เซิ่งหนาน
  2010-08-17 17:05:00  cri

เซิ่งหนาน (剩男) เป็นคำที่เกิดขึ้นจากเซิ่งหนู่ (剩女) มีหมายความว่า หนุ่มโสดที่มีอายุ 30-45 ปี เซิ่งหนานแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่

1. ผู้ชายสมบูรณ์แบบ

พวกเขาเป็นผู้ชายที่ยอดเยี่ยม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีการงานทำที่ดี มีเงิน หน้าตาหล่อเหลา เป็นเจ้าชายในฝันของบรรดาสาวๆ แต่เนื่องจากตัวเองเป็นคนที่สุดแสนเพียบพร้อม ดังนั้น จึงหวังว่าแฟนของตนก็ต้องเป็นคนที่สุดวิเศษเหมือนกัน พวกเขามักบ่นว่า ผู้หญิงบางคนหน้าตาดีแต่บุคลิกไม่ดี บุคลิกดีแต่หน้าตาไม่สวย ความจริง ผู้หญิงที่มีทั้งหน้าตาดีและบุคลิกดีเหมือนหมีแพนด้านั้นหายากมาก

2. เจ้าชู้

พวกเขาเหมือนผึ้งเก็บน้ำหวาน จะไม่อยู่กับดอกไม้ดอกเดียวตลอดไป ดังนั้น พวกเขาจึงมีความรักจริงยากมาก

3.เป็นคนที่ชอบอิสระเสรี

พวกเขาเคยชินกับการอยู่คนเดียว ชอบเสรี ไม่อยากจะมีแฟนเพราะกลัวว่าจะมาจำกัดเสรีของตัวเอง พวกเขาส่วนใหญ่เป็นโรคกลัวการแต่งงาน

4. บ้างาน

เป็นคนบ้าทำงานเกินไป ในใจของพวกเขามีแต่เรื่องของงานอย่างเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่องานเท่านั้น เลยไม่มีเวลาหาแฟน

5.คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี

พวกเขาไม่ใช่คนจนชนิดไม่มีงานทำและไม่มีอาหารกิน แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ในปัจจุบัน ผู้ชายที่ประสบความสำเร็จเป็นกลุ่มคนที่หายากมาก ผู้ชายส่วนใหญ่อายุ 30 ปีแล้ว ยังมีเงินน้อย ยังไม่ได้ซื้อบ้านและรถยนต์ จึงรู้สึกอาย เจียมเนื้อเจียมตัวและไม่กล้าจีบสาวๆ

ผู้หญิงมีแรงกดดันด้านการแต่งงานมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายมีแรงกดดันน้อยกว่าผู้หญิงจริงหรือไม่ ความจริงถ้าพูดถึงแรกกดดัน ผู้ชายในตัวเมืองมีแรงกดดันมากที่สุด พวกเขาต้องเหน็ดเหนื่อยจนน้ำตาแทบล่วง เพื่อครอบครัว ลูกและตัวเอง พวกเขามีแรงกดดันมากกว่าผู้หญิงอย่างมาก ต่อไปเราไปดูรายชื่อ 10 เมืองที่ผู้ชายมีแรงกดดันมากที่สุด ได้แก่

1.นครเซี่ยงไฮ้

ถ้าพูดถึงแรงกดดัน อันดับแรกก็ต้องที่นครเซี่ยงไฮ้ ศูนย์การเงินของโลกตะวันออก ผู้ชายในเมืองนี้มีแรงกดดันทางชีวิตความเป็นอยู่อย่างเห็นได้ชัด พร้อมๆ กับราคาบ้านยิ่งนับวันเพิ่มขึ้น พวกเขาไม่กล้าคิดจะแต่งงานกับสาวเซี่ยงไฮ้ด้วยกันเลยเพราะตัวเองมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี

2. กรุงปักกิ่ง

กรุงปักกิ่งซึ่งชาวจีนภูมิใจเป็นนักเป็นหนาที่ได้จัดงานกีฬาโอลิมปิก เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนอย่างเร็ว ราคาบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้ว่าผู้ชายชาวปักกิ่งก็มีแรงกดดัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างถิ่นที่ย้ายเข้ามาทำงานยิ่งมีแรงกดดันมาก

3.เมืองกวางโจว

เมืองกวางโจวก็เหมือนกรุงปักกิ่งเพราะเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนชัดเจนมาก แม้ว่าผู้ชายในเมืองนี้มีรายได้สูง แต่พร้อมๆ กับราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เมืองนี้มีคนเข้า-ออกนับแสนคนต่อวัน ทำให้เมืองกวางโจวกลายเป็นเมืองทำงานจริงๆ 60% ของผู้ชายที่ดำรงชีวิตในเมืองนี้มีจุดประสงค์เดียวกัน นั่นก็คือ เก็บเงินได้แล้วก็จะกลับบ้านเกิด

4.เมืองเซินเจิ้น

เมืองเซินเจิ้นเป็นเมืองนำร่องดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรของเมืองนี้เป็นชาวต่างถิ่น แม้ว่าตัวเมืองนี้เป็นเมืองที่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สำหรับผู้ชาย ความเงียบเหงาและแรงกดดันอาจเป็นเพื่อนสนิทของพวกเขาไปแล้ว เพราะว่า ราคาบ้านที่ตกประมาณ 40,000-50,000 หยวนต่อตารางเมตรทำให้ความรักมักจะไม่ผ่านการทดสอบและประสบความล้มเหลว แรงกัดดันของพวกเขาไม่เพียงแต่มาจากความเงียบเหงา แต่มาจากราคาบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

5.นครฉงชิ่ง

นครฉงชิ่งเป็นเมืองที่ได้ชื้อว่าเมืองแห่งหม้อไฟ หลังจากนครฉงชิ่งกลายเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ทำให้มีชาวต่างถิ่นย้ายมาอาศัยอยู่มากยิ่งขึ้น นครฉงชิ่งเป็นเมืองที่มีสาวสวยมาก แต่หนุ่มๆ ในเมืองนี้ กลับถูกเย้ยหยัน เพราะว่าสาวฉงชิ่งก็หนีไปแต่งงานกับหนุ่มในเมืองอื่น ผู้ชายในตัวเมืองนี้ก็มีรายได้ไม่ค่อยสูงนัก ซ้ำราคาบ้านยังสูงอีก แม้จะมีสาวสวยมากมาย แต่น้อยที่อยากแต่งงานกับหนุ่มท้องถิ่น

6.เมืองอู่ ฮั่น

เมืองอู่ อั่นเป็นเมืองที่มีนิคมอุตสาหกรรมนิวไฮเทค จึงดึงดูดบุคลากรด้านนิวไฮเทคจำนวนมากมารวมกัน จึงทำให้อัตราชาย/หญิงไม่สมดุล มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ชายในตัวเมืองนี้จึงมีแรกกดดันด้านการแต่งงานมาก

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040