บทวิเคราะห์ : นักการเมืองสหรัฐฯ เล่นเกม“ปัดความรับผิดชอบ”

2020-08-07 14:43:36 | CRI
Share with:

“พวกเขาหมายจะโยนความผิดการระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ไปที่จีน ก็คืออยากจะแก้ประวัติศาสตร์และปกปิดความล้มเหลวของตัวเอง” วันที่ 4 สิงหาคม ดร.ริชาร์ด ฮอร์ตัน บรรณาธิการใหญ่ The Lancet เผยแพร่บทความในหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ ระบุว่า ภายใต้การนำของรัฐบาลสหรัฐฯ นักการเมืองตะวันตกยกระดับการโจมตีจีนสูงขึ้นซึ่ง “ไม่ตรงกับความเป็นจริง” ที่ว่า นักวิทยาศาสตร์จีนอุทิศกำลังเพื่อรับมือการระบาดของโรคติดต่อระดับโลกรอบนี้อย่างโดดเด่น

คำประเมินดังกล่าวของดร.ริชาร์ด ฮอร์ตัน สะท้อนความเป็นจริงเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็คือความมุ่งหมายของนักการเมืองสหรัฐฯ ในการ “ปัดความรับผิดชอบ” และมุ่งกล่าวโทษจีนนั้น ถูกทั่วโลกมองทะลุปรุโปร่งแล้ว แต่ทว่าเบื้องหน้าของสถานการณ์โควิด-19 ที่นับวันยิ่งเลวร้ายลงนั้น ประกอบกับแรงกดดันจากการเลือกทั่วไปที่กำลังใกล้เข้ามา ทำให้นักการเมืองสหรัฐฯ ดูเหมือนจะไม่มีไม้ไหนอีกแล้ว ยกเว้นลูกไม้เก่าไม้นี้

ต่อหน้าความจริงและวิทยาศาสตร์ นักการเมืองสหรัฐฯ กลับมองไม่เห็น ได้แต่เห็นแก่ตัวในมุมการเมืองอันคับแคบจนทำการตัดสินทางยุทธศาสตร์ผิดพลาด กระทั่งหมายจะก่อ “สงครามเย็นรอบใหม่” ตั้งแต่กุข่าวทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดไปจนถึงใส่ร้ายจีน “จารกรรม” เทคโนโลยีวัคซีนโควิด-19 อีกทั้งยังมีการกล่าวสุนทรพจน์ที่มีใจความต่อต้านจีนโดยนักการเมืองสหรัฐฯ หลายราย ซึ่งล้วนแสดงว่า นโยบายต่อจีนของสหรัฐฯ กำลังเพี้ยนไปจากครรลองที่ถูกต้องและน่ากังวลยิ่ง

หลายวันมานี้ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เขียนบทความในวารสาร Foreign Affairs ของสหรัฐฯ ว่า “การแข่งขันระหว่างมหาประเทศเป็นเรื่องธรรมดายิ่ง แต่ความร่วมมือระหว่างมหาประเทศจะเป็นบททดสอบที่แท้จริงต่อแนวทางการบริหารประเทศ” ซึ่งสะท้อนความจริงว่า ความสามัคคีร่วมมือเป็นอาวุธทรงพลังที่สุด จีน-สหรัฐฯ ควรร่วมแบกรับความรับผิดชอบพร้อมกับทุกประเทศบนโลกที่กำลังต้านโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ จึงขอแนะนำให้นักการเมืองสหรัฐฯ บางคนเข้าใจสถานการณ์ ตลอดจนกลับสู่ครรลองที่ถูกต้องโดยดำเนินการเจรจาและร่วมมือกัน

(TIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

何喜玲