"เทียนกง 1" (天宫一号,Tian'gong 1)
  2010-11-29 19:26:46  cri

 แบบจำลองยานอวกาศ "เทียนกง 1" (天宫一号,Tian'gong 1)

ยานอวกาศ "เทียนกง 1" (天宫一号,Tian'gong 1) เป็นชื่อของห้องแล็บทางอวกาศแห่งแรกของจีน ซึ่งมีกำหนดการส่งขึ้นสู่ท้องฟ้าก่อนปลายปี 2011

ทั้งนี้เป็นการดำเนินการตามโครงการการบินอวกาศของจีน ซึ่งมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนที่ 1 การส่งยานอวกาศพร้อมมนุษย์ขึ้นสู่ท้องฟ้า เช่น ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ "เสินโจว 5" และ "เสินโจว 6" ขั้นตอนที่ 2 เปิดห้องแล็บในอวกาศ และขั้นตอนที่ 3 คือ สร้างสถานีอวกาศ

ยานอวกาศ "เทียนกง 1" (天宫一号,Tian'gong 1)

ส่วนชื่อของ "เทียนกง 1" นี้จะทำให้ผู้คนนึกไปถึงเรื่องซึงหงอคง หรือ เห้งเจีย อาละวาดบนสวรรค์ ใน "ไซอิ๋ว" วรรณคดีโบราณของจีน คำว่า "เทียนกง" ความหมายว่า "พระราชวังบนสวรรค์" เป็นชื่อเรียกทั่วๆ ไปสำหรับห้วงอวกาศ ฉะนั้น จีนจึงตั้งชื่อสถานีอวกาศในอนาคตว่า "เทียนกง" (天宫) ส่วนยานอวกาศนี้จึงได้ชื่อว่า "เทียนกง 1" โดยจะสร้างให้เป็นห้องแล็บอวกาศขนาดย่อม

ก่อนหน้านี้ จีนได้ยิงส่งยานอวกาศพร้อมมนุษย์ "เสินโจว 7" ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อปี 2008 โดยนักบินอวกาศได้เดินในห้วงอวกาศเป็นครั้งแรกด้วความสำเร็จ หลังจากยิงส่ง "เทียนกง 1" ก่อนปี 2011 แล้ว จีนจะยิงส่ง "เสินโจว 8" "เสินโจว 9" และ "เสินโจว 10" ตามลำดับในระยะเวลา 2 ปี โดยจะให้ประกอบเข้ากับ "เทียนกง 1" ในอวกาศตามลำดับ เพื่อทดสอบขีดความสามารถของนักบินอวกาศในการทำการทดลองทางอวกาศและความพร้อมทางเทคโนโลยีในการประกอบเข้ากับห้องแล็บในอวกาศ ก่อนจะดำเนินโครงการการบินอวกาศในขั้นตอนที่ 3 คือ สร้างสถานีอวกาศ

ห้องแล็บในอวกาศ

ยานอวกาศ "เทียนกง 1" มีน้ำหนัก 8 ตัน จัดเป็นห้องแล็บในอวกาศขนาดจิ๋ว ทั้งลำประกอบด้วย 2 ห้อง ได้แก่ ห้องทดลองกับห้องควบคุม ห้องทดลองจะใช้เป็นห้องของนักบินอวกาศ ทั้งในการทำงานและใช้ชีวิตในช่วงโคจรอยู่ในอวกาศ ส่วนห้องควบคุมจะกำหนดแรงขับเคลื่อนและพลังงานขณะโคจรอยู่ในห้วงอวกาศ โดยยานอวกาศลำนี้จะมีอายุการใช้งาน 2 ปี

ก่อนปี 2015 จีนจะยิงส่งห้องแล็บในอวกาศอีก 2 ห้อง ได้แก่ "เทียนกง 2" "เทียนกง 3" ตามลำดับ

ยานอวกาศ "เทียนกง 1" (天宫一号,Tian'gong 1)

เทคโนโลยีสำคัญในการสร้างสถานีอวกาศคือ "การบรรจบและการประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศ" "การบรรจบกัน" คือ ให้ยานอวกาศ 2 ลำหรือมากกว่า 2 ลำปรับวงโคจรให้เข้าสู่ตำแหน่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน ส่วน "การประกอบเข้ากัน" คือ ให้ยานอวกาศ 2 ลำที่บรรจบกันแล้วประกอบเป็นลำเดียวกัน เทคโนโลยีนี้มีความยากลำบากมาก เพราะว่า ยานอวกาศ 2 ลำต่างโคจรด้วยความเร็วสูงในอัตรากว่า 28,000 กิโลมตรต่อชั่วโมง ถ้าหากคำนวณไม่ถูกต้อง ก็อาจจะเกิดเหตุยานอวกาศพุ่งชนกันได้

สำหรับการยิงส่ง "เทียนกง 1" นั้น ใช้จรวดลองมาร์ช 2 เอฟ ซึ่งมีการปรับปรุงเทคโนโลยีเกือบ 170 รายการ มีความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อเทียบกับจรวดที่ใช้ยิงส่งก่อนหน้านี้

(Ton/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040