การสำรวจของทางการปรากฏว่า สุขภาพร่างกายของนักเรียนจีนอ่อนแอลงเรื่อยๆ ปีหลังๆ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพของเด็กมากขึ้น ระหว่างช่วงที่จัดการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติและสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนหรือการประชุมสองสภา ประจำปี 2554 ที่เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล โดยมีข้อเสนออยา่งชัดเจนว่า " ต้องประกันให้เด็กนักเรียนประถมและมัธยมมีเวลาฝึกกีฬาในโรงเรียนวันละ 1 ชั่วโมง "
ดร. เหมา เจิ้นหมิงผู้อำนวยการสถาบันกีฬามหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์ปักกิ่งกล่าวว่า ที่จริงแล้ว เมื่อปี 2550 คณะรัฐมนตรีจีนก็ได้ประกาศข้อเสนอดังกล่าว เพราะการฝึกกีฬาวันละ 1 ชั่วโมงถูกต้องตามกฎเกณฑ์าการกีฬาในโรงเรียน แต่นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่าต้องเน้นข้อเสนออีกครั้งในการประชุมสองสภาเมื่อต้นปีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ก็ตาม แต่โรงเรียนในท้องทั้งหลายยังไม่ได้ปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ทำให้ปัญหาสุขภาพร่ายกายของเด็กนักเรียนน่าห่วงมากยิ่งขึ้น
นายหยาง กุ้ยเหริน อธิบดีกรมการกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัยและศิลปะกระทรวงศึกษาธิการจีนกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ที่ทางการจีนได้ประกาศ "ความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนฝึกกีฬามากขึ้นเพื่อยกระดับสุขภาพร่ายกายให้ดีขึ้น" เป็นต้นมา โรงเรียนในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศมีเสียงตอบรับอย่างแข็งขัน ทางการพื้นที่ต่างๆ ก็ได้ออกมาตรการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียนมีเวลาออกกำลังกายในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาที่ขัดขวางการพัฒนาการกีฬาในโรงเรียน
อย่างเช่นในเขตพื้นที่ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยพัฒนาบางแห่ง งบประมาณด้านการศึกษามีสัดส่วนน้อยมาก ทำให้โรงเรียนชั้นประถมและมัธยมขาดแคลนสนามกีฬา หรือมีสนามกีฬาเล็กๆ มีอุปกรณ์กีฬาน้อย ครูสอนกีฬาก็น้อยมาก เป็นต้น รวมถึงนักเรียนจากครอบครัวที่ยากจนในเขตชนบทมีปัญหาด้านอาหารการกิน ทั้งนี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ขัดขวางการพัฒนากีฬาโรงเรียนอย่างหนัก
ทางการจีนมีข้อกำหนดว่า โรงเรียนชั้นประถมปีที่ 1 – 2 ควรมีเวลาฝึกกีฬาอาทิตย์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที ส่วนนักเรียนปีที่ 3 – 6 ควรมีเวลาฝึกกีฬาอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที แต่เมื่อเดือนเมษายน 2552 มีการสุ่มสำรวจจากทางการปรากฏว่า มีโรงเรียนชั้นประถมเพียง 19.1% และโรงเรียนชั้นมัธยมเพียง 43.1% ที่ทำตามข้อกำหนดดังกล่าว โรงเรียนประถมบางแห่งถึงขั้นไม่ได้จัดมห้มีการเรียนวิชาพละศึกษา ไม่มีการฝึกกีฬาให้เด็กเลย
การสำรวจยังปรากฎกว่า แม้ว่า่ปีหลังๆ นี้ โรงเรียนต่างๆ ได้แก้่ไขปัญหา "เวลาออกกำลังกายของนักเรียนชั้นประถมและมัธยมมีน้อย" ให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในด้านการปฏิบัติตามข้อเสนอที่ว่า " ต้องประกันให้เด็กนักเรียนประถมและมัธยมมีเวลาฝึกกีฬาในโรงเรียนวันละ 1 ชั่วโมง " นั้นยังมีปัญหามากมาย เช่นงบประมาณไม่พอ
โรงเรียนประถมในชนบทแห่งหนึ่งของมณฑลเหอหนัน มีนักเรียน 122 คน แต่การคลังท้องถิ่นเพียงสามารถจ่ายเงินเดือนครู 6 คนเท่านั้น ไม่มีครูสอนพละศึกษาโดยเฉพาะ เมื่อถึงเวลาเรียนพละ เด็กนักเรียนชายจะเล่นบาสหรือฟุตบอลเอง ส่วนเด็กหญิงก็ถือเป็นเวลาว่าง เจ้าหน้าที่กรม
สามัญศึกษามณฑลเหอหนันบอกกับผู้สื่อข่าวว่า โรงเรียนชั้นประถมและมัธยมในเขตชนบทใีจำนวนกว่า 75% ขาดแคลนครูสอนกพละศึกษาและอุปกรณ์กีฬา
ดร. เหมา เจิ้นหมิงผู้อำนวยการสถาบันกีฬามหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์ปักกิ่งชี้ให้เห็นว่า นอกจากปัญหาด้านการคลังแล้ว การที่โรงเรียนต่างๆ ให้การบ้านนักเรียนหนักเกินไป โดยมุ่งให้นักเรียนของตนได้คะแนนสูง เพื่อจะได้มีโอกาสเข้าเรียนต่อในโรงเรียนชื่อดัง เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายที่ว่า "ให้เด็กนักเรียนมีเวลาออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมงคือ"
ดร. เหมา เจิ้นหมิงยังกล่าวว่า แรงกดดันด้านการหางานทำในสังคมค่อนข้างหนัก นักเรียนพากันแย่งชิงโอกาสเข้าเรียนต่อในโรงเรียนชื่อดัง พ่อแม่ผู้ปกครองตั้งความหวังไว้กับลูกมากเกินไป ตลอดจนระบบการประเมินผลของหน่วยงานศึกษาและโรงเรียนไม่สมเหตุสมผล เป็นต้น ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระเป๋าหนังสือของเด็กนักเรียนหนักยิ่งขึ้น และมีเวลาออกกำลังกายน้อยลงเรื่อยๆ ผลสุดท้ายคือสุขภาพของเด็กนักเรียนแย่ลงเรื่อยๆ
(In/Lin)