อิน: สวัสดีคะ ท่านผู้ชมคะ วันนี้ ในโอกาสครบรอบ 60 ปีภาคภาษาไทยซีอาร์ไอ เราได้รับเกียรติจากท่านผู้อาวุโส ซึ่งเคยปฏิบัติงานในภาคภาษาไทยซี.อาร์.ไอ.มาพูดคุยกัน ย้อนหลังในอดีต ในช่วงวันวานของภาคภาษาไทยว่า มีการทำหน่าที่อย่างไรบ้าง ขอเริ่มจากท่านแรก คุณหงเค่อหนัน อดีตหัวหน้าภาคภาษาไทย แล้วก็ทราบมาว่า ท่านเกิดที่เมืองไทยด้วย สวัสดีคะ คุณหงเคื่อหนันคะ
หง: สวัสดีครับ
อิน: ขอความกรุณาให้เล่านิดหนึ่งนะคะ ทราบมาว่าท่านเกิดที่เมืองไทยและอยู่ที่เมืองไทยจนอายุกี่ปีจึงเดินทางมาที่จีนค่ะ
หง: ผมเกิดที่ ย่าโม อายุ 20 ก็มาเมืองจีน แล้วเข้าทำงานในวิทยุเมื่อปี 1954 ก่อนนี้ ผมทำงานที่กวางตุ้ง แล้วปี 54 ได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยุ เข้าวิทยุก็เป็นโฆษก จนกระทั่งถึงปี 1989 เกษียณ ช่วงนั้น วิทยุของเรา เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ยังล้าสมัย ตอนที่ผมเป็นโฆษกอยู่นั้น ต้องอ่านข่าวโดยตรง ไม่ใช่อัดเทป ห้องออกอากาศไม่มีแอร์ ทึบไปหมดเลย ใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ๆให้ความเย็น โฆษกสมัยนั้น เวลาอ่านข่าวยังต้องคุมสวิตซ์เปิดปิดเองและต้องวางแผ่นเสียงด้วย ทำทุกอย่าง สมัยนั้นไม่เหมือนสมัยนี้ ที่ทันสมัยแล้ว
อิน: ต้อนนั้นที่เราทำหน้าที่ที่ภาคภาษาไทยซีอาร์ไอนั้น ท่านทำหน้าที่ทั้งด้านการสัมภาษณ์ การสื่อข่าว การรายงานข่าวและการจัดรายการ
หง: ครับ ทุกคนก็ทำอย่างนั้น ไม่ใช่เฉพาะผมคนเดียว เป็นทั้งอ่านข่าว แปลข่าวล่ามและผู้สื่อข่าว แล้วแต่ความต้องการ
อิน: ในส่วนของการทำงานที่ผ่านมา ความประทับใจจากการทำงาน อย่างเช่นในการสัมภาษณ์ เมื่อสัมภาษณ์ผู้หลักผู้ใหญ่ รวมทั้งพระราชวงศ์ของไทยด้วย ขอให้เล่าสักนิดหนึ่งได้ไหมคะ
หง: ผมไม่เคยสัมภาษณ์ราชวงศ์ไทย เพียงแต่เคยเข้าเฝ้าฯ ตอนนั้น คณะงิ้วไหหลำได้รับเชิญให้ไปแสดงที่เมืองไทย ทางวิทยุก็ส่งผมไปทำข่าวไปด้วย เสร็จแล้ว ตอนสุดท้ายก็เข้าเฝ้าถวายเงินให้กับมูลนิธิของสมเด็จพระเทพฯ ท่านรองนายกบุญชูฯก็นำหัวหน้าคณะและกรรมการสมาคมไหหลำที่เมืองไทยเข้าเฝ้าฯ
อิน: ขณะท่านกำลังทำงานก็เป็นชั่วที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างจีนไทยเมื่อ 35 ปีที่แล้ว ท่านได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนี้อย่างไรบ้างคะ
หง: ผมมีส่วนเกี่ยวข้องก็ตอนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบครอบ 10 ปี ผมไปทำข่าวที่เมืองไทย แล้วได้เข้าสัมภาษณ์ผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน พลเอกชาติชายชุณหวัณรวมทั้งท่านชาติชาย ท่านสิทธิ เศวตศิลารัฐมนตรีต่างประเทศสมัยนั้น และหม่องราชวงค์ คึกฤทธิ์ฯ แล้วก็พวกด้านสื่อมวลชน พวกไทยรัฐ พวกมติชนและหลายท่าน เมื่อปี 1985
อิน: เมื่อพูดถึง ซีอาร์ไอในปัจจุบันทำหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสองประเทศ ในความคิดเห็นของท่านที่ทำงานกับภาคภาษาไทยเป็นเวลานาน ท่านมองว่า ซีอาร์ไอได้มีบทบาทตรงนี้มากน้อยแค่ไหนคะ
หง: มีบทบาทมาก คือ ได้ส่งเสริมความเข้าใจกันระหว่างไทยจีน สมัยก่อนเรายังไม่ค่อยมีความเข้าใจนะ เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้ดูหนังเกี่ยวกับการประชุมบันดุงซึ่งเพิ่งถ่ายเสร็จและออกอากาศเมื่อเร็วๆนี้ ผมดูทางทีวี สมัยนั้น ท่านนายกโจวไปประชุม ทางไทยก็มีพระองค์เจ้าวรรณไปประชุม ขณะเริ่มประชุม พระองค์ได้เล่าถึงเรื่องสิบสองบันนา สมัยนั้นมีการยุแหย่กัน มีการเกิดการเข้าใจผิดกัน แล้วพอเสร็จประชุม พระองค์เจ้าวรรณเข้าใจ ท่านกับนายกโจวก็พูดคุยกันอย่างดี ฉะนั้น ในด้านการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความเข้าใจระหว่างจีนไทยนั้น ซีอาร์ไอจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
อิน: ทราบมาว่า ท่านยังรับฟังข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับเรื่องจีนไทยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เป็นไงบ้างคะ
หง: ผมเกิดที่เมืองไทย และเข้ามารับราชการที่เมืองจีน ก็พยายามที่จะส่งเสริมความเข้าใจและความสันพัมธ์อันดีระหว่างจีนไทย ในสมัยก่อนก็กล่าวว่า จีนไทยไม่ใช่อื่นไกล พี่น้องกัน
อิน: สมัยนี้ก็เป็นอย่างนี้
หง: ต่อไปก็คงจะเป็นอย่างนี้นะผมคิดว่า
อิน: ในท้ายที่สุด ท่านหงเคื่อหนัน อดีตหัวหน้าภาคภาษาไทยจะกรุณาฝากอะไรถึงท่านผู้ฟังที่เป็นแฟนรายการของซีอาร์ไอ
หง: ขอให้รับฟังซีอาร์ไอเป็นประจำ และมีข้อคิดเห็นอะไรก็ช่วยบอกมาด้วย เพื่อปรับรายการของเราและทำให้รายการของเรามีคุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะ เดี๋ยวนี้ได้มีอาจารย์จากไทยทั้งสามท่านมาช่วยงาน ผมคิดว่า รายการของซีอาร์ไอจะเป็นที่ถูกใจของประชาชนผู้ฟังชาวไทยมากขึ้น ขอบคุณมาก
อิน: ขอบพระคุณมาก