เป้าหมายสำคัญของ "ข้อริเริ่มเชียงใหม่" เพื่อแก้ไขปัญหาการหมุนเวียนเงินทุนในระยะสั้นของภูมิภาค เป็นส่วนประกอบของระบอบการเงินโลกในปัจจุบัน
การเงินเปรียบเสมือนเส้นเลือดหลักของเศรษฐกิจ เมื่อปี 1997 วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในเอเชียได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ไทย อินโดนีเซียและเกาหลีใต้ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก กองทุนการเงินระหว่างประเทศเคยเสนอความช่วยเหลือแต่มีเงื่อนไขที่เข้มงวด หลังผ่านวิกฤตครั้งนี้ ประเทศในเอเชียตะวันออกได้ทบทวนและเรียนรู้ประสบการณ์จากกรณีดังกล่าว แล้วเห็นพ้องกันว่าต้องเร่งความร่วมมือด้านการเงิน และร่วมกันจัดตั้งกลไกช่วยเหลือด้วยเงินทุนในภูมิภาค เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนเงินทุนถ้าเกิดวิกฤต เพื่อประหยัดเวลาในการแก้ปัญหา
ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่างๆ จึงได้กำหนดกลไก 10+3 ขึ้นมา เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2000 การประชุมรัฐมนตรีการคลังระหว่างอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ 10+3 ได้จัดขึ้นที่เชียงใหม่ และได้ประกาศ "ข้อริเริ่มเชียงใหม่" ที่มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตามข้อริเริ่มฉบับนี้ ประเทศที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเงินตราสำรองต่างประเทศส่วนหนึ่งเข้าไปใน "กองทุนเงินตราต่างประเทศสำรอง"ร่วมกัน ถ้าประเทศใดประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุน ประเทศอื่นๆ จะใช้เงินทุนร่วมช่วยแก้ไขปัญหาได้
"ข้อริเริ่มเชียงใหม่" ได้ขยายสมาชิกไปถึง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อตั้งกลไกร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างอาเซียนกับสามประเทศนี้ หากมีประเทศใดต้องการเงินทุน สามารถขอสนับสนุนได้จากอีกประเทศหนึ่งที่เคยลงนามในข้อตกลงไปแล้วเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตการเงินอีกครั้ง ตลอดจนรักษาความมั่นคงด้านการเงินของภูมิภาคด้วย
การตั้งขึ้นของกลไกแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีในภูมิภาคเป็นหลักไมล์ที่แสดงว่าระบบช่วยเหลือด้วยเงินทุนได้กลายเป็นรูปธรรม แสดงถึงความมั่นใจของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกที่จะต้องกระชับความร่วมมือ และรักษาความมั่นคงด้านการเงิน จะสร้างผลดีต่อทั่วประชาคมโลกด้วย
Nune/Lei