วันที่ 10 กันยายนศกนี้ งานกีฬาชนเผ่าทั่วประเทศจีนจะเปิดขึ้นที่เมืองกุ้ยหยางเมืองเอกมณฑลกุ้ยโจวทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
จีนเป็นประเทศที่มีหลายๆ ชนเผ่า แต่เนื่องจากกาลเวลาทำให้ชนเผ่าเล็กๆ บางเผ่าค่อยๆ สูญพันธุ์ ดังนั้น เมื่อหลายสิบปีก่อน รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนจีนได้มีการสำรวจหรือค้นหาชนเผ่าที่ยังมีเอกลักษณ์ของตนอย่างเห็นได้ชัด และยังคงรักษาขนบประเพณีพื้นบ้านหรือดำรงชีวิตตามความเคยชินของชนเผ่า แล้วสรุปว่า จนถึงปัจจุบัน จีนมีชนเผ่า 56 เผ่า ในจำนวนนี้ มี 5 ชนเผ่าหลักคือ ชนเผ่าฮั่น มองโกล ทิเบต หุยหรือมุสลิมและแมนจู
ชนเผ่าฮั่นก็คือชาวจีนทั่วไปที่เราเห็นอยู่ทั่วประเทศจีน ไม่ว่าชาวแต้จิ๋ว ชาวเซี่ยงไฮ้หรือชาวปักกิ่ง ล้วนเป็นชาวฮั่นหมด และเป็นสัดส่วนเกือน 95%ของประชากรทั่วประเทศจีน ส่วนชาวมองโกล ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ชนเผ่าทิเบตส่วนใหญ่อาศัยบนที่ราบสูงชิงจ้างหรือที่ราบสูงทิเบต – ชิงไห่ ซึ่งอยู่เขตภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ชนเผ่าหุยหรือชาวมุสลิม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลหนิ่งเสี้ยและเขตปกครองตนเองอุยกุรซินเกียง ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ส่วนอีกชนเผ่าซึ่งเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ฟังคือ ชนเผ่าไต่หรือไทใหญ่ ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนามณฑลยูนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
สาธารณรัฐประชาชานจีนสถาปนาขึ้นเมื่อปี 1949 ทางการจีนให้ความสำคัญอย่างมากต่อชนเผ่าต่างๆ ทั่วประเทศจีน
เมื่อปี 1953 ที่นครเทียนสินทางภาคเหนือของจีน มีการเปิดงานกีฬาชนเผ่าทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นงานกีฬาที่ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างชนเผ่า แสดงให้เห็นถึงนโยบายชนเผ่าของจีนที่เน้นความเสมอภาค ทำให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่ถูกกดขี่ในสังคมเก่ามาเป็นเวลาพันปี สามารถเอากีฬาพื้นเมืองของตน ไปร่วมแข่งขันกับชนเผ่าอื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงชนเผ่าฮั่นด้วย
จนถึงปี 1982 จีนได้จัดงานกีฬาชนเผ่าทั่วประเทศครั้งที่ 2 ที่เมืองฮูฮอทเมืองเอกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ตั้งแต่นั้นมา ก็มีากรจัดงานกีฬานี้เป็นประจำทุก 4 ปีครั้งมาโดยตลอด
แน่นอน รายการแข่งขันกีฬาชนเผ่า ส่วนใหญ่ไม่ใช่กีฬาที่เราเห็นกันอยู่ในงานกีฬาทั่วไป แต่เป็นรายการแข่งขันของแต่ละชนเผ่า ซึ่งมีเอกลักษณ์ของตน เป็นทั้งกีีฬาหรือเกมส์การละเล่นพื้นบ้านดั้งเดิมของชนเผ่าต่างๆ บางอย่างเราคงเคยเห็นมาแล้ว แต่บางอย่างคงยังไม่เคยเห็น แต่เมื่อได้เห็นแล้ว จะรู้สึกสนุกมาก
อย่างเช่นในงานกีฬาชนเผ่าทั่วประเทศจีนครั้งที่ 9 ที่จะเปิดขึ้นที่เมืองกุ้ยหยางเมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจว ก็มีรายการแข่งขันอย่างหนึ่งชื่อ ตู๋จู๋เพียว ซึ่งเป็นรายการกีฬาพื้นบ้านทางภาคเหนือของมณฑลกุ้ยโจว
วิธีการเล่นคือ นักกีฬาต้องยืนอยู่บนไม้ใผ่ท่อนหนึ่งที่ลอยอยู่ในน้ำ และใช้ไม้ใผ่ลำเล็กๆ เป็นพาย พายไปเหมือนเรือพร้อนแสดงท่าทีลีลาต่างๆ บนทอนไม้ใผ่ เพื่อให้เห็นถึงฝีมือ ความเก่ง ความคล่องตัวของนักกีฬา
จนถึงปัจจุบัน เมื่อมีการแข่งขัน นักกีฬาที่เล่นกีฬาชนิดนี้ไม่ใช้ท่อนไม้ใผ่อีกแล้ว และจะยืนบนแท่งแก้วที่มีการกำหนดมาตรฐานคือ ความยาว 7 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.16 เมตร ส่วนที่เป็นพายเยาวประมาณ 4.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.04 เมตร เท่านั้น
