1. ทบทวนความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองฝ่าย
จีนและอินโดเนเซียได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูต ณ วันที่ 13 เดือนเมษายน ปีค.ศ. 1950 หลังจากเหตุการณ์ " 9. 30 " ของอินโดเนเซียได้เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ 1965 สองประเทศได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 30 เดือนตุลาคร ปี ค.ศ. 1967
ในทศวรรษ 1980 ศตวรรษที่ 20 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองค่อย ๆ คลี่คลาย ปีค.ศ. 1989 นายเฉียน ฉี เชิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่างได้พบปะกับนายฮาจิ โมฮัมหมัด ซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดเนเซียและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินโดเนเซีย เกี่ยวกับเรื่องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ประเทศทั้งสองได้จัดการพูดคุยเจรจาในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาทางด้านเทคนิคของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกลับสู่ความเป็นปรกติ และได้ลงนามในข้อความบันทึกของการพูดคุยเจรจาด้วย เดือนกรกฎคม ปี ค.ศ. 1990 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดเนเซยได้มาเยือนจีนตามคำเชิญ สองประเทศได้ออกแถลงการณ์ว่าด้วยการฟืนฟูความสัมพันธ์ทางการทูต
หลายปีมานี้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินโดเนเซียพัฒนาโดยเร็ว ปลายปีค.ศ. 1999 สองประเทศมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ทุกด้านแบบฉันมิตรและเชื่อถือกันอย่างถาวรและยืนยาว ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2000 สองประเทศได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยทิศทางความร่วมมือแบบทวิภาคีในอนาคต ก่อตั้งคณะกรรมการร่วมกันของความร่วมมือแบบทวิภาคี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของแต่ละฝ่ายเป็นผู้ประสานงาน เดือนเมษายน ปีค.ศ. 2005 ผู้นำ /ประมุข ของประเทศทั้งสองได้ลงนามในปฏิญญาร่วมของความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนยุธศาสตร์ระหว่างจีนและอินโดเนเซีย ปีค.ศ. 2006 สองประเทศได้เปิดใช้กลไกการเจรจาระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ และมีการติดต่อการเยือนระหว่างกันของผู้นำชั้นสูงตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 เป็นต้นมา เช่น นายหูจิ่นเทาอดีตประธานาธิบดี นายจูหรุงจีอดีตนายกรัฐมนตรีจีนเคยเยือนอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ส่วนด้านอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีเมกาวตี ซูการ์โนปุตรี ประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยุตโดโยโน เคยเยือนประเทศอย่างเป็นทางการ
เดือนมีนาคมปีค.ศ. 2009 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจอินโดเนเซียมาเยือนประเทศจีนและในเดือนเดียวกัน ผู้ว่าการของธนาคารกลางแห่งชาติอินโดเนเซียมาเยือนประเทศจีน ในเดือนกรกฎาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดเนเซียมาเยือนจีนอย่างเป็นทางการ เดือน พฤศจิกายน ประธานาธิบดีหูจิ่นเทากับประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโนได้มีการพบปะในระหว่างเข้าร่วมการประชุมAPECที่จัดขึ้นในสิงคโปร์ ในเดือนนั้น นายหยังเจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนได้พบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดเนเซยในระหว่างการประชุมAPEC เดือนพฤศจิกายน นายหลิวฉี กรรมการกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำกรุงปักกิ่ง ไปเยือนอินโดเนเซีย เดือนธันวาคม ประธานของประชุมที่ปรึกษาประชาชนอินโดนิเซียมาเยือนประเทศจีน
เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2010 นายไต้ปิ่งกั๋ว สมาชิกของคณะรัฐมนตรีไปเยือนอินโดเนเซียอย่างเป็นทางการ และเป็นผู้จัดการประชุมครั้งที่ 2 ว่าด้วยกลไกการเจรจาระดับรัฐมนตช่วยว่าการ เดือนเมษายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจอินโดเนเซีย กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดเนเซียได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมเซี่ยงไฮ้ เดือนพฤษภาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสังคมมาเยือนจีน เดือนนั้น นาย กัว โป๋ สง ประธานคณะกรรมการทหารส่วนกลางไปเยือนอินโดเนเซีย เดือนกรกฎาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงทางการเมืองและกฎหมายของอินโดเนเซียมาประเทศจีนและได้เยี่ยมชุมงานมหกรรมเซี่ยงไฮ้ เดือสิงหาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการปรัชาชนอินโดเนเซียมาเยี่ยมชมงานมหกรรมเซี่ยงไฮ้ เดือนตุลาคม ประธานาธีบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน มาถึงประเทศจีนและเยี่ยมชมงานมหกรรมเซี่ยงไฮ้ เดือนเดียวกัน รองประธานาธิบดีอินโดเนเซีย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าจีน – อาเซียนสมัยที่ 7 และดำเนินการเยือนอย่างเป็นทางการ เดือนพฤศจิกายน นายอู๋ ปาง กั๋ว ประธานกรรมการสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนไปเยือนอินโดเนเซีย
