ตอบ ถ้าเราไปดูตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ของมณฑลกวางตุ้งตามขอบเขตจีนทั้งประเทศ ไม่ว่าเรื่องมูลค่าการนำเข้าการส่งออกเหล่านี้ มณฑลกว่างตุ้งมณฑลเดียว ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ประมาณ 24-29% ของแผ่นดินจีนทั้งประเทศ ลองคิดดูถึงความสำคัญของมณฑลกวางตุ้ง พอไปดู จีดีพี. จะอยู่ประมาณ 11% ของทั้งแผ่นดิน อันนี้ก็เป็นตัวเลขชี้วัดว่า ในด้านเศรษฐกิจมณฑลกวางตุ้งมีความสำคัญสำหรับแผ่นดินจีนมาก โดยเฉพาะ ทางด้านเศรษฐกิจ มีคนเคยเปรียบให้ผมฟ้ง ซึ่งผมคิดว่าเป็นข้อเปรียบที่เข้าใจง่าย แล้วก็เป็นข้อเท็จจริง คือเวลาเราไปดูคนที่เซี่ยงไฮ้ เราจะเห็นว่าคนที่เซี่ยงไฮ้สวย ถ้าเทียบกับคนที่กวางตุ้ง คนที่กวางตุ้งสู้ไม่ได้ คนที่กวางตุ้งตัวเล็กๆ แต่งเนื้อแต่งตัวก็สู้คนที่เซี่ยงไฮ้ไม่ได้ แต่คนที่เซี่ยงไฮ้สวย แต่งตัวดี แต่ใช้บัตรเครดิต เพราะเงินในกระเป๋าไม่ค่อยมี แต่คนกวางตุ้ง ดูดีไม่เท่าคนเซี่ยงไฮ้ แต่เงินในกระเป๋าเต็มเลย พร้อมที่จะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเห็นว่าเหมาะสมและคุ้มค่า ผมคิดว่าการเปรียบเทียบนี้เป็นข้อเท็จจริง เงินเฟ้อก็อยู่ในระดับที่รัฐบาลควบคุมได้ เพราะว่า เศรษฐกิจมันจะหมุนเวียน มณฑลกวางตุ้งเป็น gateway ที่จะผ่านทุกอย่างไปสู่แผ่นดินจีน ยกตัวอย่างเช่นผลไม้ ผลไม้ไทยที่เข้าสู่แผ่นดินจีน 70% เข้าที่มณฑลกวางตุ้งก่อนที่จะกระจายไปทั่วแผ่นดินจีน เพราะฉะนั้น พอไปดูตัวเลขทางเศรษฐกิจ ก็จะเห็นว่า เงินเฟ้อมันจะแปรผันโดยปัจจัยหลายๆ อย่าง เศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างๆ ก็ยังอยู่ในเกรดที่ผมคิดว่ารัฐบาลยังควบคุมได้
ผลไม้ไทยที่เข้ามาอยู่ที่มณฑลกว่างตุ้ง เข้ามาแล้วจะกระจายไปทั่วประเทศจีน เราีมีผลไม้เข้ามาเยอะมาก ผลไม้ไทยเป็นของยอดนิยมของคนในมณฑลกวางตุ้ง คนในมณฑลกวางตุ้งพูดกับผมเสมอ บอกว่า กินอาหารจีนต้องกินที่มณฑลกวางตุ้ง แต่ต้องกินกับข้าวหอมมะลิไทย เสร็จแล้วต้องตกท้ายด้วยผลไม้ไทย นี่คนในมณฑลกวางตุ้งพูดกับผม ก็จะเห็นว่าความนิยมเรื่องผลไม้ไทยไม่มีปัญหา ลักษณะกลไกตลาดของการนำเข้าผลไม้ไทยเข้ามา ก็ยังผ่านเข้าทางตลาดใหญ่ตลาดเดียว ก็คือตลาดเจียงหนาน ในขณะที่ปัจจุบัน ทางแผ่นดินจีนพัฒนาด้านสาธารณูปโภค เส้นทางคมนาคมมีมาก รัฐบาลจีนก็พยายามเปิดประตูการเชื่้อมโยงระหว่างแผ่นดินจีนกับอาเซียนซึ่งรวมไทยอยู่ด้วย มีหลายๆ ที่ ยกตัวอย่างเช่น เปิดกว่างสี หนานหนิง ก็เป็นช่องทางเข้ามา ที่ยูนนานก็มีเปิด จะมีช่องทางเข้ามา ปัญหาเรื่องที่ว่า ช่องทางเข้ามาปิดตัน