การรถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศจีนที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว
  2013-10-14 20:03:48  cri

(คำบรรยายภาพยนตร์สารคดีในงานแสดงที่ไทย)

รถไฟความเร็วสูงเป็นแนวโน้มการพัฒนารถไฟของโลกและเป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งความทันสมัยด้านการจราจร นับวันจะยิ่งได้รับความสนใจจากนานาประเทศมากยิ่งขึ้น หลายปีมานี้ ภายใต้การดูแลและส่งเสริมอย่างแข็งขันของรัฐบาลจีน รถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนจึงได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว

ตั้งแต่ทศวรรษที่1990 จีนเริ่มศึกษาวิจัยเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง พร้อมกันนั้นได้ลงมือดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงด้วย กล่าวคือ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1999 ได้เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากฉินหวงเต่า – เสิ่นหยาง ซึ่งเป็นโครงการแรกและสร้างแล้วเสร็จจนเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม ค.ศ.2003 ต่อมาเมื่อปี ค.ศ.1997 จีนได้เริ่มดำเนินการโครงการเพิ่มความเร็วให้กับรถไฟทั่วไปในเส้นทางต่างๆ ทั้งหมดนี้ได้ช่วยให้เราเรียนรู้และสะสมประสบการณ์อันล้ำค่าในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงอย่างมากมาย

เมื่อปีค.ศ.2004 รัฐบาลจีนได้กำหนด "แผนพัฒนาเครือข่ายเส้นทางรถไฟระยะกลางและระยะยาว"

นับเป็นการพิมพ์เขียวแห่งการพัฒนารถไฟแห่งประเทศจีนถึงค.ศ.2020 โดยได้กำหนดให้สร้างเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั้งภาคเหนือจนใต้และจากตะวันออกไปถึงตะวันตกทั้งหมด8สายในลักษณะ "สี่แนวตั้งและสี่แนวนอน" ทั้งนี้จะเป็นการพลิกหน้าใหม่ของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศจีน

ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 10 ปีจากขั้นตอนทดลองสู่การก่อสร้างอย่างขนาดใหญ่ รถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนได้รับการพัฒนาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คาดการณ์ว่า ถึงสิ้นปีนี้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีน ที่ให้บริการแล้วทั่วประเทศจะมีความยาวทั้งหมดถึง10,000กิโลเมตร และเส้นทางที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างถึง12,000 กิโลเมตร นับได้ว่าจีนเป็นประเทศอันดับแรกของโลกที่เปิดบริการทางรถไฟความเร็วสูงที่มีเส้นทางยาวมากที่สุดและเส้นทางที่กำลังก่อสร้างนั้นก็มีความยาวมากที่สุดด้วย

รถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง– เทียนสินเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.2008 รถไฟความเร็วสูงสายนี้เป็นรถที่วิ่งด้วยความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสายแรก และเป็นที่ออกแบบพิเศษเพื่อวิ่งผ่านเขตพื้นที่ที่มีลักษณะเนื้อดินอ่อน(soft soil)

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 เส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านเขตดินพรุนเสื่อมสภาพ(หรือพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม)(collapsed loess area) สายเจิ้งโจว – ซีอานเปิดให้บริการ

เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2010 เส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านเขตชายฝั่งทะเลในแถบร้อนสายไห่หนานวงแหวนตะวันออกได้ใช้งานอย่างเป็นทางการ

เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2011 เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง– เซี่ยงไฮ้เปิดให้บริการ

เส้นทางดังกล่าวนี้มีความยาว 1,318 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีความยาวยาวที่สุดและเป็นโครงการที่สร้างเสร็จในเฟสเดียวแห่งแรกของโลก

เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2012 รถไฟความเร็วสูงสายฮาร์บิน–ต้าเหลียนได้สร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว ทางรถไฟสายนี้ต้องผ่านเขตที่มีสภาพพื้นดินจับเป็นน้ำแข็ง(permafrost sub-grade)ในช่วงฤดูหนาว ก็นับเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกในโลก ที่วิ่งในสภาพอากาศที่ลำบากมากที่สุด

ที่สำคัญกว่านั้นคือ ในเดือนเดียวกันนี้ สายปักกิ่ง – กว่างโจวเปิดให้บริการทั้งสาย รถไฟความเร็วสูงดังกล่าวมีความยาวทั้งหมด2,298กิโลเมตร นับเป็นรถไฟความเร็วสูงที่มีระยะทางยาวที่สุดของโลก นอกจากนี้ เส้นทางดังกล่าวยังมีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่ซับซ้อนอย่างมาก กล่าวคือ ต้องผ่านทั้งแถบอากาศอบอุ่น แถบใกล้โซนร้อนและข้ามแม่น้ำใหญ่ๆหลายสาย

คาดว่าจนถึงปีค.ศ. 2020 เส้นทางรถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศจีนจะมีความยาวทั้งหมดมากกว่า 20,000 กิโลเมตร เมื่อรวมกับเส้นทางรถไฟทั่วไปประเภทอื่นๆแล้ว เครือข่ายขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่มหึมาและรวดเร็วมากจะเกิดขึ้นต่อสายตาของเรา คือระยะทางรถไฟทั่วประเทศจะมีความยาวทั้งหมดกว่า 50,000 กิโลเมตร ซึ่งจะครอบคลุมถึงเมืองเอกของมณฑลต่างๆของจีน ตลอถึงเมืองขนาดที่มีประชากร 5 แสนคนขึ้นไป

