ภายใต้ภูมิหลังที่วิกฤติการเงินโลกลุกลามทั่วโลกเมื่อปี 2009 การผลิตธัญญาหารของจีนได้ผลเก็บเกี่ยวอย่างดียิ่ง นับเป็นปีที่ 6 ที่ปริมาณการผลิตธัญญาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายได้ของเกษตรกรดีกว่าที่คาดไว้ คาดว่า รายได้เฉลี่ยต่อคนสูงกว่า 5,000 หยวน เพิ่มขึ้นกว่า 6 % นายเคอ ปิ่ง เซิงอธิการบดีมหาวิทยาลัยการเกษตรจีนกล่าวว่า ผลงานนี้เกิดจากรัฐบาลเพิ่มการจัดสรรงบประมาณแก่ชนบทเมื่อหลายปีมานี้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงของราคาสินค้า และมีส่วนช่วยต่อกับการรับมือกับวิกฤตการเงิน เขากล่าวว่า
"ผมเห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการรับมือกับวิกฤตการเงิน และเป็นการประกันที่สำคัญมาก ถ้าปริมาณการผลิตธัญญาหารไม่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปี ตลาดเราก็ไม่ใช่อย่างนี้ในปัจจุบัน การสนองผลิตภัณฑ์การเกษตรก็ไม่ใช่อย่างนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นการทาท้ายอย่างหนัก"
ศาสตราจารย์เวินเถี่ยจุน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาชนบทและการเกษตรมหาวิทยาลัยประชาชนจีนกล่าวว่า บทบาทเบื้องต้นของภาคเกษตรกรรมและชนบทที่มีต่อความมั่นคงของเศรษฐกิจจีนไม่เพียงแสดงในด้านนี้ เมื่อต้นปี 2009 วิกฤตการเงินโลกทำให้แรงงานชนบทประมาณ 25 ล้านคนตกงาน ซึ่งถ้าเกิดที่ประเทศอื่น ๆ อาจทำให้สังคมวุ่นวาย แต่ที่จีนกลับไม่ค่อยมีปัญหา เหตุผลอยู่ที่ชนบท ศาสตราจารย์เวินเถี่ยจุนกล่าวว่า
"เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจปะทุขึ้น บริษัททั่วโลกได้รับผลกระทบ ที่จีนแม้ว่าบริษัทบางกลุ่มไม่ค่อยมีกำไร ตลอดจนล้มละลาย แต่แรงงานชนบทยังกลับภูมิลำเนาได้ เพราะในชนบทมีอาชีพหลายอย่างที่พัฒนาได้ดี ชาวนาเหล่านี้สามารถทำอาชีพอื่น ๆ ได้ ดังนั้น การพัฒนาการเกษตร ชนบท และชาวนาเป็นหนทางที่ช่วยให้จีนพัฒนาอย่างมั่นคง"
เมื่อไม่นานมานี้ ในที่ประชุมว่าด้วยชนบทของจีน รัฐบาลจีนเสนอให้ส่งเสริมการพัฒนาชนบท ภาคเกษตรกรรมและชาวนาต่อไป พร้อมทั้งเสนอประเด็นสำคัญ 5 ประการในการพัฒนาชนบทปี 2010 ซึ่งรวมถึงการประกันอุปทานผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ ขยายหนทางการหางานของเกษตรกร และผลักดันการพัฒนากิจการสาธารณะในชนบทต่อไป
ปัญหาเกษตรกรรม ชนบทและชาวนามีบทบาทสำคัญต่อจีนที่มองข้ามไม่ได้ ซึ่งต้องทุ่มเทและเร่งพัฒนาต่อไป