ย้อนอดีตภาคภาษาไทยกับนายหม่า ชิ่งสง
  2010-04-27 18:48:54  cri

อิน: วันนี้ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความกรุณาจากท่านหม่า ชิ่งสง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติจีน มาพูดคุยในวันนี้ สมัยเป็นหนุ่ม ท่่านหม่าเคยอยู่เมืองไทยมาก่อน แล้วค่อยกลับมาอยู่ในเมืองจีน แล้วก็เคยทำงานที่ซีอาร์ไอภาคภาษาไทยช่วงหนึ่ง ขอให้ท่านเล่าถึงสภาพการทำงานของท่านที่ภาคภาษาไทย สิ่งแวดล้อมการทำงานสมัยนั้นเป็นอย่างไรคะ

หม่า: ซีอาร์ไอภาคภาษาไทยนับว่าเป็นบ้านเก่าของผม ผมเข้ามาทำงานเมื่อค:ศ:1951 แต่ก็ยังไม่ใช่พนักงานที่มีอาวุโสมากที่สุด เพราะคุณจง เจี้ยนเซิงมาก่อนผมอีกครับ

อิน: ในช่วงที่ท่านเข้ามาเมื่อปี 1951 นะคะ ซึ่งหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนแค่เพียง 2 ปีเท่านั้นเนี่ย การทำงานในช่วงนั้นเป็นยังไงบ้างคะเมื่อเทียบเคียงกับเมื่อมีการเปิดประเทศแล้วค่ะ

หม่า:สิ่งแวดล้อมการทำงานสมัยนั้น ห่างกันกับของปัจจุบันราวฟ้ากับดิน ไม่มีเครื่องพิมพ์ให้ใช้ ข่าวต้องใช้มือเขียนเอง ข้อมูลอ้างอิงต่างๆก็มีน้อยมาก พจนานุกรมก็มีเพียง 2 เล่มที่เพื่อนๆเอามาจากเมืองไทย เมื่อปี 1954 ภาคภาษาไทยได้รับเครื่องพิมพ์ภาษาไทยที่นำเข้าจากอิตาลี แต่เสียดายมีเพียงเครื่องหนึ่งเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ภาคภาษาไทยเริ่มทำงานด้วยเครื่องพิมพ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

อิน: จากการที่ท่านทำงานที่ภาคภาษาไทยมามีความประทับใจอย่างไรบ้าง

หม่า: เพื่อนร่วมงานที่ภาคภาษาไทย หลายคนรู้จักกันมาก่อนที่เมืองไทย ทุกคนถือเมืองไทยเป็นบ้านเกิดที่ 2 ของตน มีความรักความผูกพันกับประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง จึงมีความกระตือรื้อร้นสูงต่อการทำงานครับ

อิน: อยากจะขอความกรุณาให้ท่านเล่าถึงการบุกเบิกภาคภาษาไทยจนกระทั่งมีคนไทยฟังจำนวนมากในประเทศไทยแม้แต่คนไทยที่อยู่ในจีนก็รู้ข้อมูลข่าวสารของเมืองไทยและของจีนจากซีอาร์ไอด้วยนะค่ะ

หม่า: ผมเคยทำงานที่ภาคภาษาไทยนานประมาณ 10 ปี โดยที่มีความต้องการที่ไปช่วยพัฒนารายการวิทยุของภาคภาษาอื่นๆ เมื่อปี 1960 ผมถูกย้ายออกจากภาคภาษาไทย ต่อมา ผมก็ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานนีวิทยุซีอาร์ไอ ในที่สุดขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติจีน

อิน: ในฐานะที่ท่านเป็่นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติจีน อยากจะขอความกรุณาให้ท่านเล่าถึงการให้ความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับต่างประเทศของรัฐบาลจีนโดยผ่านวิทยุ ภาพยนตร์หรือว่าโทรทัศน์ค่ะ

หม่า: เมื่อเีริ่มเข้าทำงานในเครือข่ายวิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์ ผู้บริหารชั้นสูงก็สั่งสอนมาโดยตลอดว่า ให้พวกเราใช้ประโยชน์จากเสียงวิทยุและภาพโทรทัศน์อย่างเต็มที่ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วโลกมีความเข้าใจต่อประเทศจีนเพิ่มขึ้น เสริมสร้างมิตรภาพระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ