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองประเทศได้พัฒนาไปอย่างราบเรื่อน หลังการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน ข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงการเดินเรือทางทะเล และข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้อนและได้ทำบันทึกช่วยความจำ สำรับความร่วมมือในหลายด้าน อาทิ ด้านเกษตรกรรม ด้านการประมง ด้านการจราจร ด้านการเงิน เป็นต้น เมื่อปี 1990 ทั้งสองประเทศได้สร้างคณะกรรมร่วมของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและเทคโนโลยี และได้ตกลงกันเมื่อปลายปี2001ว่า จุดสำคัญของความร่วมมือทั้งสองประเทศคือเกษตรกรรม พลังงาน การพัฒนาทรัพยากร และโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อมีนาคม ปี2002 ฟอรั่มทางด้านพลังงานก่อตั้งขึ้น และในกันยายนปีเดียวกัน เปิดการประชุมครั้งที่หนึ่ง เมื่อตุลาคมปี 2006 ทั้งสองฝ่ายเปิดการประชุมครั้งที่สองในเมืองเซี่ยงไฮ้ เดือนธันวาคมปี 2008 การประชุมของฟอรั่มด้านพลังงานครั้งที่สามเปิดการประชุมอยู่ที่เมืองจาการ์ตา กันยายนปี2007 ทั้งสองประเทศจัดการประชุมคณะกรรมร่วมของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและเทคโนโลยีครั้งที่9 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ เมื่อเดือนมีนาคมปี2008 ธนาคารแห่งประเทศจีนสาขาสุราบายาเปิดใหม่ ปี 2009 สะพานสุราบายา-มาดูรา(Madura) ซึ่งก่อสร้างโดยมีประเทศจีนเป็นฝ่ายการสนับสนุนนั้น จัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
ยอดการค้าทวิภาคีในปี 2010 มีปริมาณ 4.275แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการขยายตัวเป็น 50.6% เมื่อเทียบกับปี 2009 ในจำนวนนี้ การส่งออกมี 2.197 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเป็น 49.3% การนำเข้า2.078แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการขยายตัวเป็น52% เมื่อเทียบกับปี 2009
3. การติดต่อการและความร่วมมือระหว่างกันในด้านอื่น ๆ
ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การบินพลเรือน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา และการท่องเที่ยวเป็นต้น มกระคมของปี1991 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงการขนส่งทางอากาศ และได้เปิดเส้นทางตรงของการปิน เมื่อเดือนมกระคมของปี1992 ได้ทำบันทึกความเข้าใจในด้านความร่วมมือด้านข่าวสาร ในปีเดียวกันสำนักข่าวซินหวาได้เปิดสาขาประจำในอินโดนีเซีย และหนังสือพิมพ์รายวันของจีน(People's daily)ส่งผู้สื่อข่าวประจำไปประเทศอินโดนีเซียด้วย เมื่อปี1994 สองประเทสลงนามในหนังสือบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว สาธารณสุขและการกีฬา เปิดโครงการการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยนต่อกัน เมื่อปี1997 ทั้งสองประเทศจัดการประชุมคณะกรรมร่วมของความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถึงเวลานี้ ได้จัดการประชุมสองครั้งแล้ว ในพฤศจิกายนปี 2001 ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมอีกครั้ง เมื่อปี2001 ประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นประเทศเป้าหมายการท่องเที่ยวของคนจีนอย่างเป็นทางการ ภาคการบินพลเรือนของทั้งสองประเทศลงมติในการขยายสิทธิการปิน เมื่อธันวาคมปี2004 และในปี2005 สองประเทศได้ให้วีซ่าฟรีผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและวีซ่าข้าราชการ รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศให้อนุญาตคนจีนว่า จัดการวีซ่าเมื่อเดินทางมาถึง ปี2010 นักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียไปจีนมีตัวเลขถึงปีละ 5.734 แสนคน นักท่องเที่ยวจากจีน ที่ไปยังอินโดนีเซียเป็นจุดแรก มีตัวเลขถึงปีและ 4.688 แสนคน
รัฐบาลท้องถิ่นของทั้งสองฝ่ายได้มีการติดต่อการอย่างคล่องแคล่ว ความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรระหว่างมณฑลมีอยู่หลายแห่ง อาทิ เมืองปักกิ่งกับเขตปกครองพิเศษจาการ์ตา มณฑลกว่างตงกับเขตสุมาตราเหนือเป็นต้น
4. ปัญหาชาวจีน
เดือนพฤษภาคมปี 1998 อินโดนีเซียเกิดการจลาจล ส่งผลกระทบต่อชาวจีนในท้องถิ่นอย่างมาก รัฐบาลจีนแสดงความกังวลโดยใช้หลากหลายวิธี หวังว่ารัฐบาลอินโดนีเซียตรวจสอบและจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของชาวจีน ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้ใช้มาตรการอย่างตามลำตับ ยกเลิกนโยบายบางข้อของการจำกัดชาวจีนที่มีอยูเดิม กรกฎาคม 2006 และตุลาคม 2008 รัฐสภาอินโดนีเซียผ่าน "กฎหมายสัญชาติ" ชุดใหม่ และกฎหมายการขจัดการเหยียดผิว ชาวจีนได้มีสิทธิทัดเทียมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆตามกฎหมาย
5. ข้อตกลงทวิภาคีที่สำคัญของ 2 ฝ่าย
กรกฎาคม 1990 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ที่จะเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตใหม่ ที่กรุงปักกิ่ง
ปี 2007 จีนกับอินโดนีเซียลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
ปี 2009 สองประเทศลงนามข้อตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีมูลค่า 1 แสนล้านหยวน และสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสองประเทศ
ปี 2010 สองประเทศลงนาม แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัฐบาลของจีนและอินโดนีเซีย