มวยปล้ำเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมจากหลายชนเผ่าทั่วประเทศจีน แต่ละชนเผ่ามีวิธีหรือกติกาในการละเล่นของตน ดังนั้น ในงานกีฬาชนเผ่าทั่วประ้ทศจึงมีการจัดการแข่งขันมวยปล้ำ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภทตามชนเผ่า คือ มวยปล้ำแบบชนเผ่ามองโกเลีย มวยปล้ำแบบชนเผ่าอุยกุรซินเกียง มวยปล้ำของชนเผ่าทิเบต มวยปล้ำของชนเผ่าอี๋ และมวยปล้ำของแมนจู
แน่นอน ผู้ครองแชมป์มักจะเป็นนักกีฬาจากชนเผ่าเดียวกัน แต่นักกีฬาของชนเผ่าอื่นก็สามารถมาร่วมได้ ถ้าฝีมือเก่งกว่า และมีความสามารถก็คว้าแชมป์ไปครองก็ได้
รายการแข่งขันที่มีนักกีฬาเข้าร่วมมากที่สุดย่อมจะเป็น วูซู หรือวิทยายุทธจีน เพราะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากประชาชนทั่วประเทศจีน ไม่ว่าเป็นชนเผ่าฮั่นที่ครองสัดส่วนกว่า 95% ของประชากรทั่วประเทศ หรือประชาชนของอีก 55 ชนเผ่า ที่มีประชากรรวมแล้วเป็นสัดส้่วนประมาณ 5% ของประชากรทั่วประเทศก็ตาม
สำหรับชนกลุ่มนอยที่มีประชากรไม่มากบางเผ่า ก็มีรายการกีฬาที่มีเอกลักษณ์ของตน และสนุกมาก อย่างเช่นชนเผ่าคาซัคที่อาศัยอยู่ตามเขตชายแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ก็มีรายการกีฬาอย่างหนึ่งชื่อ "กูเนียงจุย" แปลว่า สาวไล่ตาม
รายการนี้คงไม่ใช่รายการแข่งขันในงานกีฬาทั่วไป แต่เป็นรายการแสดงหรือการละเล่นมากกว่า กติกาการละเล่นคือ ผู้ที่ร่วมเล่น จะแบ่งเป็นทีมชายกับทีมหญิงสองกลุ่ม โดยแต่ละรอบ ทีมชายจะมีคนออกหนึ่งคน ทีมหญิงก็จะมีคนออกหนึ่งคน และขี่ม้าไปยังเป้าหมายเดียวกัน ระหว่างทางขายไป ฝ่ายชายสามารถแสดงความรักต่อฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะต้องไม่ตอบโต้ แต่พอขากลับ ฝ่ายชายต้องเร่งม้าให้วิ่งเร็วขึ้น ส่วนฝ่ายหญิงต้องไล่ตามหลัง เมื่อวิ่งเข้าใกล้ตัวฝ่ายชายแล้ว ก็สามารถใช้แส้ตีฝ่ายชายได้ตามใจชอบ ทีนี้ ฝ่ายชายจะตอบโต้ไม่ได้ ซึ่งถือเป็นการแสดงความรักต่อกัน
สำหรับชนเผ่าคาซัค ยังมีกีฬาสำหรับผู้ชาย คือ มวยปล้ำบนหลังม้า คือนักกีฬาที่เป็นคู่แข่งขี่ม้าไปพร้อมกัน และแข่งกันบนหลังม้า แต่ต้องไม่ดึงผ้าของอีกฝ่ายหนึ่ง และห้ามชกกันแบบชกมวย แต่จะสามารถสู้กันตามกติกามวยปล้ำ และพยายามทำให้คู่แข่งตกลงจากม้า
กีฬาที่มีแต่นักกีฬาหญิงเข้าร่วมแข่งขัน "ติ่งเวิ่งจิ้งโจ่ว" แปลว่าการแข่งวิ่งถังน้ำ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมในเขตปกครองตนเองชนเผ่าเกาหลีที่อยู่ศัยอยู่ตามเขตชายแดนทางภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของจีน กติกาการแข่งขันคือ นักกีฬาต้องเอาถังน้ำที่มีน้ำ 10 กิโลกรัมวางบนหัว เมื่อผู้ตัดสินให้สัณญาณเริ่มการแข่งขัน นักกีฬาต้องวิ่งให้เร็ว ใครสามารถเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกโดยที่ถังไม่ตกลงมา และไม่มีน้ำหก ก็ถือว่าเป็นผู้ชนะ
ส่วนกีฬาที่มีแต่นักกีฬาชายเข้าแข่งขันคือ "ยาเจีย" เป็นคำทิเบต แปลว่า ชักเย่อ เป็นการละเล่นที่นิยมกันในเขตทิเบตของจีน ผู้แข่งขันมี 1 คู่ เป็นชายทั้งคู่ กติกาการแข่งขันคือนักกีฬาชาย 2 คน หันหลังให้กัน ชักเชือกเส้นเดียวกันที่ม้วนเป็นวงกลม เพื่อพยายามลากอีกคนหนึ่งให้เข้าเส้นตาย
ส่วนรายการแข่งขันที่เป็นที่ชื่นชอบจากผู้ชม และทำให้เกิดความสนุกสนานมากอีกอย่างหนึ่ง น่าจะเป็นการแข่ง "ปั่นเสียจิ้งซู่" แปลว่าการแข่งวิ่งรองเท้าไม้ เป็นรายการแข่งขันที่เป็นทีม ทีมละ 3 คน สมาชิกในทีมทั้ง 3 คนใส่รองเท้าคู่เดียวที่ทำด้วยไม้ เมื่อเริ่มการแข่งขัน ต้องพยายามออกก้าวในจังหวะเดียวกัน ทั้งต้องวิ่งเร็ว ซึ่งรายการแข่งขันนี้ นักกีฬาแต่ละคนต้องร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว และประสานกันอย่างดี มิฉะนั้นจะล้มได้ง่าย
เว็บไซด์งานกีฬาชนเผ่าทั่วประเทศจีนครั้งที่ 9 http://www.9mzydh.gov.cn/
(In/Lin)