อิน: ล่วงเลยมาจนถึงเวลานี้แล้ว ท่านคิดว่า การที่รัฐบาลจีนมุ่งใช้สื่อต่าง ๆ ในการสร้างความเข้าใจกับทั่วโลก ซีอาร์ไอได้ดำเนินบทบาทอย่างนั้นและก็เกิดผลในการสร้างความเข้าใจกับผู้คนมากน้อยขนาดไหนในทัศนะของท่าน

หมา: ผมคิดว่า การส่งข้อมูลข่าวสารผ่านสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ ค่อนข้างรวดเร็ว สามารถแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนจีนได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยการรายงานของผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติ สถานีวิทยุซีอาร์ไอทำหน้าที่เสมือนสะพานกลางท้องฟ้าที่เชื่อมโยงประชาชนจีนกับประชาชนทั่วโลก

อิน: ช่วงสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-จีน ตอนนั้นท่านทำหน้าที่อยู่ส่วนตรงไหนแล้วก็มีส่วนเกี่ยวข้องยังไง

หม่า: ผมได้ทำงานในบางส่วน แต่ไม่มากเท่าไร สิ่งที่น่าเอ่ยถึงคือ ตั้งแต่ซีอาร์ไอภาคภาษาไทยก่อตั้งขึ้นและเริ่มดำเนินการ ก็ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากเพื่อนๆชาวไทยจำนวนหนึ่ง ผมขอยกตัวอย่าง สมัยทศวรรษ 1950 ประเทศจีนกับประเทศไทยยังไม่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนสองประเทศจึงค่อนข้างน้อย รายการวิทยุภาษาไทยของเรามีบทบาทสำคัญในงานด้านนี้ มีส่วนช่วยให้ชาวไทยที่เป็นมิตรกับจีนไม่น้อยจัดคณะมาเยือนจีน ที่ประทับใจผมลึกซึ้งที่สุดคือ คณะผู้แทนพรรคการเมืองและคณะผู้แทนพระภิกษุนานาชาติ แล้วคณะผู้แทนดาราภาพยนตร์และโทรทัศน์ก็เดินทางมาแสดงที่ประเทศจีน พวกเขาได้ถ่ายทอดศิลปะไทยให้ผู้ชมชาวจีนชมและได้รับการชื่นชมในระดับสูง เวลานั้น ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้สัมภาษณ์ศิลปินเหล่านี้ รายการของเราก็ได้ติดตามกิจกรรมของพวกเขาในประเทศจีนโดยตลอด หนังสือพิมพ์ของไทยหลายฉบับก็ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับคณะผู้แทนดาราไทยในการเยือนประเทศจีนในคราวนั้น

อิน: ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งชาติจีน ในฐานะผู้กำกับนโยบาย ท่านคิดว่า สถานีวิทยุซีอาร์ไอมีบทบาทต่อการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศอย่างไร แค่ไหน

หม่า: หลังจากผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยุ ภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งประเทศจีน ครั้งแรกที่ผมเดินทางไปต่างประเทศก็คือไปประเทศไทย รู้จักเพื่อนไทยเป็นจำนวนมาก และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ผมมักจะติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ ผมเยือนประเทศไทยมาหลายครั้งโดยมีการเยือนอย่างเป็นทางการสองครั้ง รู้สึกว่า ประชาชนไทยมีความผูกพันกับประชาชนจีนอย่างลึกซึ้ง การที่มิตรภาพจีน-ไทยพัฒนาถึงปัจจุบัน แยกไม่ออกจากความพยายามของเพื่อนจากวงการต่าง ๆ แม้ว่า ตอนนี้ผมเกษียณแล้ว แต่ผมยังคิดถึงเพื่อนเหล่านี้อยู่

อิน: ยังมีการติดต่อ สือสาร ไปมาหาสู่กันไหมคะ

หม่า: ยังมีครับ แต่ไม่มากเท่าไร ก็คือเมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ ผมกับเพื่อนๆชาวไทยบางคนจะส่งส:ค:ส:อวยพรปีใหม่ซึ่งกันและกันครับ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040