ความเป็นมา
เมือวันที่ 8 ตุลาคมปี 2003 นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าของจีนได้เสนอในที่ประชุมผู้นำจีนอาเซียน(10+1)ครั้งที่ 7 โดยกล่าวว่าจะจัดงานมหกรรมจีน-จีน-อาเซียนเป็นประจำทุกปีที่เมืองหนานหนิงตั้งแต่ปี2004 เป็นต้นมา และขณะเดียวกันจะจัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยพาณิชย์และการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียนด้วย ข้อเสนอนี้ได้รับความเห็นชอบโดยทั่วไปจากผู้นำของ 10 ประเทศอาเซียน
จากนั้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2004 เป็นต้นมา จีนได้จัดงานมหกรรมจีน-อาเซียนอย่างต่อเนื่องทุกปี รวม 9 ครั้ง ซึ่งได้ส่งเสริมการสร้างสรรค์เขตการค้าเสรีระหว่างกันด้วย
เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
จากสภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจของโลกจะเห็นได้ว่า การทำให้เศรษฐกิจมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับภูมิภาคกับแนวโน้มของโลกาภิวัฒน์ได้กลายเป็นกระแสหลักสำคัญในการพัฒนาของโลก ผู้นำจีนกับผู้นำของอาเซียนได้หารือร่วมกันแล้วเห็นความจำเป็นดังกล่าวจึงได้ทำข้อตกลงสำคัญทางยุทธ์ศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
ในการประชุมผู้นำจีน-อาเซียน(10+1)ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ นครหลวงกัมพูชาเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2002 ผู้นำจีนกับผู้นำของประเทศอาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับอาเซียน และได้เริ่มกระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน
ตามกรอบข้อตกลงดังกล่าว เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนก็เริ่มใช้บังคับตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 2004
เดือนพฤศจิกายนปี 2004 จีนกับอาเซียนได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าและข้อตกลงว่าด้วยกลไกการแก้ไขข้อพิพาทด้วย ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า กระบวนการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเข้าสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมแล้ว
เดือนกรกฏาคมปี 2005 ข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเริ่มใช้อย่างเป็นทางการ มีการลดภาษีสินค้าระหว่างจีนกับอาเซียนรวม 7,000 กว่าชนิด ต่อมาปี 2007 ได้ลดภาษีขั้นที่สอง จีนได้ลดภาษีสินค้าให้น้อยลงเป็นจำนวน 5,375 ชนิด ภาษีศุลกากรของจีนที่ใช้กับประเทศอาเซียนลดลงจาก 8.1%เป็น 5.8% ภาษีศุลกากรของประเทศต่างๆในอาเซียนที่ใช้กับจีนก็ลดลงในระดับที่ต่างกัน ถึงปี 2010 ภาษีศุลกากรส่วนใหญ่ระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียนเดิมได้ลดลงเป็นศูนย์ เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภาษีศุลกากรของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามจะลดลงเป็นศูนย์ในปี 2015
เดือนกรกฏาคมปี 2007 ข้อตกลงว่าด้วยการค้าบริการในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเริ่มใช้บังคับ เป็นสัญญานให้เห็นพัฒนาการก้าวสำคัญของความร่วมมือสองฝ่าย
ปัจจุบัน จีนกับอาเซียนกำลังเจรจากันด้านการลงทุนในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน คาดว่าจะมีความคืบหน้าในเร็ววันนี้
หลังเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนได้สร้างขึ้นอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2010 เป็นต้นมา ทำให้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเป็นเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีประชากรรวมเป็นจำนวน 1,900 ล้านคน ยอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นจำนวน 6,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ยอดจำนวนการค้าคิดเป็น 4,500,000 เหรีญสหรัฐ
นอกจากนี้ การค้าแบบทวิภาคีระหว่างจีนกับอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2004 การค้าระหว่างจีนกับอาเซียนเป็นจำนวน 105,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้บรรลุเป้าหมาย 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐก่อนเวลากำหนดไว้หนึ่งปี
ปี 2005 กับปี 2006 การค้าแบบทวิภาคีระหว่างจีนกับอาเซียนได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐทุกปี
ปี 2007 ยอดการค้าแบบทวีภาคีคิดเป็นจำนวน 202,550 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.9%เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2006 และก่อนเวลากำหนดไว้สามปีได้บรรลุเป้าหมายที่เป็น 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2008 ยอดการค้าแบบทวีภาคีเป็น 231,120 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.9% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2007
งานมหกรรมจีน-อาเซียนได้ใช้เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเป็นแนวทางในการพัฒนา อีกทั้งยังมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนทางการตลาดที่สำคัญด้วย เพื่อเป็นเวทีให้กลุ่มธุรกิจต่างๆได้เปิดตลาดคู่ค้าใหม่ของตัวเอง
เป้าหมายของงานมหกรรมจีน-อาเซียน
ส่งเสริมการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน แบ่งปันความร่วมมือ สร้างโอกาสการพัฒนาร่วมกัน ถือข้อตกลงกรอบว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบด้านระหว่างจีนกับอาเซียนเป็นหลักอำนวยความประโยชน์แก่กันและกัน ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าในเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเป็นจุดสำคัญ เปิดสู่ทั่วโลก และให้โอกาสใหม่ต่อการพัฒนาร่วมกันของธุรกิจประเทศต่างๆในโลก
สาระสำคัญของงานมหกรรมจีน-อาเซียน
การค้าสินค้า ความร่วมมือด้านการลงทุน การค้าบริการ การประชุมระดับสูง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
ลักษณะของงานมหกรรมจีน-อาเซียน
1. รวบรวมการค้าส่งออกกับการค้านำเข้าด้วยกัน เน้นการนำเข้าสินค้าและการเปิดสู่ตลาดอาเซียนเป็นหลัก ต้องการเป็นสะพานที่นำเข้าสินค้าจากอาเซียนสู่จีน
2. รวบรวมการลงทุนกับการดึงดูดทุนต่างชาติเข้าด้วยกัน ส่งเสริมให้ธุรกิจจีนไปทำธุรกิจในต่างประเทศเป็นหลัก สร้างเวทีให้ธุรกิจจีนไปลงทุนในอาเซียน
3. รวบรวมการค้าสินค้ากับการค้าบริการเข้าด้วยกัน ให้บริการด้านการท่องเที่ยว การถ่ายโอนผลงานการประดิษฐ์คิดค้นทางเทคนิคใหม่ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. รวบรวมงานแสดงสินค้ากับการประชุมเข้าด้วยกัน จัดการประชุมสุดยอดทางพาณิชย์กับการลงทุนระหว่างจีนกับอาเซียน กับงานมหกรรมในเวลาเดียวกันเพื่อขยายบทบาทเสริมซึ่งกันและกัน มีทั้งกิจกรรมทางการค้า การแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาล วิสาหกิจและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องด้วย
5. เป็นทั้งงานมหกรรมทางเศรษฐกิจการค้าและเป็นกิจกรรมทางการทูต เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจซึ่งกันและกัน แสดงให้เห็นถึงมิตรสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน ผลักดันให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนพัฒนาก้าวหน้า ลุ่มลึกมากขึ้น
6. รวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้ากับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ระหว่างงานมหกรรมจีน-อาเซียนจะจัดงานบันเทิงเกี่ยวกับประเทศอาเซียนและจีน เทศกาลศิลปะเพลงพื้นเมืองนานาชาติหนานหนิง การแข่งขันกอล์ฟ การแข่งขันเทนนิส เทศกาลแฟชั่นโชว์ เทศกาลอาหารเป็นต้น