อิน: สวัสดีคะ ท่านผู้ฟัง ถ้าพูดถึงโฆษกของสถานีวิทยุกระจายเสียงปักกิ่งหรือสถานีวิทยุซีอาร์ไอในปัจจุบันนี้ ท่านผู้ฟังที่เป็นแฟนรายการหลายท่านคงจะคุ้นเคยกับโฆษกเสียงหวาน อาจจะได้เคยติดตามข้อมูลข่าวสารที่หนังสือพิมพ์ไทยได้ลงเผยแพร่เกี่ยวกับเรื่องของโฆษกวิทยุปักกิ่งภาคภาษาไทย คุณวงหุ้ยนะคะ วันนี้ เรามาย้อนอดีตกับคุณวง หุ้ยเกี่ยวกับเรื่องการทำงานที่ภาคภาษาไทยซีอาร์ไำอ สวัสดีค่ะ ทราบมาว่าคุณวง หุ้ยเกิดที่เมืองไทยใ่ช่ไหมคะ
วง: ใช่ค่ะ กลับมาเมืองจีนพ.ศ.2500 ค่ะ แล้วก็เรียนหนังสือแล้วก็ทำงานที่กวางโจว ย้ายเข้ามาที่ปักกิ่ง เริ่มทำงานที่วิทยุปักกิ่งก็ตั้งแต่ 1964 ถึง 1989 ค่ะ 25 ปีเต็ม
อิน: 25 ปีเต็มที่ซีอาร์ไอนอกจากเป็นโฆษกแล้วยังทำหน้าที่อะไรบ้างคะ
วง:คือช่วงนั้นไม่แยกเลยว่าใครทำอะไร คือเป็นทั้งผู้สื่อข่าวด้วย ก็เป็นทั้งล่ามด้วย อัดเสียงด้วย คือทุกอย่างต้องทำเอง ทุกคนจะต้องเป็นทั้งนั้นนะคะ ไม่ใช่เฉพาะดิฉันคนเดียว ทุกคนเป็นหมด บางทีเป็นบก.ด้วย ทำทุกอย่าง
อิน:ในส่วนของการทำงานที่ภาคภาษาไทยซีอาร์ไอ ส่วนที่สร้างความประทับใจอย่างมากอย่างเช่นเรื่องของการสื่อข่าวหรือการทำข่าว ข่าวไหนที่มีความรู้สึกว่า ทำแล้วเราประทับใจ หรือเหตุการณ์ไหนบ้างนะคะ
วง:อยู่ที่วิทยุปักกิ่งเนี่ยนะคะ ที่สำคัญก็คือเป็นโฆษก เป็นผู้อ่านข่าว เวลามีเหตุการณ์อะไร ก็จะส่งไปเป็นผู้สื่อข่าวบ้าง อย่างเช่นฟ้าชายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารเสด็จมา ดิฉันก็ได้รับพระราชทานเข้าสัมภาษณ์ที่สถานทูตไทยในปักกิ่ง แล้วพอสัมภาษณ์เสร็จ ต้องเอาเสียงของฟ้าชายในการสัมภาษณ์ออกอากาศ มาแปลเป็นภาษาจีน แล้วก็ให้สำนักข่าวต่างๆ
อิน:ก็คือให้เขาเอาไปเผยแพร่ต่อ
วง:ใช่ค่ะ
อิน:แม้แต่ในภาคภาษาอื่นของซีอาร์ไอ ก็ดึงข่าวนี้ ไปเผยแพร่เป็นภาคภาษานั้นๆด้วย
