ปาร์กัวร์—กีฬาสุดเจ๋ง
  2010-07-07 12:43:11  cri
กีฬาปาร์กัวร์ (Parkour) เป็นกีฬาที่ถือว่าเมืองทั้งเมืองเป็นสนามฝึกซ้อม วิ่งแบบข้ามสิ่งกีดขวางและอุปสรรคต่างๆ วิ่งบ้างปีนข้ามกำแพงบ้าง และกระโดดไปมาบนหลังคา

คำว่า ปาร์กัวร์ มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "วิ่งทุกที่" เป็นกีฬา Extreme ตามท้องถนนหรือ Street sport ที่กำเนิดในฝรั่งเศส กล่าวได้ว่า ปาร์กัวร์ เป็นกีฬาที่ท้าทายขีดจำกัดของตัวเองก็ว่าได้ เพราะสิ่งเดียวที่ใช้ในการข้ามสิ่งกีดขวางต่างๆ ก็คือร่างกาย และกำลังของตนล้วนๆ เลยครับ เป็นพลังที่มาจากธรรมชาติอย่างเดียวเลย

คุณอาจเคยดูหนังเรื่อง "Banlieue 13" หรือ "B13 คู่ขบถ คนอันตราย" ของฝรั่งเศส ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็เป็นการแสดงวัฒนธรรมปาร์กัวร์โดยเฉพาะเลย พระเอกในหนังวิ่งเก่งมาก ขึ้นๆ ลงๆ ใครๆ ก็ตามเขาไม่ได้ จริงๆ แล้ว วิ่งแบบเขาก็คือ Parkour และพระเอกคนนี้ก็เป็นผู้ให้กำเนิดปาร์กัวร์คนหนึ่ง เขาชื่อเดวิด เบลเล (David Belle)

กีฬาปาร์กัวร์กำเนิดขึ้นในทศวรรษที่ 1980 ทีแรก ปาร์กัวร์เป็นกีฬาที่มาจากนายทหารฝรั่งเศสในสงครามเวียดนาม ส่วนคุณเดวิดก็มีคุณพ่อที่เป็นทหาร เมื่อเดวิดยังเป็นเด็ก เขาก็ชอบ "กระโดดไปมา" บนหลังคาแล้ว ต่อมา เมื่อเขาโตขึ้น เขากับเพื่อนที่มีชื่อว่า เซบัสเตียน โฟคัน (Sebastian Foucan) ก็ร่วมกันคิดค้นกีฬาประเภทนี้ขึ้นมา

ตอนนี้ การเล่นปาร์กัวร์ฮิตในจีนมากๆ ด้วย โดยฉะเพาะในหมู่วัยรุ่น ปาร์กัวร์ ภาษาจีนเรียกว่า "跑酷" (เผ่าคู่) หมายถึงวิ่งแบบเจ๋งๆ ตอนนี้ จีนมีแฟนปาร์กัวร์จำนวนมากเลย นอกจากกลุ่มคนทั่วๆ ไปในท้องที่ต่างๆ แล้วยังมีเว็บไซต์เฉพาะด้วย เพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมของปาร์กัวร์ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับผู้เล่นปาร์กัวร์ทั่วประเทศจีน

ปาร์กัวร์คล้ายกับกีฬา Free-running หรือวิ่งอิสระ แต่ Free-running นั้นเป็นการแสดงอย่างหนึ่งมากกว่า โดยจะเน้นความงดงามของท่าทาง ส่วนปาร์กัวร์นี่เน้นความเร็ว และมีประโยชน์มากกว่า เป็นการฝึกความยืดหยุ่นของร่างกาย บางคนเห็นว่า ปาร์กัวร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะเป็นกีฬาที่สามารถปลดปล่อยอิสรภาพของจิตใจ แต่ผู้ฝึก หรือเราเรียกกันว่า "Traceur" หรือ "Traceuse" จะถือปาร์กัวร์เป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งมากกว่าค่ะ เพราะปาร์กัวร์ทำให้ผู้ฝึกเข้าใจว่า ทำอย่างไรถึงจะชนะความกลัว และเพิ่มความสามารถในการขจัดอุปสรรดของตน

แนวความคิดของปาร์กัวร์ยังได้อิทธพลจากแนวความคิดของปรัชญาเอเซียด้วย คุณเซบัสเตียนกล่าวว่า ต้องเปลี่ยนความคิดและความเชื่อของตน "ต่อสู้กับกำลังภายนอกที่มากีดขวาง" ให้เป็น "เสมือนกับการไหลของน้ำ" แนวความคิดที่เอาน้ำมาเปรียบเทียบนี้ คล้ายกับแนวความคิดของลัทธิเต๋าของจีน

ตามความเข้าใจของผู้เขียน เซบัสเตียนกำลังพูดถึงความคล่องแคล่วของกิริยา และความยืดหยุ่นของร่างกายในการเล่น ปาร์กัวร์ รวมถึงความอ่อนโยน และความแข็งแรงของจิตใจในการใช้ชีวิตนั่นแหละ และเน้นพลังที่แฝงอยู่ในใจ คล้ายกับคำที่ว่า "น้ำอ่อนเซาะหินแข็ง"

นอกจากนี้ เขายังพูดถึงทฤษฎี "阴阳" หรือ "หยินหยาง" ด้วยนะคะ โดยถือเอาความคล่องแคล่วของกิริยาท่าทาง และความยืดหยุ่นของร่างกายเป็น "หยิน" ส่วนกำลังที่จำเป็นก็คือ "หยาง" นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ปาร์กัวร์จึงเป็นกีฬาที่ดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

คำแนะนำจากผู้เขียนแก่คนที่สนใจกีฬานี้

ปาร์กัวร์ มีหลักการว่า ฝึกให้คนเราแข็งแรง และยืดหยุ่น แต่ก็เป็นกีฬาที่มีอันตราย เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุด ถ้าจะฝึก ก็ต้องเรียนกับครูมืออาชีพ และเวลาเล่น ก็ต้องเข้าใจว่า ปาร์กัวร์ นี่ไม่ใช่การตั้งใจอวดความเก่งกาจของตน หรือความพิศดารของท่วงท่า หากเป็นกีฬาที่สอนให้พวกเรารู้จักควบคุมและใช้กำลังของตน อย่าเลียนแบบตามวิดีโอในหนังเองนะ ซึ่งภาพเหล่านั้น บางส่วนเสริมเคนิกภาพด้วยซอฟต์แวร์ภายหลังด้วย คนเสียชีวิตในการเล่น ปาร์กัวร์ ก็มีบ้าง เพราะฉะนั้น ขอเตือนว่า อย่าไปฝึกเอง ต้องมีผู้รู้จริงสอนให้เท่านั้น

Ton/Ldan

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040