สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ผมชื่อ "ไหป่าว" เป็นมาสคอตงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ 2010 วันนี้ผมขอนำท่านไปชมหอแสดงของประเทศอาเซียนที่มีเอกลักษณ์เพื่อสัมผัสมนต์เสน่ห์พิเศษของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การออกแบบของหอแสดงของ 10 ประเทศอาเซียนต่างก็มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและลักษณะของสังคมประเทศนั้นๆ
ก่อนอื่น ไหป่าวจะพาท่านไปชมหอแสดงของประเทศไทยหรือศาลาไทยซึ่งเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมไทย เมื่อมองจากที่ไกลก็จะรู้สึกสะดุดตามาก โดยมีประเด็นการออกแบบและก่อสร้างที่ว่า "เอกลักษณ์ไทย วิถีแห่งความยั่งยืนของชีวิต" แสดงถึงความอบอุ่นและเอื้ออารีของคนไทยซึ่งภายในศาลาไทยมีนิทรรศการและการแสดงศิลปะที่ยอดเยี่ยมเพื่อแสดงความเจริญก้าวหน้าในทั่วทุกด้านของไทยต่อผู้ชมทั่วโลก ซึ่งสรุปเนื้อหาสำคัญของนิทรรศการและการแสดงศิลปะได้สองคำคือ "ความสมานฉันท์และการผสมผสาน" เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา งานเวิลด์เ็อ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ 2010 ออนไลน์ได้เปิดเผยข้อมูลการแสดงนิทรรศการและการแสดงศิลปะที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้ชมเป็นครั้งแรก ซึ่งศาลาไทย ได้เปิดแสดงแบบสามมิติให้ชมเป็นแห่งแรกของบรรดาหอแสดงในงานเวิล์ดเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ 2010 ออนไลน์
เมื่อสัมผัสกับหอแสดงไทยแล้วเรามาต่อกันที่หอแสดงอินโดนีเซีย ซึ่งมีประเด็นที่ว่า"ภาวะนิเวศของอินโดนีเซีย เมืองแห่งความหลากหลาย" ส่วนยอดของหอแสดงอินโดนีเซียมีกอไผ่ทะลุกำแพงโผล่ออกมา ต้นไผ่นั้นอากาศซึมผ่านง่ายและมีความยืดหยุ่นดี เป็นสัญลักษณ์การผสมผสานวิถีชีวิตแบบโบราณและแบบทันสมัยของอินโดนีเซีย ทั้งสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชาวอินโดนีเซียอีกด้วย
สถานที่ต่อมาคือหอแสดงสิงคโปร์ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลาไทย ประเด็นและแนวความคิดการออกแบบของหอแสดงสิงคโปร์คือ "บรรเลงเพลงซิมโฟนีแห่งเมืองที่ไพเราะ" รูปร่างของหอแสดงสิงคโปร์ดูเหมือนกล่องดนตรีที่ประณีตสวยงามขนาดใหญ่ หลังคาค้ำไว้ด้วยเสา 4 ต้น มีความหมายถึงเผ่าชนต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ในประเทศสิงคโปร์
ถัดมาคือหอแสดงมาเลเซียซึ่งมีประเด็นว่า "ชีวิตเมืองที่สมานฉันท์ มาเลเซียที่ปรองดอง" ก่อสร้างขึ้นด้วยวัสดุก่อสร้างที่ใช้หมุนเวียนได้เช่น ไม้ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เน้นการแสดงมนต์เสน่ห์ที่มีเอกลักษณ์และจิตใจสามัคคีของประชาชาติมาเลเซีย การออกแบบของหอแสดงมาเลเซียนำเอาแนวคิดมาจากบ้านยาวของมาเลเซีย
หอแสดงบรูไนยึดหลักการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ที่ว่า
"เมืองทำให้ชีวิตดีงามยิ่งขึ้น" มีพื้นที่ 1000 ตารางเมตร แสดงระบบการศึกษาและ เศรษฐกิจที่หลากหลายและแนวความคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบรูไน เชื่อว่าหอแสดงบรูไนที่รวมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทันสมัยและอารยธรรมที่มีเอกลักษณ์เข้าไว้ด้วยกันจะทำให้ผู้เข้าชมประทับใจมาก
หอแสดงฟิลิปปินส์มีพื้นที่ 2000 ตารางเมตร มีประเด็นที่ว่า
"แนะนำเมือง" แสดงความเป็นมนุษย์ในเมือง การพัฒนาอย่างยั่งยืนและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานกับความเป็นจีนและนำเสนอด้วยแอนิเมชั่น
ส่วน "เมืองมนต์เสน่ห์ หลวงพระบาง" เป็นประเด็นของหอแสดงลาวที่มีพื้นที่ 324 ตารางเมตร โดจะแนะนำสภาพคร่าวๆ ของลาว ความร่วมมือระหว่างจีนกับลาว และข้อมูลสำหรับการท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบาง
หอแสดงเวียดนามมีพื้นที่ 1000 ตารางเมตร ประเด็นคือ "นครทางลองพันปี-ฮานอย" ทางลองเป็นชื่อเรียกในอดีตของเมืองฮานอย ปีนี้เป็นปีครบรอบ 1000 ปีของการก่อตั้งเมืองฮานอย เวียดนามจึงอยากจะแสดงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีมาช้านานของฮานอยและเวียดนามในงานเวิล์ดเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ครั้งนี้
ส่วนเมียนมาร์และกัมพูชาไม่มีหอแสดงของประเทศตน โดยจะเช่าพื้นที่ในหอแสดงร่วมกับประเทศอื่น จุดที่น่าสนใจของการแสดงงานของกัมพูชาอยู่ที่หนทางการพัฒนาที่หลากหลายในวิวัฒนาการประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมเมือง แสดงถึงกัมพูชาที่มีทั้งอารยธรรมโบราณและเมืองทันสมัย สำหรับสถานที่แสดงงานของเมียนม่าร์ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เชื่อว่าจะนำความประทับใจมาให้กับผู้เข้าชมเหมือนกันอย่างแน่นอน
เอาละครับท่านผู้ฟัง ในท้ายรายการนี้ ผม "ไหป่าว" จะเสนอคำถามของวันนี้นะครับ หนึ่ง 10 ประเทศอาเซียนมาเข้าร่วมงานเวิล์ดเอ็กซ์โปเซี่ยงไฮ้ 2010 ครบหรือไม่ สอง ประเทศแรกที่เปิด หอแสดงงานเวิล์ดเอ็กซ์โปออนไลน์คือประเทศไหน
Jiang/Dan