วง:ใช่ค่ะ เพราะว่าตอนนั้นดิฉันได้ตามเสด็จในช่วงอยู่ในปักกิ่ง เวลาเสด็จไปเยือนกู้กง พระราชวังโบราณ หรือไปกำแพงเมืองจีน ดิฉันก็เดินตามอยู่ข้างหลัง ถือกล้องอัดเสียง เวลาพระองค์พูดอะไรก็รีบอัด ตอนนั้น ไม่ทันสมัยเท่าเดี๋ยวนี้ ที่อัดเสียงก็ใหญ่กว่านี้ ทีนี้ พี่ชายที่อยู่ในเมืองไทยพอเห็นภาพก็บอกว่า วันนั้นนะ ดูจากโทรทัศน์ หนูใช่หรือเปล่า ที่ถือเครื่องบันทึกเสียงตามเสด็จอยู่ข้างหลังใช่ไหม ใช่ คือตอนที่มาปักกิ่งใหม่ๆ เพราะว่าตอนกลับมาอายุ 18 พอมาจากกวางโจวก็เป็นอาจารย์สอนภาษาจีนที่นั่น ภาษาไทยลืมเกือบหมดแล้ว มาแปลครั้งแรก ข่าวสั้นๆ แปลไม่ถูกเลย ตอนนี้นึกถึงตอนนั้นรู้สึกขำ แปลได้ไม่ดีเลย แต่ในช่วง 25 ปีมานี้นะคะ ที่ทำงานที่วิทยุเนี่ย เพราะว่ามาที่นี่มีอาจารย์หลายท่าน ผู้อาวุโสหลายท่าน ดิฉันโชคดี เวลาแปลเสร็จ มีอาจารย์่ช่วยแก้ให้ แก้เสร็จแล้วเราค่อยมาอ่าน อ้อ คราวนี้ไม่ถูก คำนั้นไม่ถูกแล้วก็จำได้ หรือคำไหนไม่รู้จัก ก็เปิดดิกชันนารี่ ตอนที่ดิฉันมา เงื่อนไขดีกว่าเมื่อก่อนแล้ว อย่างเ่ช่นผู้บุกเบิกรุ่นแรก ลำบากมาก แต่มารุ่นนี้ ก็ดีขึ้นเยอะค่ะ เพราะว่าช่วงนั้นมาตั้ง 7-8 คน ช่วงปี 63-64 ดิฉันมาที่นี่ปี 64 ก็ดีขึ้นเยอะ เพราะฉะนั้น มีโอกาสที่ทำงานที่ซีอาร์ไอนะคะ ดิฉันรู้สึกประทับใจ แล้วก็รู้สึกภูมิใจ เพราะว่าพอเพื่อนฝูงหรือญาตพี่น้องที่เมืองไทย เขาทราบว่าเพื่อนเรานะญาตเรานะ ทำงานที่วิทยุปักกิ่ง เขารู้สึกว่าเขามีหน้ามีตา เขารู้สึกว่า มีเกียรติอย่างยิ่งนะคะ ถึงแม้ทำงานไม่เยอะ แต่อยู่ที่ซีอาร์ไอได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพฯ ในพระราชวังจิตรลดาสองครั้ง เพราะว่าตอนนั้นไปกับคณะผู้แทนสหพันธ์สตรีแห่งชาติจีน หลายครั้งมีโอกาสเป็นล่ามให้หลายท่าน นายกหลายท่าน นายกสมาคมหอการค้าไทยจีนด้วย ดิฉันเนี่ย อยู่ในเมืองไทย เป็นเด็กคนจนคนหนึ่ง พ่อแม่ขายของตามริมถนน ทำไมกลับมาเมืองจีนเพราะว่าพ่อแม่ไม่มีเงินที่จะส่งลูกให้เรียนหนังสือ เพื่อนเขียนหนังสือมาบอกว่า มาเถอะ รัฐบาลจีนออกให้ ไม่ต้องเสียตางค์ เพราะว่าเพื่อนบางคนอยากจะช่วย ตอนนั้นก็ซึ้งในน้ำใจมิตรภาพ แต่ตอนหลังเพื่อนที่เขามาแล้วเขาบอก เมืองจีนเรียนหนังสือไม่ต้องเสียตางค์ ได้โอกาสมาทำงานที่ซีอาร์ไอรู้สึกว่าดีนะคะ ทุกคนในซีอาร์ไอ รุ่นอาวุโสเขาก็ช่วยเหลือทุกอย่าง