หรือว่าีมีแต่ช่องทางเดียวก็จะค่อยๆ คลี่คลายแต่ว่าต้องใช้เวลา มีแต่ช่องทางเดียวลักษณะกลไกตลาดก็จะเป็นแบบบังคับเรื่องราคา ก็จะทำให้สิ่งที่เกษตรกรไทยกะว่าไ้ด้ก็อาจจะได้ยาก เพื่อมีกลไกตลาดเปิดใหม่ๆ ก็จะเป็นทางแก้ไขปัญหาช่องทางเดียว ปัญหาที่สองคือเรื่องคุณภาพ ผลไม้ไทย ถ้าเราไม่ช่วยกันในประเทศไทย เราจะประสบปัญหาในตลาดจีน เพราะว่า ความนิยมผลไม้ไทยของจีน มันมีมากมายเหลือเกิน ปัญหาที่เราพบคือ เกษตรกรของเรา อาจจะมีความรู้เท่าไม่ถึงการ หรือว่าีมีผู้ไปซื้อ แล้วให้ราคาที่จุงใจหรืออะไรก็ตามแต่ บางทีผลไม้ที่เขาเอามาขายมันอ่อนไปบ้าง เช่นทุเรียนอ่อน มะม่วงอ่อน อะไรต่างๆ แบบนี้ แล้วปรากฎว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราก็อาจจะยังไม่ดีถึงขั้นที่จะไปสอนผู้บริโภครู้ว่า ถ้าซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้แล้วสีขนาดนี้ยังกินไม่ได้เลย ต้องไปบุไว้อีกสี่วัน วิธีบุต้องไปหมักไว้อยู่ในถังข้าวสาร ถ้าเรายังทำเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ พอผลไม้ด้อยคุณภาพเข้าตลาด เขาไปซื้อแล้วไปทาน ก็จะบอก ไม่เห็นอร่อยเหมือนที่คนว่าเลย ก็จะมีผลถึงภาพลักษณ์ของผลไม้ไทย เรื่องนี้ผมคิดว่า นอกจากมีปัญหากลไกตลาดของจีนซึ่งจะค่อยๆ คลี่คลายกันแล้ว ปีญหาคุณภาพผลไม้ไทยก็เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนของสังคมไทยต้องให้ความสนใจ เราต้องปรับปรุง เราจะมุ่งที่รักษาตลาดของเราไว้ เราต้องมีวิธีการcomplain ใหม่ๆ เรื่องวิธีการกิน เรื่องคุณภาพเรื่องคุณประโยชน์ของผลไม้นั้น เพื่อจะให้คนเข้าถึงและเรียนรู้ เลือกเป็น ซื้อเป็น พูดไปค่อนข้างมาก ก็มีการตอบรับค่อนข้างดีก็คือ การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจีน ทำให้พื้นที่หลายๆ ส่วนมีความเข้มแข็งมีอำนาจการซื้อสูงมากขึ้นถ้าเทียบกับ 10 ปีก่อน ในจำนวนพื้นที่ันั้นก็รวมกวางตุ้งด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยอาจจะคิดว่า สินค้าที่เข้ามาประเทศจีนเป็นอะไรก็ได้ เราต้องเปลี่ยนความคิด ยกตัวอย่างเช่น คนในปักกิ่ง คนในเซี่ยงไฮ้ คนในกวางตุ้งมีอำนาจการซื้อสูงขึ้น เราก็ควรจะต้องทำของที่มี เกรด แบบเดียวกันที่เราไปส่งของดีๆ ไปขายที่ญี่ปุ่น ส่งของดีๆ ไปขายที่เกาหลีใต้ เราก็ควรจะทำแนวคิดแบบนั้นในมณฑลกวางตุ้ง รวมทั้งตลาดจีน ซึ่งมีอำนาจการซื้อสูง จะได้ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ควรทำของ เกรด ที่จะขายได้ รักษาภาพพจน์ของสินค้าเราได้ ได้ของที่คุ้มค่ากับราคา จึงจะได้ผลประโยชน์ร่วมกัน