ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ปักกิ่งเมื่อ 2 ปีก่อน มีโค้ชชาวจีนที่นำทีมนักกีฬาประเทศต่างๆ มาเข้าร่วมการแข่งขันหลายคน อาทิ หลาง ผิง ดาราวอลเลย์บอลหญิงชื่อดังของจีน หลังจากเลิกจากอาชีพนักกีฬา เธอเดินทางไปยังสหรัฐฯ และได้เป็นโค้ชและนำทีมวอลเลย์บอลหญิงสหรัฐฯ มาเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ปักกิ่ง และสามารถเอาชนะทีมจีนด้วยผลการแข่งขัน 3 ต่อ 2 เ็ซ็ต นายหลิว กั๋วตุ้ง อดีตสมาชิกทีมปิงปองชายจีน ที่เุคยครองแชมป์โลกหลายครั้ง นำทีมสิงคโปร์มาร่วมการแข่งขัน และบุกเข้ารอบชิงแชมป์ประเภททีมหญิง นายเฉียว เหลียง อดีตสมาชิกทีมยิมนาสติกชายจีน นำทีมนักกีฬายิมนากติกหญิงสหรัฐฯ มาร่วมการแข่งขัน และลุ้นเหรียญทองประเภทหญิงบุคคลอุปกรณ์รวมไปครอง พร้อมๆ ในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนด้านการกีฬาระหว่างประเทศมากขึ้น ก็มีโค้ชจีนไปฝึกสอนในต่างประเทศมากขึ้น และในกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 ที่กำลังจัดอยู่ที่เมืองกว่างโจว ก็มีโค้ชชาวจีนที่นำทีมประเทศต่างๆ ของเอเชียมาร่วมการแข่งขันหลายคน
ในสนามจัดการแข่งขันปิงปองเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ผู้ชมมักจะเห็นชายชราคนหนึ่ง ฝึกสอนนักกีฬาอย่างเอาจริงเอาจัง นั่นคือ นายโจว ซู่เซิน โค้ชทีมปิงปองหญิงของสิงคโปร์ ปัจจุบันอายุ 69 ปีแล้ว เขาเคยเป็นโค้ชทีมจีน และทีมปักกิ่ง เคยนำสมาชิกนักกีฬาจีนชิงแชมป์การแข่งขันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศแล้วมากมาย และได้สร้างนักกีฬาปิงปองยอดเยี่ยมที่สุดของโลกขึ้นมาหลายคน อาทิ จาง อี่หนิง หลี่ เจียเวย และกัว เอี๋ยน เป็นต้น เมื่อปี 2009 เขาได้รับเชิญจากสมาคมปิงปองสิงค์โปร์ ให้ไปเป็นโค้ชทีมหญิงของสิงคโปร์ ต่อจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เขาก็นำทีมปิงปองหญิงสิงคโร์ เอาชนะทีมหญิงจีนในรอบชิงแชมป์ของการแข่งขันปิงปองชิงแชมป์โลกประจำปีนี้
จากสถิติที่พอรวบรวมได้ปรากฏว่า มีโค้ชชาวจีนจำนวนประมาณ 20 คน นำทีมต่างประเทศมาร่วมการแข่งขันในเอเชียมเกมส์กว่างโจวครั้งนี้ พวกเขาได้นำประสบการณ์ วัฒนธรรมและมิตรภาพไปเผยแพร่ให้กับนักกีฬาประเทศต่างๆ เมื่อทบทวนประวัติศาสตร์ในด้านนี้ คงจะต้องมองย้อนกลับไปในปี 1957 อดีตคณะกรรมการการกีฬาแห่งชาติหรือสำนักงานการกีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน ได้จัดส่งโค้ชลุ่มแรกไปยังเวียดนาม ซึ่งนับเป็นการเปิดฉากการจัดส่งโค้ชไปช่วยนักกีฬาต่างประเทศพัฒนาฝีมือ ช่วง 53 ปีที่ผ่านมา มีโค้ชชาวจีนจาก 38 ประเภทกีฬาจำนวนกว่า 2,600 คน ได้รับเชิญไปสอนนักกีฬาของ 124 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก นักกีฬาที่เคยได้รับการฝึกอบรมจากพวกเขา ส่วนใหญ่มีความสามารถเก่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โค้ชชาวจีนเหล่านี้ ก็ได้รับขนานนามว่า "ทูตมิตรภาพ" และได้กลายเป็น "สะพานแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม"
นายซุน เจี้ยนหมิง โค้ชอูซูของจีนที่ไปสอนในญีุ่่ปุ่นกล่าวว่า "สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ คือเผยแพร่วูซูของจีน รวมถึงวัฒนธรรมจีน เราได้ใช้ความพยายาม จนเห็นผลและการเปลี่ยนแปลงอย่า่งชัดเจน โดยเฉาพะนักกีฬาและประชาชนของประเทศที่เราไปทำงานอยู่ พากันเกิดความสนใจและมีความคิดเชิงบวกมากขึ้นต่อจีน สิ่งนี้ทำให้เรารู้สึกคุ้มค่ามาก"
เมื่อโค้ชชาวจีนเหล่านี้นำทีมประเทศต่างๆ ไปชิงเหรียญรางวัลในการแข่งขันระหว่างประเทศ ช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาการกีฬาของประเทศนั้ัน บางครั้งยังได้มีโอกาสเข้าพบกับผู็้นำประเทศนั้นๆ ด้วย กระทั่งได้รับการยอมรับระดับชาติ ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างสูง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ต้องแลกมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยทางร่างกายและความเงียบเหงาทางจิตใจ เพราะคิดถึงญาติพี่น้องในประเทศจีน
นายไช่ เจิ้งหวา รองผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งชาติจีน อดีตนักกีฬาปิงปองชื่อดังระดับโลก หลังจากเลิกเล่นเป็นนักกีฬาอาชีพเมื่อทศวรรษปี 1980 แล้ว ก็เคยไปเป็นโค้ชในต่างประเทศ เขากล่าวว่า "ช่วง 4 ปีนั้น เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนจากนักกีฬาไปเป็นโค้ช มีสิ่งที่น่าคิดมากมาย ทั้งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิตของผมเอง จึงเป็นที่น่าจดจำมาก"
ขณะที่การกีฬาจีนกำลังเรียนรู้ประสบการณ์จากทั่วโลก โค้ชชาวจีนที่ไปสอนในต่างประเทศ ก็ทำให้ประเทศต่างๆ มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ที่ได้เปรียบของจีน และนำแนวคิดการฝึกสอนของจีนไปผสมผสานกับแนวคิดและวัฒนธรรมของประเทศนั้น ส่งเสริมให้ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและการกีฬาของจีนให้ดีขึ้น
(Ton/Lin)