ใน 1 ปี จีนมี 24 ฤดูกาล ส่วนฤดูกาล “ชิวเฟิน” เป็นฤดูกาลที่ 16 โดยทั่วไป ฤดู “ชิวเฟิน” จะตรงกับวันใดวันหนึ่งของวันที่ 22 23 หรือ 24 กันยายน โดยปีนี้ตรงกับวันที่ 22 กันยายน
ในฤดู “ชิวเฟิน” ตำแหน่งแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์อยู่ที่เส้นศูนย์สูตร ฉะนั้นไม่ว่าอยู่ในซีกโลกเหนือหรือซีกโลกใต้ กลางวันและกลางคืนมีระยะเวลาเท่าเทียมกัน หลังจากของฤดู “ชิวเฟิน” จีนและไทย ซึ่งตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือนั้น ระยะเวลากลางคืนก็จะค่อยๆ ยาวกว่าระยะเวลากลางวัน
ฤดู “ชิวเฟิน” ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน จะต่อเนื่องกันเป็นเวลา 15 วัน ในช่วงฤดู “ชิวเฟิน” มักจะมีลักษณะภูมิอากาศ 3 อย่าง
อย่างแรกก็คือ เสียงฟ้าร้องน้อยลง ฤดู “ชิวเฟิน” นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนระหว่างหน้าร้อนกับหน้าหนาว เสียงฟ้าร้องส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในหน้าร้อน ฉะนั้น เมื่อถึงฤดู “ชิวเฟิน” แล้ว ปรากฏการณ์ดังกล่าวก็จะน้อยลง
อย่างที่สองก็คือ เนื่องจากอากาศเย็นแล้ว หนอนประเภทต่างๆ ก็เริ่มใช้หินปิดรูของตนเพื่อกันความหนาว
อย่างที่สามก็คือ เมื่อย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ ปริมาณฝนในภาคเหนือของจีนก็จะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนภาคใต้ของจีน ฝนก็ไม่ตกหนักเหมือนหน้าร้อน
ในฤดู “ชิวเฟิน” จีนก็มีประเพณีดั้งเดิมหลากหลายด้วย ซึ่งบางอย่างอาจจะสูญหายไปในประวัติศาสตร์ แต่บางอย่างได้รับการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ในอดีตชาวจีนมีประเพณีไหว้พระอาทิตย์ในฤดูกาลชุนเฟิน ไหว้ดินในฤดูกาลเซี่ยจื้อ ไหว้พระจันทร์ในฤดูกาล “ชิวเฟิน” และไหว้ฟ้าในฤดูกาลตงจื้อ ฉะนั้น ในฤดูกาล “ชิวเฟิน” ก็จะไหว้พระจันทร์ ในปักกิ่ง สถานที่ไหว้พระจันทร์ก็อยู่ที่ เยว่ถาน หรือ หอไหว้พระจันทร์
ในปัจจุบันชาวจีนยังให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพ ในช่วงฤดูกาล “ชิวเฟิน” อากาศนอกจากเย็นแล้วยังจะเริ่มแห้งด้วย ฉะนั้น ต้องกินอาหารอาทิ เห็ดหูหนูขาว ซานย่าว สาลี่ รากบัว ลูกพลับ เป็นต้น เพราะในสายตาของแพทย์แผนโบราณจีน อาหารเหล่านี้จะมีส่วนช่วยเพิ่มความชื้นในร่างกายได้
นอกจากนี้ ช่วงฤดูกาล “ชิวเฟิน” นับเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดของพื้นที่ส่วนใหญ่ในจีน เพราะอากาศไม่ร้อนก็ไม่หนาว ผู้คนก็มักจะใช้โอกาสนี้ไปปีนเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของฤดูใบไม้ร่วงอีกด้วย
(Bo/Cui)