การแข่งขันฟุตบอลโกล 2010 สิ้นสุดลง แฟนบอลจีนตลอดจนแฟนบอลโลกที่คยร่วมสนุกสนานและเฮฮากันมาเป็นเวลา 1 เดือนคงเกิดความรู้สึกเงียบเหงา วันนี้ผมจึงจะหาเรื่องราวเกี่ยวกับบอลโลกสักเรื่องมาคุยกันเพื่อแก้เหงาสักเล็กน้อย
ประชาชนแอฟริกาใต้มีความเห็นว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกแอฟริกาใต้เป็นโอกาสทางประวัติศาสตร์ที่จะไ้ด้รับทั้งชื่อเสียงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อฟุตบอลโลกสิ้นสุดลง ชาวโลกคงเห็นแล้วว่า ผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดไม่ใช่แอฟริกาใต้ แต่เป็นสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่า
หลังจากแอฟริกาใต้ขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกด้วยความสำเร็จแล้ว ฟีฟ่าก็บอกกับรัฐบาลแอฟริกาใต้ว่าต้องเซ็นสัญญาฉบับหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาสำคัญคือ ผลประโยชน์ทั้งหมดที่ฟีฟ่าได้มาจากแอฟริกาใต้เนื่องจากการจัดฟุตบอลโลกนั้น ล้วนไม่ต้องจ่ายภาษี และไม่ถูกจำกัดจากระบบแลกเปลี่ยนเงินตราของแอฟริกาใต้ รัฐบาลแอฟริกาใต้ถือสัญญาฉบับนี้เป็นความลับ แต่ถูกผู้สื่อข่าวของอังกฤษเปิดโปงเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนั้ัน ป้ายโฆษณาโดยรอบสนามแข่งขันล้วนเป็นสปอนเซอร์ของฟีฟ่า รายได้ทั้งหมดจะไหลเข้ากระเป๋าของฟีฟ่า ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลแอฟริกาใต้เลยแม้แต่น้อย
สถิติปรากฏว่า ฟีฟ่าได้ัรับกำไรสูงถึง 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากฟุตบอลโลกครั้งนี้ สร้างสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์การทำรายได้จากบอลโลกของฟีฟ่า ส่วนแอฟริกาใต้ได้ลงทุนกว่า 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการจัดการแข่งขัน ซึ่งเกินกว่างบประมาณในขั้นต้นประมาณ 40 เท่าตัว คิดเป็น 1.72% ของจีดีพีประเทศแอฟริกาใต้ การลงทุนส่วนหนึ่งจะกลายเป็นปัญหาและภาระหนักอึ้งในอนาคต อย่างเช่นสนามกีฬาที่สร้างใหม่ในกรุงเคปทาวน์ ซึ่งได้ลงทุน 580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลังการแข่งขันฟุตบอลโลกแล้ว จะกลายเป็นสนามกีฬาที่รองรับผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลลีกแอฟริกาใต้ในทุก ๆ ปลายสัปดาห์ซึ่งมีจำนวนเพียงหสักพันคนเท่านั้น ฉะนั้น กำไรจากการจำหน่ายบัตรเข้าชมย่อมไม่พอที่จะจ่ายค่าดูแลรักษาสนามกีฬาอย่างแน่นอน
สำหรับฟีฟ่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้สำเร็จลงอย่างบริบูรณ์ เพราะบรรลุเป้าหมายด้านกำไรของตน สถิติที่เกี่ยวข้องจากองค์กรสำรวจระดับมืออาชีพแห่งหนึ่งปรากฏว่า ฟีฟ่าได้กำไรสูงถึง 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการขายสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันและสิทธิ์การเป็นสปอนเซอร์หลักในฟุตบอลโลกครั้งนี้ ซึ่งทำลายสถิติประวัติศาสตร์การทำกำไรจากการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า และวงเงินนี้ยังไม่ได้รวมส่วนแบ่งจากการจำหน่ายบัตรเข้าชมการแข่งขัันด้วย ส่วนรายจ่ายสำคัญของฟีฟ่าคือ นำเอา 14% ของกำไรจากการขายสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขัน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นรางวัลที่ให้แก่ 32 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ส่วนที่เหลือ 3,380 ล้านเหรียญสหรัฐ จะไหลออกจากแอฟริกาใต้อย่างไม่ต้องเสียภาษี และเข้ากระเป๋าฟีฟ่า
แล้วใครจะไปตรวจสอบบัญชีของฟีฟ่า จนถึงขณะนี้ยังคงไม่มีแน่นอน เคยมีผู้เชี่ยวชาญวงการกีฬาฟุตบอลโลกกล่าวถึงกระบวนการการเซ็นสัญญาระหว่างบริษัทผู้ที่ขอเป็นสปอนเซอร์กับฟีฟ่า คือนายเซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานแห่งฟีฟ่านำจะหารือกับคณะกรรมการฟีฟ่าในเรื่องนี้ก่อน และเขาจะนำทีมงานการบัญชีมาตรวจสอบพิจารณาอีกครั้ง ต่อจากนั้น เขาเองจะเป็นผู้นำคณะกรรมาธิการจัดการต่อเรื่องนี้ กล่าวคคือ อำนาจทั้งหมดรวมอยู่ในตัวเขาเพียงคนเดียว ไม่มีใครสามารถควบคุมเขาได้เลย
ปีหลัง ๆ นี้ สื่อมวลชนโลกหันมาให้ความสำคัญต่อปัญหาของฟีฟ่า นายเจมส์ ผู้สื่อข่าวจากอังกฤษกล่าวว่า " ฟีฟ่าได้กลายเป็นองค์การที่ผูกขาดของโลก และคงมีเรื่องที่ไม่ดีหลายเรื่องซ่อมอยู่ เมื่อปี 2008 ศาลท้องถิ่นแห่งหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ได้พิจารณาคดีเกี่ยวกับการล้มละลายของบริษัท ไอเอสเอล (ISL) และมีคำตัดสินว่า ฟีฟ่ามีเจตนาที่ให้ข้อมูลผิดในการสอบสวนคดีนี้ แต่ไม่มีใครออกมากฟ้องร้องต่อฟีฟ่า สุดท้ายฟีฟ่าได้จ่ายค่าิพิจารณาคดีคิดเป็นเงินเพียง 57,000 ปอนด์เท่านั้น ทำให้ตำแหน่งที่นั่งของนายเซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ยังคงมั่นคงอยู่ กลุ่มทนายความของฟีฟ่าดำเนินการอย่างคล่องตัวในสวิตเซอร์แลนด์อย่างไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางเลยทีเดียว"
(Ton/Lin)