ภายในหอแสดงรวมขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ "เครือข่ายไม้ไผ่และหวายระหว่างประเทศ" ได้ตั้งซุ้มแสดงที่มีชื่อว่า "ไม้ไผ่และหวายกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม" เพื่อส่งเสริมการใช้ไม้่ไผ่และหวายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ประชาสัมพันธ์แนวคิดการดำรงชีวิตแบบคาร์บอนต่ำและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ไม้ไผ่กับหวายเป็นวัสดุสีเขียวคาร์บอนต่ำที่สามารถเกิดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เป็นไม้่ประดับตกแต่ง ใช้่ประโยชน์ในสิ่อปลูกสร้างได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีบทบาทมากในด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของทั่วโลก ซึ่งแนวคิดเหล่านี้กำลังได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกมากขึ้นทุกวัน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไม้ไผ่และหวายกับแนวคิด "คาร์บอนต่ำ" และ "การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" นั้น นายโหลว อีผิง ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการสิ่งแวดล้อมเครือข่ายไม้ไผ่และหวายระหว่างประเทศเล่าให้ฟังถึงวัตถุประสงค์ของการออกแบบซุ้มนี้ว่า
"ประการแรก ไผ่และหวายเป็นทรัพยากรสองชนิดที่เติบโตเร็วมาก และเกิดใหม่ได้เองตามธรรมชาติ ต้นไม้ต้นหนึ่งต้่องใช้เวลา 20 ถึง 30 ปีกว่าจะเติบโตขึ้น ส่วนไผ่ แค่ 3 ถึง 5 ปีก็สามารถตัดมาใช้ได้เลย ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ประกอบกับไผ่และหวายสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" ได้มากกว่าต้นไม้อีกหลายชนิด จึงมีบทบาทที่ดีกว่าในการชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพราะฉะนั้น พืชทั้งสองชนิดนี้จึงเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก มีคุณสมบัติพิเศษในการลดก๊าซคาำร์บอน ประการที่สอง ไผ่สามารถใช้่ประโยชน์ได้อย่างกว้่างขวาง และใช้แทนวัสดุมากมายหลายชนิดที่สิ้นเปลืองพลังงานมาก เช่น พลาสติก จึงสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนด้วยการใช้ไม้่ไผ่และหวาย"
นอกจากนี้ ไม้ไผ่และหวายยังได้่ชื่อว่าเป็น "ไม้ของคนยากจน" เป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์มากในด้านขจัดความยากจน ไม้ไผ่กับหวายนอกจากถูกนำมาใช้มากในเขตชนบทแล้ว ยังถูกนำมาใช้ผลิตเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทันสมัยอย่างแพร่หลายอีกด้วย มีทั้งเฟอร์นิเจอร์ เครื่องนุ่งห่ม ศิลปะหัตถกรรม และวัสดุตกแต่งบ้าน ความต้องการพืชสองชนิดนี้ที่มีมากขึ้นทุกวัน นำมาซึ่งโอกาสในการเพิ่มรายได้สำหรับประเทศกำลังพัฒนา นายโหลว อีผิงกล่าวว่า
"ที่สำคัญ ไม้ไผ่และหวายนั้น กระจัดกระจายอยู่ในทวีปเอเชีึย แอฟริกาและลาตินอเมริกา ฉะนั้น การพัฒนาทรัพยากรไม้ไผ่และหวายยังมีศักยภาพอีกมาก ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงต่อประเทศเอเชีย แอฟริกาและลาตินอเมริกา เพราะสามารถเพิ่มโอกาสการทำงานให้แก่ท้องถิ่นโดยตรงได้และมีส่วนช่วยต่อการขจัดความยากจน นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ผลิตเป็นสินค้าชนิดต่างๆ ที่สามารถส่งออกสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศได้"
เครือข่ายไม้ไผ่และหวายระหว่างประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1997 โดย 9 ประเทศ อาทิ จีน แคนาดา พม่า มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง นับเป็นหน่วยงานของรัฐบาลระหว่างประเทศที่ไม่หวังผลกำไรองค์การแรกที่จีนเป็นผู้ริเริ่ม องค์การนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไม้่ไผ่และหวายทั่วโลกโ่ดยผ่านการร่วมมือระหว่างประเทศ นำไปสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและขจัดความยากจน และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนขอไผ่และหวาย
นายโหลว อีผิง ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการสิ่งแวดล้อมเครือข่ายไม้ไผ่และหวายระหว่างประเทศเห็นว่า แนวคิดของเครือข่ายนี้สอดคล้องกับหัวข้อหลักของงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ เขากล่าวว่า
"เราไม่เพียงแต่สามารถปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองให้ดีขึ้นโดยผ่านผลิตภัณฑ์เท่านั้น หากยังสามารถปรับปรุงชีึวิตของชาวชนบทให้ดีขึ้นโดยผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ไผ่และหวาย จึงสอดคล้องกับหัวข้อหลักของงานเวิลด์เอ็กซ์โปครั้งนี้ เพราะ การพัฒนาอุตสาหกรรมไม้่ไผ่และหวายนั้นก็เพื่อทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเมืองและชนบทดีขึ้น ไม่เพียงแต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตด้่านวัตถุที่ดีเท่านั้น หากยังมีสิ่งแวดล้อมที่ดีอีกด้วย"
เท่าที่ทราบ ในงานเวิลด็เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ มีถึง 12 ประเทศที่ใช้ไม้ไผ่หรือหวายเป็นวัสดุสร้างหอแสดงแห่งชาิติ ปัจจุบัน ยอดมูลค้าการค้าไม้ไผ่และหวายระหว่างประเทศคิดเป็นเงิน 5 พันล้่านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาจำนวนไม่น้อย
In/Jiang