องค์การเอเปค
  2013-10-02 12:10:09  cri

การก่อตั้ง

องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก หรือเอเปคเป็นองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีระดับสูงสุด ทรงอิทธิพลมากที่สุดและมีกลไกดำเนินงานที่สมบูรณ์ที่สุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อวันที่ 5-7 เดือนพฤศจิกายนปี 1989 ออสเตรีเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ แคนาดาและประเทศสมาชิกของอาเซียนซึ่งมี 6 ประเทศได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของเอเปคครั้งแรกที่กรุงแคนเบอร์รา นครหลวงของออสเตรเลีย ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า เอเปคก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ

วัดถุประสงค์

ชี้นำการค้าและการลงทุนอย่างเสรีและเปิดเผย ให้เศรษฐกิจส่วนภูมิภาครวมเป็นองค์ประกอบเดียวกัน ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี รักษาความปลอดภัยของมนุษย์ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางการค้า เพื่อสร้างครอบครัวใหญ่ของเอเชียแปซิฟิกที่มีกำลังและสมานฉันท์

สมาชิกและผู้สังเกตการณ์

ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกงของจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เม็คซิโก มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไทเปของจีน ไทย สหรัฐอเมริกาและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีผู้สังเกตการณ์ 3 รายได้แก่ สำนักเลขาธิการอาเซียน (Association of South East Asian Nations – ASEAN) สภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจแปซิฟิก (Pacific Economic Cooperation Council – PECC) และที่ประชุมแปซิฟิคใต้ (South Pacific Forum – SPF)

กลไกการดำเนินการ

เอเปคมีประกอบด้วยกลไกการดำเนินการหลัก 5 ระดับ ได้แก่

1. การประชุมผู้นำเศรษฐกิจ (Economic Leaders' Meeting)

เป็นการประชุมระดับสูงสุดของเอเปคโดยมีผู้นำของประเทศ รัฐบาลและเขตเศรษฐกิจของแต่ละสมาชิกเข้าร่วมประชุม จัดประชุมปีละ 1 ครั้ง ครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองซีแอตเติ้ลของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1993(พ.ศ. 2536) ตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา ได้จัดมาแล้ว 20 ครั้ง ต่างจัดขึ้นที่เมืองซีแอตเติ้ล โบกอร์ของอินโดนีเซีย โอซากาของญี่ปุ่น ซูบิกของฟิลิปปินส์ แวนคูเวอร์ของแคนาดา กัวลาลัมเบอร์ของมาเลเซีย โอกแลนด์ของนิวซีแลนต์ บันดาร์เสรีเบกาวันของบรูไน เซี่ยงไฮ้ของจีน ลอส คาบอสของเม็กซิโก กรุงเทพฯ ของไทย แซนดีเอโกของชิลี บูซันของเกาหลีใต้ ฮานอยของเวียดนาม ซิดนีย์ของออสเตรเลีย ลีมาของเปรู สิงคโปร์ โยโกฮามะของญี่ปุ่น ฮาวายของสหรัฐฯ และ วลาดิวอสต็อกของรัสเซีย

การประชุมสำหรับปี 2013 จัดขึ้นที่อินโดนีเซีย และของปี 2014 จะจัดขึ้นที่จีน

2. การประชุมรัฐมนตรี (Ministerial Meeting)

เป็นการประชุมร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศ(ยกเว้นไทเปของจีนและฮ่องกงของจีน) รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจและการค้าประจำปี และการประชุมรัฐมนตรีทางวิชาการ การประชุมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจและการค้าจัดขึ้นก่อนการประชุมผู้นำฯ การประชุมรัฐมนตรีทางวิชาการจัดเป็นประจำหรือไม่เป็นประจำ รวมถึงการประชุมรัฐนตรีพาณิชย์ การประชุมรัฐมนตรีการคลัง การประชุมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การประชุมรัฐมนตรีพลังงาน การประชุมรัฐมนตรีกิจการทางทะเล การประชุมรัฐมนตรีเหมืองแร่ การประชุมรัฐมนตรีโมรคมนาคม และการประชุมรัฐมนตรีการท่องเที่ยว ตลอดจนการประชุมรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหารที่จัดขึ้นเมื่อปี 2010 และการประชุมรัฐมนตรีการป่าไม้ที่จัดขึ้นครั้งแรกที่เมื่อปี 2011

เจ้าภาพจัดการประชุมคือสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีนั้น

3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials' Meetings - SOMs)

โดยธรรมเนียมปฏิบัติจะจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสปีละ 3 -4 ครั้ง ผู้เข้าร่วมจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ได้รับการมอบหมายจากประเทศของตน (โดยปกติเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหรือเจ้าหน้าที่ระดับผู้อำนวยการกรม) ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุมคือ ปฏิบัติตามข้อตกลงของการประชุมผู้นำฯ และการประชุมรัฐมนตรี พิจารณาและอภิปรายกิจการของคณะกรรมการ หน่วยงานและสำนักเลขาธิการ เตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี การประชุมผู้นำฯ และประสานงานเกี่ยวกับการเตรียมจัดการประชุม

4. คณะกรรมการ (Committees)

เอเปคมี 4 คณะกรรมการหลัก ได้แก่

4.1 คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) เป็นเวทีปรึกษาหารือและติดตามการดำเนินการด้านการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน

4.2 คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) ทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มและประเด็นที่สมาชิกเอเปคสนใจกัน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค รวมทั้งหารือแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสมาชิกเอเปค

4.3 คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee - BMC) มีบทบาทให้คำแนะนำต่อเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในด้านการบริหารและจัดการงบประมาณ

4.4 คณะกรรมการอำนวยการของเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (SOM Steering Committee on Economic and Technical Cooperation - SCE) ซึ่งมีบทบาทในการประสานและกําหนดกรอบนโยบายด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation - ECOTECH) รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลเป็นรูปธรรม

5.สำนักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat)

จัดตั้งขึ้นที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมกราคมปี 1993 ให้บริการการจัดกิจกรรมระดับต่างๆ ของเอเปค ผู้รับผิดชอบของสำนักเลขาธิการคือผู้อำนวยการปฏิบัติการ และอำนวยการบริหารมาจากประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปคประจำปี ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา จัดเป็นตำแหน่งที่มีวาระ 3 ปี

ประเด็นหลัก

เอเปคเน้นอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั่วโลกและเศรษฐกิจส่วนภูมิภาค เช่นความเสรีและสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การรวมเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ให้เป็นองค์ประกอบเดียวกัน ระบบการค้าแบบพหุภาคี แผนยุทธศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีและการเสริมศักยภาพ และการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ปีหลังๆ มานี้ เอเปคค่อยๆ มีส่วนร่วมปัญหาความมั่นคงและปัญหาระหว่างประเทศที่ทั่วโลกสนใจกันบางประการ เช่นการปราบปรามการก่อการร้าย การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัยของอาหาร ความปลอดภัยของพลังงาน โรคระบาด การป้องกันและบรรเทาภัย และการปราบปรามคอรัปชั่น

รูปแบบความร่วมมือ

เอเปคดำเนินความร่วมมือในรูปแบบที่สมัครใจและปรึกษาหารือกัน ข้อตกลงต้องได้รับผ่านจากสมาชิกทั้งหมด แม้ว่าเอกสารสุดท้ายของการประชุมไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายก็ตาม แต่สมาชิกต่างๆ มีความรับผิดชอบที่ควรปฏิบัติตามในทางการเมือง

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040