บทสัมภาษณ์ :‘หลิว หย่งฟู่’อดีตผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีนเกี่ยวกับกระบวนการขจัดความยากจน (ตอนที่ 1)

2021-03-22 07:59:52 | CMG
Share with:

บทสัมภาษณ์ :‘หลิว หย่งฟู่’อดีตผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีนเกี่ยวกับกระบวนการขจัดความยากจน (ตอนที่ 1)_fororder_20210322lyf

นายหลิว หย่งฟู่ เกิดในปี ค.ศ. 1957 เวลานั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นใหม่ บ้านเมืองยังคงยากจน นายหลิว หย่งฟู่ ทำงานตั้งแต่ส่วนท้องถิ่นจนถึงระดับรัฐมนตรี เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและประกันสังคม รองผู้ว่าการมณฑลกันซู่ และผู้อำนวยการสำนักงานช่วยเหลือผู้ยากไร้แห่งคณะรัฐมนตรีจีนตามลำดับ

เมื่อเร็ว ๆ นี้  นายหลิว ย่งฟู่ ในฐานะอดีตผู้นำภารกิจช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีนได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการบรรเทาความยากจน

เมื่อถามถึงกระบวนการช่วยเหลือผู้ยากไร้ของจีน นายหลิว หย่งฟู่ ระบุว่า การขจัดความยากจนเป็นเรื่องยากลำบากที่ประชาชาติจีนเผชิญมาเป็นเวลาหลายพันปี หลังสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วงต้นของการสถาปนาสาธารณรัฐ จีนต้องศึกษาหนทางการพัฒนา จนถึงทศวรรษ 1960 – 1970 ศักยภาพการผลิตของจีนยังคงล้าหลังอยู่ อาหารการกินไม่เพียงพอ ประชาชนตกอยู่ในภาวะยากจนโดยทั่วไปซึ่งเป็นสภาพความเป็นจริงในเวลานั้น วัยรุ่นในปัจจุบันคงไม่ทราบว่าความรู้สึกอดอยากเป็นเช่นไรแต่คนรุ่นเราต่างจำได้ขึ้นใจ เวลานั้นหลังเลิกงานจะไม่มีอาหารเย็นทาน เพียงได้แค่นอนเพื่อให้กลับมีแรง นี่คือความอดอยาก คนรุ่นเราส่วนใหญ่มีประสบการณ์ดังกล่าว

ช่วงต้นของการปฏิรูปและเปิดประเทศ จีนดำเนินนโยบายให้ครอบครัวเกษตรกรในชนบทรับเหมาที่ดินทำการผลิต ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาปากท้องของประชากรส่วนใหญ่ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีระดับสูงขึ้นและดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาภายหลังจีนได้ดำเนินนโยบายงดภาษีเกษตรกรรม ซึ่งช่วยให้ประชากรจำนวนมากมีรายได้เพิ่มและพ้นความยากจน ทว่าจีนยังคงมีประชากรจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะอยู่ภายใต้นโยบายดังกล่าวแล้วแต่ก็ยังคงไม่สามารถหลุดพ้นความยากจนได้ ตัวอย่างเช่น ประชากรในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ชนกลุ่มน้อย และพื้นที่การปฏิวัติเก่า โดยเฉพาะพื้นที่ยากจนสุดขีดจากผลกระทบจากเงื่อนไขทางธรรมชาติ สาเหตุทางประวัติศาสตร์ และสภาพความเป็นจริง เป็นต้น ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวยากจนมาก

ส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ใช้ยุทธศาสตร์บรรเทาความยากจนที่แตกต่างกันในช่วงที่ต่างกัน โดยปฏิรูประบบเศรษฐกิจในชนบทเพื่อผลักดันการบรรเทาความยากจน การช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้วยการบุกเบิกพัฒนาส่วนภูมิภาค และการช่วยเหลือผู้ยากไร้อย่างครอบคลุม  ตามลำดับ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นกลไกบรรเทาความยากจนที่เป็นปกติ หัวใจการบรรเทาความยากจนจึงเปลี่ยนจากการสงเคราะห์เป็นการบุกเบิกพัฒนาและมีส่วนร่วม งานช่วยเหลือผู้ยากไร้จึงมีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด ทุกครั้งหลังการต่อสู้เพื่อขจัดความยากจนยังคงมีประชากรยากจนจำนวนประมาณ 30 ล้านคนยังไม่พ้นจากความยากจน นอกจากนี้ เกณฑ์ความยากจนยังมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บรรดาอำเภอยากจน ไม่เพียงแต่ยังไม่หลุดพ้นความยากจนเท่านั้น หากยังตกอยู่ในสถานะที่ยิ่งยากจนขึ้นอีก ความยากจนในภูมิภาคกลายเป็นปัญหาโดดเด่น การทำให้ประชากรหลุดพ้นความยากจนทั้งหมด การให้อำเภอยากไร้พ้นความยากจนทั้งหมด และการแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคยังเป็นประเด็นที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเผชิญในยุคใหม่

ตั้งแต่สมัชชาครั้งที่ 18 ของพรรคฯ เป็นต้นมา ส่วนกลางพรรคฯ ที่มีนายสี จิ้นผิงเป็นแกนกลาง พิจารณาจากแผนการสร้างสรรค์สังคมนิยมอยู่ดีมีสุขอย่างรอบด้าน โดยจัดให้การต่อสู้เพื่อขจัดความยากจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม  สังคม และอารยธรรมทางนิเวศอย่างรอบด้าน พร้อมกับการบรรลุสังคมอยู่ดีมีสุขอย่างรอบด้าน การปฏิรูปลงลึกอย่างรอบด้าน บริหารบ้านเมืองตามกฎหมายอย่างรอบด้าน และการบริหารพรรคฯ ให้กวดขันอย่างรอบด้าน ทั้งยังจัดการต่อสู้เพื่อขจัดความยากจนด้วยพลัง ขนาด และอิทธิพลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก จึงสร้างความรุ่งโรจน์ในกระบวนการบรรเทาความยากจนของมนุษยชาติ 

(Tim/Zhou/Lu)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江