การจุดบั้งไฟ (คนท้องถิ่นเรียกว่า 'ฟ่างเกาเซิง') และปล่อยโคมไฟขงเบ้งขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าไตหรือชาวไทใหญ่ ก่อนที่จะถึงวันฉลองเทศกาล ผู้คนก็จะก่อสร้างนั่งร้านสำหรับส่งบังไฟขึ้นหลายแห่ง เมื่อถึงเวลาเฉลิมฉลอง ก็นำจรวดขนาดเล็กๆ ที่ทำขึ้นเองนี้ไปวางบนแท่น แล้วจุดให้ยิ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น ซึ่งมีความหมายว่า สว่าง ศิริมงคลและชีวิตดียิ่งๆ ขึ้นไป ยามค่ำคืน ผู้คนจะไปรวมตัวกันที่ลานกว้างสักแห่ง จุดเทียนขนาดใหญ่ แล้วนำไปวางไว้ใต้โคมไฟขนาดใหญ่แบบโบราณของจีน แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นฟ้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงขงเบ้งหรือจูกัดเหลียงตัวละครสำคัญในวรรณกรรมชิ้นเอกของจีน
นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมการลอยกระทง การรำตีกลองเท้าช้าง การรำนกยูง เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นเนื้อหาสำคัญในช่วงเทศกาลวันสาดน้ำ ปีหลังๆ นี้ ยังมีการจัดกิจกรรมใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น การรับคณะนักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสประเพณีท้องถิ่น งานหารือและสรรหาโอกาสทางการค้า ทำให้เทศกาลวันสาดน้ำมีีสันมากยิ่งขึ้น แต่ละปี ที่จังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนาและจังหวัดปกครองตนเองเต๋อหงของณฑลยูนนาน ล้วนมีจัดกิจรรมฉลองเทศกาลสาดน้ำ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากมาย ซึ่งสร้างความประทับใจ และเป็นความทรงจำที่มิอาจลืมเลือนได้ของนักท่องเที่ยว
เมื่อเทศกาลสาดน้ำใกล้เข้ามา ครอบครัวหมู่บ้านชาวไตพากันเชือดหมู ไก่ และกลั่นเหล้าพื้นเมือง อีกทั้งเอาข้าวเหนียวมาทำขนมชนิดต่างๆ เพื่อไว้ใช้ในช่วงเทศกาล
เทศกาลสาดน้ำของชาวไตจะจัดเป็นเวลา 3 วัน โดยวันแรกจะมีกิจกรรมแข่งเรือมังกร จุดจรวดขนาดเล็กที่ทำเอง การแสดงศิลปวัฒนธรรม วันที่สองเป็นวันสาดน้ำ วันที่สาม เป็นวันสำหรับหนุ่มสาว โดยมีกิจกรรม 'ติวเปา' หรือแปลว่าการโยนห่อผ้าทอมือขนาดเล็กเพื่อเป็นการแลกของขวัญแสดงความรักต่อกัน
ริมสองฝั่งแม่น้ำล้านช้าง เป็นสถานที่จัดงานสำคัญในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของเทศกาลสาดน้ำ ประชาชนเผ่าต่างๆ จะสวมเสื้อสีสันสวยงามและหรูหราที่มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าตน เดินทางจากทั่วสารทิศ มาชุมนุมกันที่นี่ หลังจากเสียงที่เป็นสัญญาณเปิดงานดังขึ้น จรวดจำนวนสิบๆ ลูกถูกยิ่งตรงขึ้นสูงท้องฟ้าพร้อมเสียงดังโป้งป้าง ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเริ่มต้นการแข่งเรือมังกร โดยหมู่บ้านต่างๆ พากันส่งเรือเข้าร่วมชิงชัยอย่างคับคั่ง
วันสาดน้ำ สาวชาวไตที่แต่งตัวน่ารักสวยงามพากันเดินไปกล่าวคำอวยพรแก่กัน และใช้กิ่งไม้จุ่มน้ำในขันน้ำพลาสติกแล้วสาดน้ำกันด้วยความสนุกสนาน เมื่อถึงช่วงสุดท้ายของวัน บรรยากาศงานจะเพิ่มความคึกคัก โดยจะยกขันน้ำหรือถังน้ำที่ใส่น้ำจนเต็ม วิ่งไล่สาดกันตามถนนหน ทำให้เปียกปอนกันไปทุกคน พร้อมส่งเสียงหัวเหราะเฮฮากัน หลังจากการสาดน้ำสิ้นสุดลง ผู้คนทุดเพศทุกวัย ทุกเผ่าชน และอาชีพต่างๆ จะมารวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อรำวงท่ามกลางเสียงกลองและฆ้องที่มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าไต
วันที่สามมีการจัดกิจกรรม 'ติวเปา' แปลว่าการโยนห่อผ้าทอมือขนาดเล็กที่เรียกว่า "ลูกช่วง" ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับหนุ่มสาวชาวไตที่ยังไม่แต่งงาน เป็นการละเล่นที่มีบรรยากาศโรแมนติกแบบเฉพาะชนเผ่า โดยสาวชาวไตจะเอาผ้าที่มีลวดลายมาพับเป็นห่อสี่เหลียมรูปกระจับขนาดเล็ก ข้างในมีบรรจุเมล็ดฝ้าย สี่มุมของห่อผ้าปักลายดอกไม้หลากสี ตามกติกาของกิจกรรม 'ติวเปา' งานนี้จะจัดที่สนามหญ้า โดยหนุ่มและสาวชาวไตที่ยังไม่แต่งจะแบ่งกันยืนเป็นสองแถว และหันหน้าเข้าหากัน สาวไตจะโยนลูกช่วงของตนไปสู่แถวหนุ่มที่เธอชอบ เมื่อหมุ่มได้รับแล้วก็จะโยนกลับคืนไปให้บ้าง ซึ่งเป็นวิธีการแลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกต่อกันและกัน หลังจากโยนลูกช่วงไปมาหลายครั้งแล้ว หนุ่มสาวคู่ใดถ้าแสดงความสนใจต่ออีกฝ่ายหนึ่งค่อนข้างชัดเจน ก็จะถอยตัวออกจากงาน แล้วไปหาสถานที่ส่วนตัวเพื่อสนทนาแสดงความรักกันต่อไป
(Ton/Lin)