัน ประเทศจีนมีการพัฒนาไปอย่างมาก เป็นประเทศที่น่าสนใจประเทศหนึ่ง ที่บ้านก็สนใจ ฟังแล้วทราบว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจที่ทางรายการจัด ฟังไปด้วยก็สนุกไปด้วย ก็ร่วมกิจกรรมครั้งนี้
อ.ทราบว่าคุณเสาวลักษณ์มาปักกิ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก และที่สำคัญที่สุดคือคุณเสาวลักษณ์เป็นสถาปนิกที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับร"รังนก" สนามกีฬาแห่งชาติจีนด้วย พอจะเล่าให้ท่านผู้ฟังได้ฟังหน่อยได้ไหมคะ
ส.มาปักกิ่งครั้งนี้เป้นครั้งที่ 3 แต่ว่า ครั้งก่อนๆ ส่วนใหญ่ก็มาช่วยในเรื่องของการออกแบบ แต่ว่ามาในทีมไม่ได้มาในนามส่วนตัว ประเทศจีนมรสถาปัตยกรรมของเก่าของโบราณที่น่าทึ่ง พอจีนพัฒนาขึ้นมาที่จะต้อนรับโอลิมปิกด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งจีนก็สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับโลก น่าสนใจกับสถาปนิกโดยเฉพาะสถาปนิกใหม่ๆ ที่จะศึกษากับอาคารใหม่ๆ ค่ะ
อ.เราได้มาในส่วนของการวางเค้าโครงหรือมาศึกษาเค้าโครงตรงนั้น
ส.บางโครงการเราเข้ามาดูหรือร่วมการออกแบบ บางอันอาจจะไม่เกี่ยวกับตัวสถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารสนามกีฬา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับอาคารที่พักอะไรแบบนี้ด้วย
อ.จากมุมมองของคุณเสาวลักษณ์ที่ได้เห็นความเก่าและความใหม่ การผสมกลมกลืน ในสายตาที่เป้นสถาปนิก คุณเสาสลักษณ์รู้สึกยังไงคะ
ส.โดยความคิดส่วนตัวคิดว่าของเก่าของจีนประเทศอื่นไม่สามารถทำได้ถึงขนาดนี้ มันลึกซึ้งแฝงด้วยปราชญาและความเชื่อทัศนคติของจีนเอง ของเก่านี้คิดว่าน่าสนใจมาก จีนน่าจะรักษาไว้ได้ให้มากกว่านี้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างที่เรียกว่า หูท่ง น่าสนใจมากๆ คิดว่าจีนน่าจะอนุรักษ์ไว้เลยค่ะ เพราะของเก่าเป็นสิ่งที่ของใหม่ไปแทนไม่ได้อยู่แล้ว
อ.ค่ะ ซึ่งก็สอดคล้องกับทางการจีนทีกำหนดพื้นที่อนุรักษ์บ้านซื่อเหอย่วนเอาไว้ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับกลิ่นอายของจีนในยุคดั้งเดิมกับจีนในยุคปัจจุบัน ว่ามีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอย่างไร เลือกบรรยากาศสัมผัสได้อย่างเต็มที่ นี่ก็เป็นมุมมองจากสถาปนิกแและก็เป็นท่านผู้ฟังที่ได้รับรางัลมาเที่ยวปักกิ่งในคราวนี่้ คือคุณเสาวลักษณ์ นฤมิตรพันธุ์เจริญค่ะ
(เชิญฟังตอนต่อไป)