อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เมื่อกว่า 200 ปีก่อน กรุงเทพฯ ยังคงเป็นเพียงศูนย์การค้าและเมืองท่าขนาดเล็กเท่านั้น เมื่อปี 1767 อยุธยากรุงเก่าถูกทหารพม่าบุกทำลาย ต่อมาปี 1782 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชโองการย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งธนบุรีฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานนามว่า "กรุงเทพฯ" ซึ่งมีความหมายว่า นครแห่งทวยเทพ เมื่อเศรษฐกิจของไทยพัฒนาก้าวหน้า ก็เริ่มขยายเมืองไปยังทิศตะวันออกและทิศเหนือ ในสมัย รัชกาลที่ 5 ซึ่งตรงกับช่วงกลางและช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการก่อสร้างกลุ่มมหาราชวังทางทิศเหนือ ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องในรัชกาลถัดมา พร้อมกันนี้ บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาค่อยๆ พัฒนามาเป็นศูนย์เศรษฐกิจ หลังศตวรรษที่ 20 ศูนย์กลางเมืองหลวงได้ย้ายมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็คือที่ตั้งของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ส่วนฝั่งตะวันตกได้กลายเป็นเขตเมืองเก่า
ที่ตั้งของกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำ มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน และมีการขุดคลองอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 กรุงเทพฯ พัฒนามาเป็นเมืองหลวงทางน้ำ มีเรือต่อติดกันยาวเหยียดในแม่น้ำ มีการขนส่งสินค้าอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีตลาดน้ำ จึงมีสมญาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก" แต่เมื่อระบบการคมนาคมขนส่งทางบกและการค้าอุตสาหกรรมสมัยใหม่เข้ามา เส้นทางสายน้ำก็ค่อยๆ ลดบทบาทในการเป็นเส้นทางสายหลัก เริ่มตั้งแต่ปี 1969 สายน้ำส่วนใหญ่ถูกถมเป็นที่ราบ และตัดเป็นทางหลวงที่แออัด จนถึงขณะนี้เหลือแม่น้ำลำคลองที่ไหลผ่านเขตเมืองอย่างเลี้ยวลดคดเคี้ยวนั้นเพียงกว่าสิบสายเท่านั้น