หอไต้หวันในงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2010 เซี่ยงไฮ้
หอไต้หวันในงานเวิลด์เอ็กซ์โป 2010 ที่นครเซี่ยงไฮ้ มีประเด็นหลักในการจัดงานว่า "ภูเขา ธารน้ำ หัวใจ และตะเกียง--ธรรมชาติ หัวใจ เมือง" ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นหลักของงานเวิลด์เอ็กซ์โปครั้งนี้ที่ว่า "เมื่องที่ดีกว่า ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น" ทั้งหอประกอบด้วยตัวอาคารรูปทรงภูเขา เวทีน้ำสำหรับการจุดตะเกียง ซึ่งเป็นตะเกียงแก้วขนาดยักษ์ และลูกโป่งซึ่งมีไส้หลอดประหยัดไฟ LED
หลี่ จู่หยวน สถาปนิกชาวไต้หวัน ผู้ออกแบบหอไต้หวัน
หอไต้หวันออกแบบโดยหลี่ จู่หยวน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงของไต้หวัน โดยนำเอาแนวคิดปรัญญาจีนที่ว่า "อู่สิง" หรือ "ห้าธาตุ" ได้แก่ โลหะ ไม้ น้ำ ไฟ และดิน มาใช้ในการออกแบบ โดยโครงสร้างเหล็กของตะเกียงเป็นสัญลักษณ์ของ "ธาตุโลหะ" เวทีขอพรที่ทำจากไม้เป็นสัญลักษณ์ของ "ธาตุไม้" สระน้ำที่ไหลวนโดยรอบเป็นสัญลักษณ์ของ "ธาตุน้ำ" ลูกโป่งซึ่งเป็นไส้ตะเกียงที่ส่องแสงสว่างเป็นสัญลักษณ์ของ "ธาตุไฟ" และอิฐปูพื้นซึ่งได้จากกรรมวิธีปั้นดินเผาของไต้หวันเป็นสัญลักษณ์ของ "ธาตุดิน"
ตะเกียง หอไต้หวัน
สิ่งที่น่ากล่าวถึงเป็นพิเศษคือ เวทีน้ำสำหรับการติดตั้งตะเกียง เพราะน้ำในสระน้ำส่งมาจากทะเลสาบรึเยว่ถาน หรือ ทะเลสาบสุริยัน-จันทรา ของไต้หวัน ส่วนก้อนหินที่ตั้งตระหง่านกลางสระน้ำส่งมาจากภูเขาอี้ว์ซาน หรือ ภูเขาหยก ของไต้หวัน เมื่อผู้ชมเข้าไปอธิฐานขอพรใต้ดวงตะเกียง ตะเกียงก็จะเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างตื่นตาตื่นใจ
ตะเกียงดังกล่าวได้แรงบันดาลใจมาจาก "ตะเกียงขงเบ้ง" สมัยสามก๊ก (ค.ศ.220-280) ตามประเพณีดั้งเดิมของประชาชนไต้หวัน ในงานมงคลใหญ่ๆ ทุกครั้ง ล้วนจะต้องประกอบพิธีขอพร ขอความสุข ความเจริญ และสันติโดยการปล่อยตะเกียงขงเบ้ง ดังนั้น จึงนำแนวคิดนี้มาถ่ายทอดให้ชาวเมืองเห็นถึงการชำระจิตใจให้สะอาด หวนกลับคืนสู่ธรรมชาติ และจากตะเกียงขงเบ้งนี้ ผู้ชมจะสามารถอธิฐานจิตด้วยกันเพื่อตนเอง เพื่อสังคม และเพื่อโลก อีกทั้งสื่อให้เห็นถึงจิตใจของชาวไต้หวันที่เต็มเปี่ยมด้วยเมตตากรุณา
ผู้บรรยายในหอไตหวันเล่าว่า ผู้ชมสามารถเลือกคำอวยพรจากจอ รูปทรงกลมขนาดยักษ์ได้ จากนั้นจุดตะเกียง ตะเกียงก็จะค่อยๆ ลอยขึ้นจากใต้จอ ส่วนผู้ชมก็จะพนมมืออธิฐานจิตอย่างเลื่อมใส
ดวงจันทร์เต็มดวงเหนือท้องฟ้าหอไต้หวัน
