“จีนในวันนี้” กับ “ความมั่นใจ” ที่เต็มเกินร้อย

2019-03-06 11:00:00 | CRI
Share with:

图片默认标题_fororder_20190306-1

การประชุม “สองสภา” แห่งชาติจีนประจำปี 2019 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นการประชุมสำคัญสุดที่จะจัดขึ้นเป็นประจำในฤดูใบไม้ผลิของทุกปี อันเป็นฤดูกาลที่สรรพสิ่งกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง  เป็นการประชุมที่บรรจุการรอคอยและความคาดหวังของปวงประชาชาติจีนที่มีต่ออนาคตเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยม  ซึ่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา  นายหลี่ เค่อเฉียง  นายกรัฐมนตรีจีนได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาของรัฐบาลต่อที่ประชุม  และรายงานดังกล่าวยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเป้าหมายสำคัญประจำปีที่รัฐบาลหมายมั่นไว้ด้วย  ซึ่งประชาชนจีนทุกเผ่าชนทั่วประเทศจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันของปี

กล่าวได้ว่าชาวจีนในขณะนี้กำลังพูดคุยกับโลก  หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับทั่วโลกด้วยความผ่อนคลายและมาดมั่น   กว่า 30 ปีที่จีนทำการปฏิรูปเปิดประเทศ ได้เกิดการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ จากเดิมที่เคยยากจนและด้อยพัฒนา กลายเป็นมีเศรษฐกิจพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และกลายมาผู้สร้างตำนาน “ปาฏิหาริย์แห่งจีน”

图片默认标题_fororder_20190306-2

ปัจจุบัน เมื่อชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น พอได้ยินว่ามาจากประเทศจีน ก็จะได้รับเสียงชื่นชมด้วยไมตรีจิตมากขึ้นเรื่อยๆด้วย นอกจากนี้  คำว่า “เมดอินไชน่า”  ก็ไม่ได้แฝงนัยถึงสินค้าตลาดล่าง ของปลอม หรือสินค้าด้อยคุณภาพอีกต่อไป  และแบรนด์สมาร์ทโฟนจีน ไม่ว่าจะเป็นหัวเหวย เสียวหมี่ วีโว้ ออปโป้ ต่างก็มีศักยภาพที่จะแข่งขันกับบริษัทชั้นนำระดับโลกได้แล้ว 

สภาวะใหม่ทางเศรษฐกิจของจีนเหล่านี้  ได้บีบบังคับให้จีนต้องเร่งความเร็วในการยกระดับเศรษฐกิจ  และเพิ่มคุณภาพในการพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างมากตามไปด้วย โดยในบางอุตสาหกรรมนั้น  วิสาหกิจจีนที่ซึ่งเคยเป็นผู้ตาม  ได้พลิกมาเป็นผู้นำบ้างแล้ว  เรียกได้ว่าเป็นปาฏิหาริย์อย่างใหม่ในกระบวนแห่งการพัฒนาของจีนอีกครั้งหนึ่ง  ต่อจากการปฏิรูปและเปิดประเทศ  ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นผลมาจากแนวทางทฤษฎีและระบอบที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติจีน  ทำให้คนจีนมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

จากการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง  ไปจนถึงการจัดประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ที่เมืองหางโจว  จากนโยบาย “1 แถบ 1 เส้นทาง” จนถึงประชาคมร่วมทุกข์ร่วมสุขแห่งมวลมนุษยชาติ   บทบาทของจีนบนเวทีสากลเริ่มมีมาดของประเทศใหญ่ที่สามารถแบกรับภาระใหญ่หลวงได้แล้ว  พร้อมกันนั้นก็ได้รับการยอมรับและความนับถือจากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆด้วย

ดังนั้น “ความมั่นใจในตนเอง” ได้กลายมาเป็นอากัปกิริยาร่วมกันของประเทศและประชาชนจีน ไม่เพียงแต่ชาวจีนทั้งในและนอกประเทศเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปและเปิดประเทศ แต่ทั่วโลกเองก็กำลังเรียนรู้และทำความเข้าใจแก่นแท้ “รถไฟแม็กเลฟจีน” อย่างลึกซึ้งเช่นเดียวกัน

图片默认标题_fororder_20190306-3

ปัจจุบัน เส้นทางรถไฟความเร็วสูงได้นำจีนเชื่อมต่อไปยังทั่วโลก  วิสาหกิจจีนได้นำประสบการณ์และโมเดลรถรุ่นใหม่ๆออกไปนอกประเทศ  การดำเนินตามนโยบาย “1 แถบ 1 เส้นทาง” ก็ยังคงรุดหน้าไปเรื่อยๆ ซึ่งทุกย่างก้าวของจีน ก็ได้ยังคุณประโยชน์ให้กับโลกนานัปการ  การแสวงหาความก้าวหน้าในแต่ละครั้งนี้  ถือเป็นการเสนอ “เทคโนโลยีจีน” แก่โลก  ภูมิปัญญาและคุณูปการจากจีน จึงไม่เพียงแต่จะทำให้ชาวจีนมีเหตุผลที่จะเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นเท่านั้น  หากยังช่วยให้ทั่วโลกเกิดความมั่นใจกับการพัฒนาสู่ความเจริญมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย  โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการพัฒนาของจีน

สำหรับในประเทศจีนเอง ผลประโยชน์และโอกาสต่างๆได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่ชนบทที่มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน โดยเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว “ซินหราน” เป็นเด็กในชนบทอีกคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสเข้าศึกษาต่อในชั้นประถมปีที่หนึ่ง พ่อแม่ของเธอดีใจมากที่ลูกสาวมีโอกาสเรียนต่อ และที่สำคัญคือ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนและค่าหนังสือแบบเรียนเลยด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลจีนออกนโยบายที่กำหนดว่า  จะทำการปรับโอกาสเข้าถึงการศึกษาของเด็กในเขตเมืองและชนบทให้เท่าเทียมกันมากขึ้น  และจะดำเนินตามนโยบาย “ฟรีสอง ชดเชยหนึ่ง” คือ เด็กจากครอบครัวที่ยากจนในชนบททั่วประเทศจีน จะได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนและค่าหนังสือแบบเรียน และจะมีเงินชดเชยช่วยเหลือในการดำรงชีพให้อีกจำนวนหนึ่งด้วย

ดังนั้น มณฑลชิงไห่ ดินแดนชั้นในทางตะวันตกของจีน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของซินหรานนั้น  ก็ได้ทำการผนวกรวม “แผนการสองระยะ” แต่เดิมของรัฐบาลให้กลายเป็น “แผนการระยะเดียว”  โดยเมืองซีหนิง เมืองเอกของมณฑลชิงไห่ ได้ดำเนินการตามนโยบายเรียนฟรีโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ปีที่แล้ว  ดังนั้น การได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าเทอมและค่าหนังสือแบบเรียนนั้น  คือประโยชน์ส่วนหนึ่งที่ประชาชนในชนบทได้รับจากนโยบายนี้

图片默认标题_fororder_20190306-4

ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลจีนเล็งเห็นว่า การศึกษานั้นได้บรรจุอนาคตของ “บ้านหลังใหญ่”  คือประเทศจีนเอาไว้ ขณะเดียวกันก็เป็นตัวบ่มเพาะความหวังของ “บ้านหลังเล็ก”  ของประชาชนนับสิบล้านครัวเรือน  รัฐบาลจีนจึงเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี  และในแต่ละปีก็จะมีนโยบายใหม่ๆ ออกมา  เพื่อให้เด็กๆ จากครัวเรือนต่างๆ ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นทุกปี

อีกหนึ่งตัวอย่างของการยกระดับความเป็นอยู่พัฒนาพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลความเจริญของจีน คือ การพัฒนาตำบลเต๋อซิง ในอำเภอโม่ทัว เขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งเป็นตำบลที่มีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆอาศัยอยู่รวมกัน  โดยมีชนเผ่า “เหมินปา” เป็นจำนวนมากที่สุด  เนื่องจากที่นี่เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง การคมนาคมก็ไม่สะดวก การติดต่อและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภายนอกเป็นไปได้ยาก ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างเชื่องช้า 

แต่เมื่อปี 2013  ทางหลวงสายโม่ทัวสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้รถวิ่ง  จึงนับเป็นการปิดฉากประวัติศาสตร์การเป็น “อำเภอเดียวในประเทศจีนที่ถนนเข้าไม่ถึง”  ตำบลโม่ทัวที่ล้าหลังห่างไกลความเจริญ ได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่โดดเดี่ยวมาเป็นพื้นที่คึกคัก การพัฒนาก็รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลทางสถิติของตำบลโม่ทัวแสดงว่า  ปีที่แล้ว  แหล่งท่องเที่ยวโฮมสเตย์จำนวน 4 แห่งในพื้นที่ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวกว่า 5,800 คน  สร้างมูลค่าถึง 250,000 หยวน  ทำให้ชาวบ้านท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น 80,000 หยวน  พร้อมกันนั้น  เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ยังจะได้รับเงินชดเชยจากการช่วยปลูกป่า  ค่าชดเชยจากการช่วยเป็นหูเป็นตาให้ตามแนวชายแดน และค่าชดเชยจากการเลี้ยงแม่พันธุ์สุกรจากรัฐบาลทุกๆ ปีด้วย

  • เสียงข่าวประจำวัน (05-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (04-05-2567)

  • เกาะกระแสจีน (04-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (03-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (03-05-2567)

何喜玲