บนพื้นฐานของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสะสมเทคโนโลยีควบคู่กับการศึกษาเรียนรู้จากรถไฟที่ทันสมัยจากทั่วโลก พร้อมกับการสร้างนวัตกรรมด้วยตนเองโดยยึดหลักสภาพความเป็นจริงของชาติ จีนได้พัฒนารถไฟความเร็วสูงแบบสมบูรณ์ ไม่ว่าระบบเทคโนโลยี

การสำรวจและออกแบบ การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ การโยธาก่อสร้าง และการบริหารดำเนินการ ต่างก็อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

นอกจากนี้การรถไฟจีนยังได้ประสบความสำเร็จอีกหลายด้าน อาทิเช่นการสร้างรางชนิดที่ไม่ใช้หินโรย(ballast-less track) รางรถไฟที่มียาวพิเศษแบบไร้รอยต่อ(extra-long continuously welded rail) และในเขตที่มีสะภาพทางภูมิศาสตร์อันสลับซับซ้อนนั้น ได้สร้างสะพานขึงเคเบิล(cable-syayed bridge)ที่มีความยาวที่สุดของโลก และสามารถรองรับทั้งรถไฟและรถยนต์ สะพานรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ราง 6 เส้นแห่งแรกในโลก อุโมงค์ขนาดยาวและกว้าง(big tunnel) ที่ลอดผ่านใต้ดินของเมืองและแม่น้ำสายใหญ่ ตลอดจนได้สร้างศูนย์กลางชุมสายอเนกประสงค์ที่สามารถเชื่อมต่อกับรถเมล์ รถไฟใต้ดิน รถไฟลอยฟ้า กับเครื่องบินได้ที่สถานีเดียว งานวิจัยและผลิตของการรถไฟจีนสามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านความเร็วและวิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันของขบวนรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้จีนมีรถไฟความเร็วสูง EMUs ที่ให้บริการอยู่จำนวน 1,162 ขบวน

การรถไฟจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับระบบป้องกันและควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของรถไฟความเร็วสูง สามารถตรวจสอบสภาพการใช้งาน และบำรุงรักษารถไฟ เส้นทาง สะพาน OCS และอุปกรณ์อื่นๆ อย่างครบครัน ทั้งหมดนี้สามารถเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการเดินรถได้

ราบรื่นมั่นคง สะดวกสบาย ปลอดภัยน่าเชื่อถือ รถไฟความเร็วสูงแห่งประเทศจีน สะดวกและรวดเร็ว กำลังนำความเปลี่ยนแปลงสู่วิธีการเดินทางและความเคยชินในการดำรงชีวิต รถไฟความเร็วสูงสามารถประหยัด ต้นทุนทั้งเวลาและด้านโลจิสติกส์ ทำให้การขนส่งทางรถไฟขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ค.ศ.2007 – 2012จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงEMUs ของประเทศจีน มีมากถึง 1,570 ล้านคน เป็นผลให้สัดส่วนของผู้โดยสาร รถไฟควาทเร็วสูงได้เพิ่มขึ้นจาก 4.3% เป็นกว่า 30%

การพัฒนาของรถไฟความเร็วสูงยังเป็นผลกระตุ้นให้การเป็นแบบอุตสาหกรรม (industrialization) และการพัฒนาความเป็นเมืองมากขึ้นช่วยร่นระยะเวลา และการเดินทาง(time and space)ระหว่างเขตแคว้นและระหว่างเมือง ให้สั้นลงอย่างมาก นครหรือเมืองใหญ่ๆที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคจะมีบทบาทช่วยสร้างความเจริญให้กับเมืองและชนบทในปริมณฑล(radiation effect)มากขึ้น การเปิดดำเนินการของรถไฟความเร็วสูงยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญให้แก่เศรษฐกิจภาคบริการอย่างเห็นได้ชัดด้วย อาทิเช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างความต้องการทางอุปโภคบริโภค เพิ่มพูนการค้าและการบริการเพิ่มตำแหน่งงาน รถไฟความเร็วสูงนี้นับเป็นสีเขียวโดยแท้ที่สอดคล้องกับการสร้างอารยธรรมทางสิ่งแวดล้อม การที่รถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนได้พัฒนาอย่างรวดเร็วนั้น เป็นที่สนใจจับตามองอย่างกว้างขวางจากทั่วโลก ปีหลังๆ นี้ ผู้นำและผู้แทนระดับสูงจากประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่มาเยือนจีนหลายท่านได้วางกำหนดการเฉพาะเพื่อไปเยี่ยมชมงานรถไฟความเร็วสูงของจีน

สรุปแล้ว สามารถกล่าวได้ว่า จีนไม่เพียงแต่มีประสบการณ์ในการสร้างและบริหารรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น หากยังมีความได้เปรียบอย่างโดดเด่นของความรวดเร็วในการก่อสร้าง ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าอีกด้วย จีนยินดีที่จะแบ่งปันเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัย สมบูรณ์แบบ และต้นทุนถูก รวมทั้งวิธีแก้ปัญหาแบบครบวงจรกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040