นายหวัง จื่อกาง ประธานกรรมการเวิลด์ เทรด เซนเตอร์ไทเประบุว่า คำอวยพรที่โหวตโดยชาวเน็ตสองฝั่งช่องแคบไต้หวันมีทั้งหมด 12 คำ เช่น "บ้านเมืองมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข" "โลกมีสันติภาพ" "ความรักกับสันติภาพ" และ "ท่องรอบโลก" ส่วนการจุดตะเกียงขอพรนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมมีที่พึ่งทางใจและมีความอิ่มบริบูรณ์ทางจิต และสมความปรารถนาทุกประการ
นายหวัง จื้อกาง (ขวา) มอบรางวัลแก่ผู้ชมหอไต้หวันรายที่ 300,000 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2010
ที่บริเวณชั้นหนึ่งของหอไต้หวัน มีการจัดแสดง "ชีวิตในยามฤดูร้อนใต้ต้นไทร" แบบชนบทๆ "ต้นไทร" ต้นนี้สานจากเส้นไม้ไผ่ ขนาดใหญ่และแผ่รัศมีเป็นพื้นที่กว้าง เมื่อเดินลอดต้นไทร จะสัมผัสถึงความเย็นชื่นฉ่ำในหน้าร้อน ผู้ชมจะสามารถนั่งลงบนม้านั่งไม้ จิบชาจากขุนเขาสูงของไต้หวัน ชมการแสดงศิลปะการชงชาแบบไต้หวันที่วิจิตรประณีต และฟังทำนองเพลงกู่เจิ้งที่ใสกังวาน ให้อารมณ์ที่แสนสุขสบาย
นายหวัง จื้อกาง สรุปให้ฟังว่า การแสดงต่างๆ ในหอไต้หวัน ทั้งตะเกียงขอพร ศิลปะการชงชา และชีวิตแบบชนบท เป็นต้น สื่อนัยแห่งวัฒนธรรมดั้งเดิมมากมาย ซึ่งจะช่วยให้หัวใจของประชาชนสองฝั่งช่องแคบไต้หวันใกล้ชิดยิ่งขึ้น และมีความรู้สึกร่วมกันมากขึ้น
นอกจากนี้ เขายังระบุว่า คำว่า "เมืองที่ดีกว่า ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น" (Better City, Better Life) ไม่ได้หมายความว่าเมือง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสมบัติพัสถาน จะสามารถเติมแต่งจิตใจของผู้คนให้เต็มอิ่มได้ อีกทั้งไม่ได้หมายความว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกินควรจะยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นอีกขั้นหนึ่งได้ การตั้งฉากเวทีพบปะสังสรรแบบชนบทๆ ในหอไต้หวัน นับเป็นการกลับคืนสู่ความเรียบง่ายและความเป็นจริง และทำให้ผู้คนฉุกคิดได้ถึงความทรงจำในชนบทที่นับวันเลือนลางหายไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สวยงามยิ่ง อย่างไรก็ตาม เราควรสืบสานวัฒนธรรมประชาชาติจีนที่ดีงาม และนี่ก็คือแนวคิดเบื้องต้นในการออกแบบหอไต้หวัน
เขายังระบุว่า หากสองฝั่งฯ สามารถเพิ่มความร่วมมือด้านวัฒนธรรมได้ ก็จะสามารถหลอมรวมเอกลักษณ์ของจีนให้เข้มแข็งเกรียงไกรยิ่งๆ ขึ้นแน่นอน
Michelle Yeoh ดาราภาพยนตร์ชาวมาเลเซียที่มีชือเสียงชมหอไต้หวันเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2010
(Ton/LING)