ประตู "อู่เหมิน" ซึ่งเป็นประตูใหญ่ของพระราชวังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "อู่เฟิ่งโหลว" เชื่อมด้วยกำแพงที่มีความสูง 12 เมตรในทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ ที่ล้อมรอบจัตุรัสรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็นพลับพลาสองชั้น ด้านหน้าเป็นพระที่นั่งที่มีความกว้างเท่ากับห้อง 9 ห้อง มีหลังคาสองชั้น นอกจากนี้ ยังมีพลับพลาอีก 4 แห่งตามกำแพงทั้งสองข้าง และสร้างระเบียงเชื่อมกันไว้ด้วย หอพลับพลาแบบนี้เรียกว่า "ประตูพลับพลา" เป็นประตูระดับสูงสุดในสมัยโบราณของจีน สิ่งก่อสร้างแห่งนี้มีความสง่างามมาก เป็นจุดสูงที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ประตู "อู่เหมิน" เป็นที่ประกาศพระบรมราชโองการและประกาศสงครามกับต่างประเทศ เมื่อมีพระบรมราชโองการของจักรพรรดิหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ ข้าราชการฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋นล้วนต้องรวมตัวกันอยู่ที่จัตุรัสหน้าประตู "อู่เหมิน" เพื่อฟังอย่างพร้อมเพรียวกัน ช่องกลางของประตู "อู่เหมิน" มีแต่จักรพรรดิเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าออกได้ ยกเวิ้นพระมเหษีสามารถเดินผ่านประตูได้ในระหว่างพิธีอภิเษกสมรสจอหงวน ปางั่ง ถ้ำฮวยผู้สอบได้สามอันดับแรกในการสอบจอหงวนที่พระที่นั่ง "เป่าเหอ" สามารถเดินออกประตูนี้ได้หนึ่งครั้ง ด้านข้าราชการฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋นต้องเดินเข้าออกประตูทิศตะวันออก ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ต้องเข้าออกประตูทิศตะวันตก
ประตู "เสินอู่เหมิน" เป็นประตูหลัง ในสมัยราชวงศ์หมิง เรียกว่าประตู "เฮียนบู๊" ตามชื่อของสัตว์สิริมงคลที่คอยเฝ้าทิศทั้งสี่ในสมัยโบราณของจีน ความเชื่อเดิมนั้นระบุว่า ซ้ายเช็งเล้ง หรือมังกรดำ ขวาแปะโฮ้ว หรือเสือขาว ด้านหน้าจูเจียก หรือหงษ์แดง ส่วนด้านหลังคือเฮียนบู๊ หรือเต่าเขียว เป็นผู้อาลักขาทิศเหนือ ด้วยเหตุนี้ ประตูทิศเหนือของพระราชวังในสมัยโบราณจีนส่วนใหญ่ตั้งชื่อว่า "เฮียนบู๊" ในรัชสมัยคังซีฮ่องเต้ เนื่องจากคำนี้มีเสียงพ้องกับชื่อของจักรพรรดิคังซี จึงเปลี่ยนชื่อเป็นประตู "เสินอู่เหมิน" ประตูแห่งนี้ก็เป็นประตูแบบมีพลับพลาอีกแห่งหนึ่ง สร้างเป็นหลังคาสองชั้นซึ่งมีระดับสูงสุดในสมัยโบราณของจีน แต่พระที่นั่งที่อยู่บนกำแพงมีความกว้างเพียงแค่ 5 ห้อง แถมไม่มีกำแพงยืดออกไปข้างๆ ด้วย จึงนับว่ามีระดับต่ำกว่าประตู "อู่เหมิน" ประตู "เสินอู่เหมิน" เป็นประตูที่ใช้เป็นประจำของพระราชวังต้องห้าม ปัจจุบันเป็นประตูใหญ่ของพิพิธภัณฑ์กู้กง
ประตู "ตงหวาเหมิน" และประตู "ซีหวาเหมิน" ตั้งอยู่ที่ปีกสองฝั่งของพระราชวังต้องห้าม หน้าประตู "ซีหวาเหมิน" มีหินที่เป็นสัญลักษณ์ว่าให้ลงม้า หลังประตูมี "แม่น้ำทอง" ไหลจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ และมีสะพานหินแห่งหนึ่ง จากสะพานไปทิศเหนือมีประตูเล็กอีกสามแห่ง ประตู "ตงหวาเหมิน" และ "ซีหวาเหมิน" เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน มีฐานสีแดง มีลายสลักรูปเขาพระสุเมรุทำด้วยหินอ่อนสีขาวสะอาด ในตอนกลางเปิดประตู 3 แห่ง มีกำแพงสองชั้น ชั้นนอกทรงสี่เหลี่ยม ชั้นในทรงกลม และบนกำแพงได้สร้างหอพลับพลาไว้ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองและหลังคาสองชั้น มีความกว้างเท่ากับห้อง 5 ห้อง ความลึกเ่ท่ากับห้อง 3 ห้อง ภายหลังจักรพรรดิสิ้นพระชนม์แล้ว ต้องส่งพระศพออกทางประตู "ตงหวาเหมิน" จึงเรียกแบบไม่สุภาพว่า "ประตูผี"
ภายในประตู "อู่เหมิน" มีลานที่กว้างใหญ่แห่งหนึ่ง และมีสะพานอยู่เหนือ "แม่น้ำทอง" ที่ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จากที่นี่ไปทางทิศเหนือก็มาถึงประตู "ไท่เหอเหมิน" สองข้างมีห้องพักของข้าราชการและระเบียง มีสะพานอยู่เหนือ "แ่ม่น้ำทอง" 5แห่ง ประกอบด้วยราวสะพานหินอ่อนสีขาว เสมือนสายหยก
Jiang/Dan