สำนักข่าวซินหวารายงานว่า ระหว่างการทำข่าวงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ ผู้สื่อข่าวพบว่า ประเทศต่างๆในอาเซียนไม่เพียงแต่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตนเท่านั้น หากยังตั้งความหวังที่จะดึงดูดวิสาหกิจจีนไปลงทุนด้วย
อินโดนีเซียได้ชื่อว่าเป็น "ประเทศพันเกาะ" เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ด้วย นางมารี เอก้า พันเกสตู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซียกล่าวในพิธีเปิดหอแสดงของอินโดนีเซียว่า ตลาดภายในประเทศนับวันมีความสมบูรณ์และมั่นคงยิ่งขึ้น สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมด้านการลงทุนก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น หวังว่า การเข้าร่วมงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ในครั้งนี้ จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย และระหว่างประเทศอื่นๆกับอินโดนีเซีย
ข้อมูลแนะนำสิ่งแวดล้อมทางการค้าที่เสนอโดยหอแสดงอินโดนีเซียระบุว่า จีนกับอินโดนีเซียมีส่วนเกื้อกูลกันสูงในด้านเศรษฐกิจและการค้า ทรัพยากรแร่ธาตุและผลิตผลการเกษตรในแถบร้อนของอินโดนีเซีย ล้วนเป็นสินค้าที่จีนต้องการนำเข้าเป็นจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ยาจีนและยาแผนปัจจุบัน รวมทั้งฝ้้ายที่จีนผลิต ก็มีตลาดที่กว้างใหญ่ในอินโดนีเซียเช่นกัน
ปัจจุบัน จีนกลายเป็นคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับ 4 ของอินโดนีเซียแล้ว มีวิสาหกิจจีนประมาณ 700 แห่งได้ลงทุนในอินโดนีเซีย กรณีที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น เมื่อปี 2009 กลุ่มบริษัท China Investment Corporation ได้ซื้อพันธบัตรที่มีวงเงิน 1900 ล้านดอลลาร์สหรัฐของบริษัท Bumi ซึ่งเป็นวิสหากิจผลิตถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย บริษัท Artha Graha จากกรุงจาการ์ตา เป็นสปอนเซอร์รายหนึ่งของหอแสดงอินโดนีเซีย คราวนี้ได้ตั้งบูธดึงดูดการลงทุนในหอแสดงด้วย ผู้จัดการบริษัทนี้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ทางบริษัทก็ได้ดำเนินความร่วมมือกับบริษัทเมล็ดพันธุ์ของมณฑลเสฉวน เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีข้าวนาดำพันธุ์ผสมของจีนในอินโดนีเซีย
ดาตุ๊อึง เยน เยน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งมาเลเซียกล่าวว่า งานเวิลด์เอ็กซ์โปเป็นเวทีประชาสัมพันที่ดี พวกเราอยากให้ประชาชนจีนได้ตระหนักว่า มาเลเซียไม่เพียงแต่มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามเท่านั้น หากยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนและทำการค้าอีกด้วย ขณะที่ผู้บริหารชั้นสูงของกรมการเงินและการลงทุนของมาเลเซียชี้ว่า เมื่อปี 2009 ประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีนได้เยือนมาเลเซีย รัฐบาลสองประเทศได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ตามข้อตกลงฉบับนี้ ต่อไป เราจะกระตุ้นความร่วมมือด้านการเงินระหว่างวิสาหกิจสองประเทศ เช่น ผลักดันให้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของกันและกัน
ที่หอแสดงของกัมพูชาในงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ นักท่องเที่ยวนอกจากมีโอกาสดูเมืองจำลองนครวัตแล้ว หากยังได้คู่มือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า "นโยบายการลงทุนในเขตเศรษฐกิจของเมืองท่าสีหนุ" ผู้เข้าชมจากกลุ่มบริษัทเหล็กและเหล็กกล้าเมืองอู่ฮั่นของจีนผู้หนึ่งกล่าวว่า คาดไม่ถึงว่ากัมพูชามีความปรารถนาที่จะดึงดูดการลงทุนแรงกล้าถึงขนาดนี้ คู่มือเล่มนี้นับเป็นสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์กัมพูชามากที่สุดในหอแสดงของกัมพูชา
Dai/feng